กองทัพอากาศประชาชนจีน (PLAAF) ได้เพิ่มเครื่องบินขับไล่ J-16 ชั้นนำ เข้าประจำการแทนที่เครื่องบินรบรุ่นเก่า J-7 และ J-8 ซึ่งทั้งสองรุ่นนี้มีพื้นฐานมาจากรุ่นปรับปรุงของมิก-๒๑ (MiG-21) ในยุคปี ๑๙๕๐ สร้างโดยสหภาพโซเวียต เครื่องบินขั้นสูงรุ่นล่าสุดถูกนำไปประจำการในกองทัพปลดแอก ๕ แห่งมีทิเบตและซินเจียงรวมอยู่ด้วย
วันที่ ๒๒ ม.ค.๒๕๖๖ สำนักข่าวเซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์และสปุ๊ตนิกรายงานว่า จีนแทนที่เครื่องบินขับไล่ J-7 ฟลายอิ้งลีโอพาร์ต(Flying Leopards) ด้วยเครื่องบินเจ็ตอเนกประสงค์ J-16 เนื่องจากความท้าทายจากสหรัฐฯและพันธมิตรตะวันตกเพิ่มขึ้น
ฟู เฉียนเชา(Fu Qianshao) ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทโธปกรณ์ของกองทัพอากาศจีน ที่เกษียณแล้ว ให้สัมภาษณ์ในสื่อจีนเมื่อวันศุกร์ว่า“เครื่องบินทหารรุ่นเก่าของจีนอย่าง J-7 และ J-8 นั้นไม่เพียงพอ ที่จะรับมือกับความท้าทายด้านความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นในบริเวณโดยรอบ”
ผู้เชี่ยวชาญด้านการทหารกล่าวว่าเครื่องบินลำดังกล่าวได้เข้าร่วมกองบัญชาการกองทัพ PLA ทั้ง 5 แห่งแล้ว ท่ามกลางการยั่วยุที่เพิ่มขึ้นจากสหรัฐฯ และพันธมิตรในทะเลจีนใต้และทะเลตะวันออก
สถานีโทรทัศน์ CCTV ของรัฐยืนยันเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า J-16 ชุดแรกถูกส่งไปยังกองบัญชาการโรงละครตะวันตกของกองทัพปลดแอกประชาชน ซึ่งรวมถึงเขตทหารซินเจียงและทิเบต และรับผิดชอบการรักษาความปลอดภัยชายแดนตามแนวชายแดนหิมาลัยที่ขัดแย้งกับอินเดีย
แหล่งข่าวทางทหารเปิดเผยว่า การผลิตเครื่องบินไอพ่น J-16 สามารถเสริมด้วยเครื่องยนต์ WS-10 ที่ผลิตเองในประเทศ สามารถติดตั้งกับเครื่องบินหลายลำ เช่น J-16, J-11, J-10 และ J- 20.
ตามรายงานของนิตยสารทหารจีน Ordnance Industry Science Technology จีนเริ่มพัฒนาเครื่องบินทิ้งระเบิดขับไล่ J-16 แบบอเนกประสงค์ในปี ๒๕๕๑ ซึ่งเป็นคำตอบของ PLA ต่อการที่กองทัพอากาศสหรัฐฯ อัพเกรด F-15C/D Eagle ขณะที่ในช่วงเวลานั้น เครื่องบินรบเฮฟวี่เวต J-11B รุ่นที่สี่ของจีนเป็นคู่แข่งสำคัญของกองทัพอากาศสหรัฐฯ
การอัพเกรดนี้F-15C ของสหรัฐฯ ติดตั้งด้วยชุดสแกนแบบแอกทีฟอิเลคทรอนิกส์สแกนที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ (Aesa) ทำให้กลายเป็น F-15EX/Eagle 2 ในปัจจุบัน
J-16 มีน้ำหนักบรรทุก 12 ตัน เกือบจะเหมือนกับ F-22 ของสหรัฐฯ โดยมีพื้นฐานมาจากเครื่องบินไอพ่นหลายรุ่นก่อนหน้านี้ รวมถึง Su-27 และ Su-30 ของรัสเซีย ตลอดจนเครื่องบินเจเนอเรชั่นที่สี่ของจีนด้วย
J-16 ของจีนมีศักยภาพทัดเทียมกับเครื่องบินขับไล่ F-15 Eagle ของสหรัฐฯ และอาจเป็นภัยคุกคามต่อเครื่องบินล่องหนอย่าง F-35 ด้วยเช่นกัน
ในขณะที่สหรัฐฯ เพิ่มความพยายามในการต่อต้านอิทธิพลทางทหารของจีน โดยมุ่งเน้นไปที่เอเชีย ภายใต้ยุทธศาสตร์ใหม่อินโดแปซิฟิก และเพิ่มการสนับสนุนไต้หวันซึ่งปักกิ่งถือว่าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของจีน การกระตุ้นคำถามไต้หวันจึงเป็นการข้ามเส้นสีแดงที่จีนปักหมุดไว้และไม่อาจประนีประณอมได้
แอนโทนี่ หว่องดอง(Antony Wong Dong) ผู้เชี่ยวชาญด้านการทหารในมาเก๊ากล่าวว่า J-16 ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการโจมตีเกาะไต้หวันที่อาจเป็นไปได้ แต่จำเป็นต้องปฏิบัติการร่วมกับเครื่องบินขับไล่ล่องหน J-20 และเครื่องบินขับไล่เบา J-10C เพื่อแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของกันและกันด้วย
การเคลื่อนไหวทางทหารของจีน บ่งบอกถึงสถานการณ์เชิงลึกระหว่างสหรัฐและจีนไม่ได้สวยหรูเหมือนที่สื่อตะวันตกพยายามวาดภาพ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนได้ตำหนิอย่างรุนแรงต่อคำพูดของเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองระดับสูงของสหรัฐฯ ที่ตอกย้ำให้ใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกันกับรัสเซียต่อจีน
ในการอภิปรายระหว่างการประชุมประจำปีของ World Economic Forum ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันพุธที่ผ่านมาแอฟริล ฮายนส์ (Avril Haines) ผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองแห่งชาติของสหรัฐฯ กล่าวว่า จากการที่จีนผสานเข้ากับเศรษฐกิจโลกอย่างใกล้ชิด หากชาติตะวันตกออกมาตรการคว่ำบาตรจีนอย่างมีนัยสำคัญเช่นเดี่ยวกับที่ทำกับรัสเซียจะส่งผลเสียต่อจีนมากกว่า
หวัง เหวินบิน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน ตอบโต้กลับในประเด็นนี้ว่า“คนบางคนในสหรัฐฯ เสพติดการคว่ำบาตรมากเกินไป” “การใช้่ประเด็นทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีเป็นอาวุธ เป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อสันติภาพและเสถียรภาพของโลก”
หวังกล่าวย้ำวา “ถ้อยแถลงของสหรัฐฯ ได้เปิดโปงโฉมหน้าที่แท้จริงของความเป็นเจ้าโลกที่มีความตั้งใจจะทำร้ายผู้อื่น และก่อให้เกิดอันตรายและความโกลาหลต่อโลก สิ่งนั้นไม่เป็นที่นิยม และจะถูกต่อต้าจากประชาชาติที่วโลกอย่างแน่นอน”