คลังนาโต้ถังแตก! กว้านซื้ออาวุธโซเวียตส่งยูเครน ขณะปืนใหญ่ ยังไม่ทันใช้ ต้องขนซ่อมโปแลนด์
จากกรณีที่กองทัพรัสเซีย ได้ถล่มแหล่งผลิตพลังงาน คลังน้ำมัน รวมไปถึงโรงผลิตยุทโธปกรณ์และโรงซ่อมบำรุงอาวุธของยูเครนหลายแห่ง ในขณะเดียวกัน การปะทะก็ทำให้ยูเครนสูญเสียอาวุธหนักไปเป็นจำนวนมาก
โดยทาง Blockdit World Update ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีที่ปืนใหญ่เทพที่ส่งให้ยูเครน ต้องขนของเก่ามาซ่อมโปแลนด์ โดยบอกว่า ปี 1990 ภายหลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย บรรดาชาติตะวันตก ก็ไม่ค่อยได้สะสมอาวุธเพิ่มกันมากนัก โดยเฉพาะปืนใหญ่ เพราะความจำเป็น กระแสแนวโน้มสงครามช่วงหลังจะพุ่งเป้าไปที่เครื่องบินรบ
NATO มักจะมีการประโคมข่าวครั้งใหญ่ว่าได้จัดหาปืนใหญ่ขั้นสูงขายให้กับยูเครน ซึ่งใช้กระสุนมาตรฐาน 155 มม.ของพวกตน เป็นการโฆษณาชื่อรุ่นปืนใหญ่ และหวังขายลูกปืนใหญ่ในอนาคต เพราะแต่ละรุ่นใช้ร่วมกันไม่ได้
พ.ย.2022 กลาโหมสหรัฐฯ รายงานปัญหาความถี่ชิ้นส่วนปืนใหญ่ที่ผลิตโดยชาติ NATO ส่งไปขายให้ยูเครน 350 ชุด พังชำรุด แต่คลังอาวุธของ NATO ก็จำกัดแล้วเช่นกัน จึงได้แก้ขัดโดยกองบัญชาการยุโรปของกลาโหมสหรัฐ กำลังย้ายศูนย์ซ่อมปืนใหญ่ไปยังโปแลนด์ ตรงข้ามพรมแดนยูเครน เพื่อซ่อมแซมปะผุปืนใหญ่ที่ยังพอใช้งานได้
โดยเดือนที่ผ่านมาเริ่มซ่อมปืนใหญ่ราว 105 กระบอก หรือราว 33% ที่ยูเครน ยังไม่เคยได้เริ่มใช้งานเลยแต่พังแล้ว , พังหลังจากใช้งานซ้ำๆ หรือเสียหายจากการสู้รบซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ในยูเครน ยูเครนขอให้ NATO ตั้งโรงงานซ่อมปืนใหญ่ใกล้กับแนวหน้า เพื่อให้จะสามารถนำอาวุธที่ปะผุแล้วกลับไปใช้ยิงได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องขนไปมาข้ามประเทศ
เวลา 9 เดือนหลังสงครามยูเครน ความไม่พร้อมด้านอาวุธปืนใหญ่และกระสุน ของชาติตะวันตกได้ก่อให้เกิดปัญหาการส่งขายยูเครน และการเติมคลังสำรองของ NATO ด้วย การรบในยูเครน ทั้ง 2 ฝ่ายใช้อาวุธและกระสุนมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 จำนวนการยิงลูกปืนใหญ่มากจนน่าตกใจ เพราะ NATO เคยใช้ในอัฟกานิสถาน แค่ 300 นัด/วัน
และไม่ต้องกังวลเรื่องขีปนาวุธทางอากาศ แต่ในช่วงกลางปีที่ผ่านมา กองกำลังผสมในยูเครนยิงปืนใหญ่ 6,000 – 7,000 ลูก/วัน เดือนละราว 200,000 ลูก การยิงลูกปืนใหญ่ 1 วันในยูเครน เท่ากับ 1 เดือนหรือมากกว่านั้นที่ NATO ยิงในอัฟกานิสถาน แต่สหรัฐฯ ผลิตลูกปืนใหญ่ใหม่ได้เพียง 15,000 ลูก/เดือน เท่านั้น ส่วน รัสเซียยิงได้ 40,000 – 50,000 ลูก/วัน หรือราว 1.3 ล้านลูก/เดือน รัสเซีย มีอำนาจการยิงมากกว่าของฝ่ายตะวันตกกว่า 7.1 เท่า
