ปีหน้า แอฟริกาใต้จะเป็นประธานกลุ่ม BRICS ประกาศจะนำทางกลุ่ม BRICS ร่วมจัดระเบียบโลกใหม่ให้มีธรรมาภิบาลมากขึ้น ขณะที่การเสื่อมของโลกาภิวัตน์และอำนาจครอบงำของตะวันตกจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ท่ามกลางสงครามตัวแทนในยูเครนที่มีแนวโน้มลุกลามไปยังภูมิภาคอื่นๆ
วันที่ ๒๕ ธ.ค.๒๕๖๕ สำนักข่าวสปุ๊ตนิกได้ออกบทความเกี่ยวกับกลุ่มพันธมิตรBRICS เนื่องในวันครบรอบ ๑๒ ปีนับตั้งแต่แอฟริกาใต้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS ในวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๐๑๐ เป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์ของหนึ่งในเสาหลักที่มีอิทธิพลของอำนาจหลายขั้ว ซึ่งชาติตะวันตกเคยเย้ยหยันในตอนแรกว่าไม่มีอะไรมากไปกว่า “สถานที่เม้ามอย”ของประเทศกำลังพัฒนา
แอฟริกาใต้จะเป็นประธาน BRICS ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๐๒๓ นาเลดี พันดอร์( Naledi Pandor) รัฐมนตรีกระทรวงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและความร่วมมือของประเทศอาฟริกาใต้ ให้คำมั่นว่าจะขยายการเข้าถึงทางภูมิรัฐศาสตร์ของกลุ่ม เสริมสร้างความสัมพันธ์ภายใน BRICS และเพิ่มการเติบโตของแอฟริกาใต้อย่างเต็มกำลังความสามารถ
ประเทศที่อยู่ทางใต้สุดของทวีปแอฟริกาเข้าร่วมกลุ่ม BRICS ซึ่งเป็นตัวย่อของบราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ ได้เข้าร่วมเป็นครั้งแรกในการประชุมสุดยอดผู้นำ BRICS ครั้งที่ ๓ ที่กรุงปักกิ่งในเดือนเมษายน ๒๐๑๑
โรเจอร์ เซาท์ฮอลล์(Roger Southall) ศาสตราจารย์กิตติคุณด้านสังคมวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยวิตวอเตอร์สแรนด์ (Witwatersrand) กล่าวว่า “แอฟริกาใต้เข้าร่วม BRICS เพราะต้องการเป็นกระบอกเสียงให้กับภาคใต้ทั่วโลก และมองว่า BRICS ช่วยให้สามารถบรรลุจุดมุ่งหมายเช่นนั้นได้”
“และด้วยมรดกทางประวัติศาสตร์ของการต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกที่แบ่งปันโดย BRICS ดูเหมือนว่าจะเป็นองค์กรที่เหมาะสมที่จะเข้าร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่สภาแห่งชาติแอฟริกัน (ANC) ได้เน้นย้ำถึงการเป็นสมาชิกขององค์กรที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดและลัทธิพหุภาคีในอดีต”
ผ่านกาลเวลามานับทศวรรษ BRICS ได้พัฒนาบทบาทจากสโมสรเศรษฐกิจสู่องค์กรการเมืองที่มีอำนาจต่อรองแข็งแกร่งมากขึ้นทุกวันในสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจขั้วเดี่ยว กับมหาอำนาจหลายขั้ว
เพื่อความเป็นธรรม “BRIC” เป็นผลิตผลทางความคิดของตะวันตก เชื่อกันว่าคำย่อนี้ตั้งขึ้นโดยนักเศรษฐศาสตร์ของโกลด์แมน แซคส์ ,จิม โอนีลผู้ซึ่งระบุในรายงานของเขาในปี ๒๐๐๑ เรื่อง”การสร้างกลุ่มประเทศเศรษฐกิจโลกที่ดีกว่า” โดยระบุว่าบราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน “ควรเป็นรากฐานของโลกที่เพิ่งยกเครื่องใหม่ พร้อมด้วยระบบการเงินและธรรมาภิบาล”
ในเวลานั้น “ความเย่อหยิ่งของตะวันตก” นั้นลึกซึ้งภายใต้การบริหารที่ต่อเนื่องกันของเรแกน, บุช คลินตัน และจอร์ช บุชผู้ลูก (Ronald Reagan, George HW Bush, Bill Clinton และ George W. Bush) อ้างอิงจากแพทริก บอนด์ (Patrick Bond) ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองแห่งมหาวิทยาลัยวิตวอร์เตอร์สแรนด์ (Witwatersrand) อย่างไรก็ตาม อิทธิพลของตะวันตกเริ่มสั่นคลอนจากวิกฤตทางการเงิน ในช่วงปี ๒๐๐๐-๒๐๐๑ และการโจมตีของกรณีตึกแฝดเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในนิวยอร์กถูกโจมตีและเพนตากอนเมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๐๐๑
อารี ซิตาส ศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเคปทาวน์ ซึ่งเป็นอดีตประธานของ BRICS เป็นกลุ่ม Think Tank ของแอฟริกาใต้ในช่วงเวลานั้น สรุปว่า“BRICS เป็นผลพวงของการเกิดขั้วหลายขั้ว”
ความสามารถของสหรัฐฯ ในการนำโลกไปในทิศทางขั้วเดียวตกต่ำลง และสองมาตรฐานของ WTO ถึงจุดแตกหัก ตามมาด้วยความพยายามที่หลากหลายในความร่วมมือระหว่างสังคมกำลังพัฒนานำไปสู่กลุ่มการจัดตั้ง BRICS
BRICS ได้เชิญแอฟริกาใต้เข้าร่วมคลับ นักวิชาการอธิบายว่าความเต็มใจของแอฟริกาใต้ที่จะเข้าร่วมการก่อตัวของ BRICS นั้นขึ้นอยู่กับหลักการสองประการ
“ประการแรกความจำเป็นในการมีแอฟริกาเป็นตัวแทนในรูปแบบทางเศรษฐกิจและการเมืองที่เปลี่ยนแปลงเกมใหญ่”
“ประการที่สอง หากการก่อตั้งกลุ่ม BRICS ทำงานในเชิงเศรษฐกิจ รัฐบาลแอฟริกาใต้จะสามารถขยายศักยภาพทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ ซึ่งคาดว่าจะเติบโตในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า และสิ่งนี้สามารถย้อนกลับมาช่วยแก้ไขปัญหาภายในทางด้านเศรษฐกิจ เช่น การว่างงานในแอฟริกาใต้”
ล่าสุดการขยายตัวของ BRICS มีอัตราเร่งเพิ่มจำนวนอย่างไม่คาดคิด เดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา เปอร์นิมา อนันต์(Purnima Anand) ประธาน BRICS International Forum ประกาศว่าตุรกี อียิปต์ และซาอุดีอาระเบียเตรียมเข้าร่วมเป็นสมาชิก “เร็วๆ นี้”
ก่อนหน้านั้น หลี่ เค่อซิน หัวหน้ากรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศของกระทรวงการต่างประเทศจีน ยังบอกใบ้ถึงความเป็นไปได้ที่อังการา ไคโร และริยาดจะเข้าร่วมกลุ่มระหว่างการแถลงข่าวหลังการประชุมสุดยอด BRICS ครั้งที่ ๑๔ เดือนมิถุนายน ๒๕๖๕
รมว.ต่างประเทศรัสเซีย เซอร์เก ลาฟรอฟ ก็แย้มว่ามีประเทศต่างๆส่งใบสม้ครยื่นความจำนงค์เป็นสมาชิกแล้วกว่า ๑๕ ประเทศ