จากที่วันนี้ 22 พฤศจิกายน 2565 Blockdit World Update เผยแพร่ข้อมูลสำคัญในการพัฒนาอาวุธของฝ่ายสหรัฐ ที่กำลังเป็นที่พูดถึงกันเป็นอย่างมาก เพื่อใช้ต่อกรกับฝ่ายกลุ่มอำนาจใหม่ที่นำโดยจีนและรัสเซีย รวมทั้งพันธมิตรตะวันออกกลาง
ทั้งนี้เนื้อหาที่ Blockdit World Update ได้นำมาโพสต์ไว้ ระบุจากแหล่งที่มาบางช่วงที่น่าสนใจและชวนติดตามว่า
ขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิค จะมีความเร็วเริ่มต้นมากกว่าความเร็วเสียง 5 เท่าขึ้นไป ทำให้ระบบเรดาร์ตรวจจับและสกัดกั้นทำได้ยากหรือไม่ได้เลยถ้าความเร็วถึง 20 เท่า อีกทั้งขีปนาวุธชนิดนี้ ยังสามารถเปลี่ยนทิศทางและระดับความสูงได้ ทำให้สามารถหลบเลี่ยงระบบป้องกันขีปนาวุธในปัจจุบันได้ทั้งหมด
กองทัพจีน รัสเซีย เกาหลีเหนือ และอิหร่าน ต่างประจำการขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิคความเร็วเหนือเสียงกันหมดแล้ว โดยเฉพาะรัสเซีย มีหลายรุ่นมาก เช่น Avengard Sarmat , Kinzhal , Tsirkon ฯลฯ
รัสเซีย เคยใช้งานขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิค Kinzhal ที่มีความเร็วเหนือเสียงราว 10 เท่า เป็นครั้งแรกในสงครามยูเครน ส่วนจีน ทดสอบขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิคความเร็วเหนือเสียง บินไปรอบโลก 1 รอบก่อนที่จะตกมาชนเป้าหมายอย่างแม่นยำ
พลเรือโท จอห์นนี่ วูล์ฟ ผู้อำนวยการโครงการ Strategic Systems ของกองทัพเรือระบุว่า เมื่อก่อนอาจไม่มีแรงขับดันเพียงพอที่จะนำเทคโนโลยีไฮเปอร์โซนิคมาติดตั้งในระบบอาวุธของสหรัฐ
โดยกองทัพสหรัฐฯ เคยทดสอบขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิคแล้ว 2 ครั้ง เพื่อรวบรวมข้อมูลสำหรับการพัฒนาความเร็วเหนือเสียง ในแต่ละครั้งมีการทดลองในสาขาย่อยที่แตกต่างกันราว 12 สาขาต่างๆ เช่น วัสดุทนความร้อน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ระดับไฮเอนด์ วัสดุที่มีน้ำหนักเบา ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนี้จำเป็นต่อการพัฒนาอาวุธไฮเปอร์โซนิกให้ประสบความสำเร็จ
จากรายงานของ Congressional Research Service สหรัฐฯ กำลังพัฒนาโปรแกรมอาวุธชนิดนี้ที่แตกต่างกันหลายโปรแกรมในกองทัพ แต่เกิดความล้มเหลวในการทดสอบหลายครั้งทำให้เกิดปัญหากับโปรแกรมบางอย่าง
กองทัพอากาศได้ทำการทดสอบอาวุธไฮเปอร์โซนิค Rapid Response Weapon (ARRW) ที่ปล่อยทางอากาศ ที่การทดสอบล้มเหลวติดต่อกัน 3 ครั้ง บริษัท Common Hypersonic Glide Body ซึ่งร่วมทุนระหว่างกองทัพบกและกองทัพเรือ ก็เคยทดสอบอาวุธไฮเปอร์โซนิคเต็มรูปแบบครั้งแรก แต่ก็ประสบความล้มเหลว
ล่าสุดกลาโหมสหรัฐฯ ขอเงินงบประมาณรัฐบาลปีหน้า 2023 จำนวน 4,700 ล้านดอลลาร์ (169,200 ล้านบาท) สำหรับการวิจัยอาวุธไฮเปอร์โซนิก
พลเรือโท วูล์ฟ บ่นว่าความล้มเหลวไม่ควรเป็นคำดูหมิ่นเหยียดหยาม เนื่องจากระบบอาวุธไฮเปอร์โซนิกยังอยู่ในขอบเขตความสามารถปัจจุบันของสหรัฐฯ ทุกการทดสอบคือโอกาสในการเรียนรู้ ไม่ว่าผลสุดท้ายจะเป็นอย่างไร ดังนั้นความล้มเหลวเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ ต้องยอมรับความเสี่ยง
ในปีหน้า 2023 กองทัพบก สหรัฐฯ วางแผนที่จะทดสอบอาวุธพิสัยไกลไฮเปอร์โซนิค (LRHW) หวังให้เป็นระบบระบบแรกที่สำเร็จโดยกองทัพ โดยใช้จรวดเสริมแรงแบบ 2 ขั้นตอน เพื่อเร่งความเร็วของจรวดร่อนให้มีความเร็วเหนือเสียง จากนั้นลำตัวจะร่อนเข้าหาเป้าหมายด้วยความเร็วสูงมาก โดยใช้พลังงานจลน์เป็นอาวุธ
ปี 2025 อีก 3 ปีหน้ากองทัพเรือสหรัฐฯ วางแผนที่จะทดสอบอาวุธไฮเปอร์โซนิคบนเรือพิฆาตติดขีปนาวุธนำวิถี Zumwalt ราวปี 2029 อีก 7 ปีกองทัพเรือสหรัฐฯ มีแผนจะทดสอบยิงขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิคจากเรือดำน้ำ สหรัฐฯ จึงให้ความสำคัญกับเรื่องอาวุธชนิดนี้เป็นลำดับแรกในการตามให้ทัน รัสเซีย จีน เกาหลีเหนือ
สรุปสหรัฐฯ ยังตามหลังเทคโนโลยีอาวุธไฮเปอร์โซนิคของรัสเซีย จีน เกาหลีเหนือ อิหร่าน อีกนานไม่น่าจะต่ำกว่า 7 ปีถึงจะสำเร็จและประจำการในกองทัพอากาศ กองทัพบกได้ ส่วนกองทัพเรือไม่น่าต่ำกว่า 15 ปี จึงจะประจำการอาวุธชนิดนี้ในเรือดำน้ำได้ เพราะยังไม่ได้เริ่มอะไรเลย แผนทดสอบปี 2029 โน่นเลย
เกาหลีเหนือก็เคยทดสอบยิงขีปนาวุธจากเรือดำน้ำสำเร็จมาแล้ว ส่วนรัสเซียนั้นทดสอบและมีอาวุธไฮเปอร์โซนิค Tsirkon จากเรือดำน้ำ เมื่อปลายปีที่แล้ว สหรัฐฯ สู้ต่อไป อีกไม่นาน 7 – 15 ปีก็ตามเกาหลีเหนือทันแน่นอน”