ซ้ำร้ายฝ่ายกองกำลังผสม ยังหมดหวังในการป้องกันภัยทางอากาศจากขีปนาวุธและโดรนกามิกาเซ่ของรัสเซีย
ฝ่าย NATO คิดไม่ถึงว่าสงครามในยูเครน จะกัดกินคลังปืนใหญ่ ลูกกระสุน และระบบป้องกันภัยทางอากาศได้มากมายขนาดนี้ บางคนใน NATO เรียกยูเครนว่า “กองทัพบอนไซ” ของยุโรป
แม้แต่สหรัฐฯ ผู้เกรียงไกรก็มีอาวุธจำนวนจำกัด ที่จะขายให้ยูเครนตามจำนวนที่ต้องการ และสหรัฐฯ ก็ไม่ต้องการโอนอาวุธหลักจาก ไต้หวัน และเกาหลีใต้ มาที่ยูเครน สิ่งที่ชาติตะวันตกแก้ปัญหาตอนนี้จึงขอซื้อลูกกระสุนปืนใหญ่จากประเทศต่างๆ เช่น เกาหลีใต้ ส่งไปขายให้ยูเครน และพยายามตระเวณหาอาวุธและกระสุนปืนในยุคโซเวียต ที่ฝ่ายยูเครนสามารถใช้ได้เลยทันที
แต่ก็หายากขึ้นเรื่อยๆ เฉพาะกระสุนปืนใหญ่ของโซเวียต รวมถึงระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-300 , รถถัง T-72
เพื่อแก้ขัดขีปนาวุธป้องกันภัยทางอากาศราคาแพงและจรวด Javelin ต่อต้านรถถัง ที่นับวันจะร่อยหรอจำนวนลดน้อยลง จึงหารือพิจารณาเปิดโรงงานอาวุธเก่าอีกครั้ง
NATO มีแนวคิดจะเปิดโรงงานอาวุธเก่าในสาธารณรัฐเช็ก สโลวาเกีย และบัลแกเรีย เพื่อเริ่มต้นการผลิตกระสุนขนาด 152 มม. และ 122 มม. ของโซเวียต แต่ก็มีอุปสรรคมากมายจบพับไป ปัญหาของ NATO อีกอย่างคือ ใช้ลูกปืนใหญ่ที่ผลิตโดยประเทศอื่นไม่ได้ ปืนใหญ่ใครผลิตก็ต้องใช้ลูกปืนใหญ่ประเทศนั้น ใช้แทนกันไม่ได้ เพราะปลอกกระสุนไม่เหมือนกัน เนื่องจากผู้ผลิตอาวุธล็อคการผลิต เพื่อต้องการขายกระสุนของตนเอง สำหรับปืนใหญ่ของตนเอง
ด้วยอากาศโดรนแว้นกามิกาเซ่ Geran-2 รัสเซีย มีราคาถูกราว 20,000 ดอลลาร์ แต่ยิงขีปนาวุธต่อต้านอากาศยาน เช่น Stinger , IRIS-T SML ฯลฯ ราคาลูกละ 150,000 ดอลลาร์ ยิงสกัดก็ไม่โดนสูญเปล่าไป สหรัฐ จึงจะไปขุดกรุอาวุธเก่าที่ราคาเบากว่ามาขายยูเครน เช่น ให้ขีปนาวุธต่อต้านรถถัง TOW แทน Javelins และขีปนาวุธ Hawk แทนรุ่นใหม่กว่า เพื่อลด Unit cost สงครามลง
สรุป..ฝ่าย NATO กำลังประสบปัญหา “ถังแตกอาวุธ” โดยเฉพาะปืนใหญ่ที่จำนวนจำกัด จึงต้องลากชุดที่พังจากยูเครน ไปซ่อมที่โปแลนด์ ส่วนลูกกระสุนปืนใหญ่ คือ ปัญหาหนักอกเพราะไปกว้านซื้อมาทั่วโลกขายให้ยูเครนก็ไม่พอ แถมยังใช้ทดแทนกันคนละรุ่นก็ไม่ได้