สภาพเศรษฐกิจของสหรัฐฯกำลังย่ำแย่ทางกายภาพโดยองค์รวม มุ่งหน้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แม้พยามยามกดเงินเฟ้อเต็มเหนี่ยว อ้างว่าจะสามารถทำให้เงินเฟ้อเป็น ๒% ได้ในที่สุด แต่ภาพสะท้อนที่ออกมาจากหน่วยงานของรัฐเองมันสวนทาง คำปลอบใจของปธน.ไบเดนที่ว่าเศรษฐกิจสหรัฐแข็งแกร่ง แก้ปัญหาได้ไม่ต้องห่วง
วันนี้ธนาคารกลางของสหรัฐฯ รายงานถึงหนี้ครัวเรือนคนอเมริกันที่เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ ๑๕ ปี สมทบกับหนี้สาธารณะที่ไม่รู้จะใช้หนี้หมดเมื่อไหร่ ไม่ได้บ่งบอกว่าเศรษฐกิจสหรัฐแข็งแกร่งอย่างที่อ้างเลย วันนี้คนอเมริกันต้องแบบกหนี้สาธารณะที่รัฐบาลสร้างขี้น ๓๑ ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ราว ๑.๑๖ พันล้านล้านบาททะลุเพดานก่อหนี้ไปแล้ว และแบกหนี้ครัวเรือนโดยรวมอีก กว่า ๑๖ ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซ้ำเงินเฟ้อยังพุ่ง แม้ตัวเลขดูดีขึ้น แต่ชีวิตจริงของอเมริกันยังต้องซื้อของกินของใช้แพงกระฉูด ซึ่งยังมีแนวโน้มราคาสูงขึ้นไม่หยุดอีกด้วย
วันที่ ๒๘ พ.ย.๒๕๖๕ สำนักข่าวรัสเซียทูเดย์และซีเอ็นบีซี รายงานว่า หนี้ครัวเรือนของสหรัฐพุ่งสูงขึ้นในช่วงไตรมาสที่ ๓ ซึ่งเป็นอัตราที่เร็วที่สุดในรอบ ๑๕ ปี เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของการใช้บัตรเครดิตและยอดสินเชื่อที่อยู่อาศัย รายงานของธนาคารกลางสหรัฐเปิดเผยในสัปดาห์นี้
จากข้อมูลของเฟดระบุว่า หนี้รวมแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ ๑๖.๕ ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น ๒.๒% จากไตรมาสก่อนหน้า และ ๘.๓% จากปีที่แล้ว ครัวเรือนเพิ่มหนี้ ๓.๕๑ แสนล้านดอลลาร์ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายนปีนี้
การเพิ่มขึ้นนี้เป็นไปตามการก้าวกระโดดจาก ๓.๑ แสนล้านดอลลาร์ในไตรมาสที่สอง และเป็นการเพิ่มขึ้น ๑.๒๗ ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี หนี้เพิ่มขึ้นในปีที่ผ่านมาเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และความต้องการของผู้บริโภคที่ยังสูงต่อเนื่อง
ธนาคารกลางตั้งข้อสังเกตว่าผู้สนับสนุนรายใหญ่ที่สุดของภาระหนี้มาจากยอดจำนองซึ่งพุ่งขึ้น ๑ ล้านล้านดอลลาร์จากปีที่แล้วเป็น ๑๑.๗ ล้านล้านดอลลาร์ และหนี้บัตรเครดิตซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น ๙๓๐,๐๐๐ ล้านดอลลาร์
ยอดบัตรเครดิตโดยรวมเพิ่มขึ้นมากกว่า ๑๕% จากช่วงเวลาเดียวกันในปี ๒๕๖๔ ซึ่งเป็นการก้าวกระโดดประจำปีที่มากที่สุดในรอบกว่า ๒๐ ปี นักวิจัยของเฟดกล่าวว่าเป็นการเพิ่มขึ้นของ”หอคอยหนี้สินในช่วงสิบแปดปีที่ผ่านมา”
“ยอดบัตรเครดิต จำนอง และสินเชื่อรถยนต์ยังคงเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่สามของปี ๒๕๖๕ ซึ่งสะท้อนถึงการผสมผสานระหว่างความต้องการของผู้บริโภคที่แข็งแกร่งและราคาที่สูงขึ้น”
