EU หน้าสั่น! ปูติน ฟาดเจ็บจี๊ด เจอวิกฤตศก.เป็นเพราะผู้นำอ่อนแอ ทำตัวเป็นพรมเช็ดเท้าสหรัฐฯ


ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงต้นเดือน อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานของคณะกรรมาธิการยุโรป ส่งเสียงแสดงความกังวลเกี่ยวกับนโยบายต่างๆ ทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เร่งเร้าให้อียูดำเนินการ หากต้องการสามารถแข่งขันในด้านอุตสาหกรรมสีเขียวกับทางฝ่ายอเมริกา ที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯ

ฟอน แดร์ ไลเอิน ยังตำหนิมาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับพวกผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าสหรัฐฯ ซึ่งบังคับใช้ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการปรับลดเงินเฟ้อ (Inflation Reduction Act) ที่ลงนามโดยประธานาธิบดีโจ ไบเดน ในเดือนสิงหาคม เธอเตือนว่านโยบายดังกล่าวอาจนำมาซึ่ง “การแข่งขันที่ไม่ยุติธรรม ตลาดปิดและซ้ำเติมวิกฤตห่วงโซ่อุปทาน”

บรรดาเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอียู แสดงความกังวลซ้ำแล้วซ้ำเล่า เกี่ยวกับภาวะถดถอยที่คืบคลานเข้ามาและความเป็นไปไปได้ของการหดตัวของภาคอุตสาหกรรม (deindustrialization) ยาวนานหลายทศวรรษ
ในช่วงต้นเดือนตุลาคม อเล็กซานเอร์ เดอ ครู นายกรัฐมนตรีเบลเยียม บอกว่าจนกว่าอียูจะสามารถแก้ไขสถานการณ์ราคาพลังงานพุ่งสูงไม่ว่าทางหนึ่งทางใด “มันมีความเสี่ยงระดับสูงเกี่ยวกับการหดตัวทางภาคอุตสาหกรรมของทวีปยุโรป และผลกระทบระยะยาวที่อาจหนักหน่วงอย่างมากอย่างแท้จริง”

วิกฤตเศรษฐกิจในยุโรปส่วนใหญ่แล้วมีบ่อเกิดมาจากการกระทำของตนเอง ในขณะที่พวกเขาเล็งเป้าหมายเล่นงานรัสเซียด้วยมาตรการคว่ำบาตรต่างๆ เกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน ปูตินระบุ
“อะไรที่ตัวยุโรปเองบรรลุเป้าหมายจากการกำหนดข้อจำกัดต่างๆ น่ะหรือ? ทั้งหมดทั้งมวลคือ สิ่งที่พวกนักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า เป็นการพุ่งทะยานของเงินเฟ้อภายในบ้านเกิดเมืองนอนของพวกเขาเองอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ในเดือนพฤศจิกายน เงินเฟ้อทั้งยูโรโซนอยู่ที่ 10% ด้วยบางประเทศตัวเลขที่แท้จริงสูงมากกว่า 20% หรืออาจถึงขั้น 25% ด้วยซ้ำ” ปูติน ตอกย้ำ

ปูตินกล่าวต่อว่า หมู่คณะตะวันตกยังคงพยายามคว้าทรัพยากรต่างๆ เพื่อตนเอง ซึ่งต่างจากรัสเซีย “ไม่เหมือนกับตะวันตก ซึ่งทำโดยไม่ละอาย ดึงผ่าห่มทั้งหมดมาห่มให้ตนเอง รัสเซียได้ช่วยเหลือบรรดาชาติที่ยากจนที่สุดในแอฟริกา เอเชียและภูมิภาคอื่นๆ ส่งมอบอาหารและสินค้าอื่นๆ”