ที่ปรึกษาวิจัยเศรษฐกิจของ Fed ดงฮุน ลี (Donghoon Lee) ในนิวยอร์กกล่าวว่า “อย่างไรก็ตาม การกำเนิดสินเชื่อใหม่ได้ชะลอตัวลงจนถึงระดับก่อนเกิดโรคระบาด ท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยที่ยังเพิ่มสูงขึ้น”
นอกจากภาพรวมของหนี้สินทั้งหนี้สาธารณะและหนี้ครัวเรือนแล้ว เงินเฟ้อที่ยังลดลงไม่ได้ตามเป้าหมายยังคงหนุนการใช้จ่ายภาคครัวเรือนของสหรัฐฯ ทำให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคสูงขึ้นต่อเนื่อง
สำนักข่าวซีเอนบีซีรายงานโดยอ้างนักวิเคราะห์เศรษฐกิจว่า ปัจจุบันชาวอเมริกันต้องยอมจ่ายเงินมากกว่า ๔๐๐ ดอลลาร์ต่อเดือนสำหรับสินค้าและบริการชนิดเดียวกัน
อัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นได้ผลักดันการใช้จ่ายในครัวเรือนของชาวอเมริกัน CNBC อ้างถึงการวิเคราะห์ของ Moody’s เกี่ยวกับข้อมูลเงินเฟ้อในเดือนตุลาคม ตามรายงาน ครัวเรือนถูกบังคับต้องจ่ายอย่างน้อย ๔๓๓ ดอลลาร์ ต่อเดือนสำหรับสินค้าและบริการแบบเดียวกัน นั่นคือจ่ายมากกว่าปีที่แล้ว
ราคาผู้บริโภคสหรัฐเพิ่มขึ้น ๗.๗% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนที่แล้ว ซึ่งต่ำกว่าระดับสูงสุดในเดือนมิถุนายนที่ ๙.๑% แต่ก็ยังใกล้ระดับสูงสุดในรอบ ๔๐ ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว อาหารที่ผู้คนซื้อในที่ทำงานและโรงเรียนมีราคาสูงขึ้นเกือบสองเท่า ผลิตภัณฑ์อย่างไข่และเนยเพิ่มขึ้นมากกว่าหนึ่งในสาม ในขณะที่นม ขนมปัง และเนื้อสัตว์ปีกเพิ่มขึ้น ๑๕% ค่าขนส่งเพิ่มขึ้น ๒๘% ในขณะที่ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น ๑๗.๕%
Moody’s ตั้งข้อสังเกตว่าค่าจ้างไม่สมดุลกับอัตราเงินเฟ้อได้ และคนงานกำลังสูญเสียกำลังซื้ออย่างรวดเร็ว ค่าจ้างรายชั่วโมงปัจจุบันลดลงเฉลี่ย ๒.๘%
เบอร์นาร์ด ยารอส นักเศรษฐศาสตร์จาก Moody’s (Bernard Yaros, an economist at Moody’s) กล่าวว่า “แม้อัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคมจะต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ แต่ครัวเรือนยังคงได้รับแรงกดดันจากราคาผู้บริโภคที่สูงขึ้นในตลาดการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน ”
ผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม ยารอสกล่าวเสริมว่า “คนอเมริกันอายุน้อยและในชนบท รวมทั้งผู้ที่ไม่จบปริญญาตรี ได้รับผลกระทบมากที่สุด”
ที่ปรึกษาทางการเงินบางคนแนะนำว่าการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายอาจช่วยให้ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนลดลงได้ เช่น เดินทางใกล้บ้าน ตัดผมให้บ่อยขึ้น ไปซื้อของที่ร้านขายของชำและหาส่วนลด ซึ่งเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุในระดับบุคคล โดยลืมไปว่า ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจทั้งหมดที่เกิดขึ้น มาจากการบริหารงานทั้งเศรษฐกิจ การเมืองและการทหารที่ผิดพลาดของรัฐบาลสหรัฐภายใต้การนำของปธน.โจ ไบเดน!!??