จีน-รัสเซียพลิกโลก! เปิดสะพานเชื่อมขนส่งสินค้า 20 ล้านตันต่อปี! ช่วยดันหลังเอเชีย ช่วยไทย ศก.โตขึ้น
จากกรณีเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 รัสเซียและจีนเปิดตัวสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำอามูร์แห่งแรก ใกล้กับนิคม Nizhneleninskoye เขตปกครองตนเองชาวยิว และเมืองถงเจียง, มณฑลเฮยหลงเจียง, ประเทศจีน สมรรถนะสูงสุดของสะพานใหม่การส่งสินค้าจะสูงถึง 20 ล้านตันต่อปี
ต่อมาทาง Blockdit World Update ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีที่รัสเซีย เปลี่ยนเส้นทางพลังงานมาเอเซีย และเปิดทางรถไฟเชื่อมจีน โดยระบุเนื้อหาบางส่วนว่า
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมารัสเซีย ส่งออกน้ำมันดิบทางทะเลเพิ่มขึ้นเป็น 3.6 ล้านบาร์เรล/วัน ยังไม่นับส่งออกทางท่อต่างหาก นอกจากรัฐบาลรัสเซีย จะได้ส่วนแบ่งกำไรเป็นกอบเป็นกำจากรัฐวิสาหกิจน้ำมันต่อแรกแล้ว รัฐบาลยังมีรายได้ต่อที่ 2 เบิ้ลจากภาษีส่งออกน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้น 7 วันล่าสุดเป็นราว 9,011 ล้านรูเบิล/สัปดาห์ (5,350 ล้านบาท) ปัจจุบัน การส่งออกน้ำมันทางทะเลของรัสเซีย ถูกส่งไปยังเอเชีย ในสัดส่วนราว 67% เพิ่มขึ้นกว่าปีที่แล้วราว 27% แต่ปริมาณการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปลดลง
การส่งออกน้ำมันดิบทางทะเลของรัสเซีย ไปยังยุโรป ลดลงเหลือ 700,000 บาร์เรล/วัน นั่นหมายความว่ายอดส่งออกน้ำมันดิบรัสเซียภาพรวมไม่ได้ลดลง เพียงแต่ลดสัดส่วนส่งให้ยุโรป แล้วเพิ่มสัดส่วนส่งให้เอเซียมากขึ้นแทน แต่ด้วยราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วทำให้รัสเซียจึงส้มหล่นมีรายได้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย น้ำมันดิบรัสเซีย ได้มุ่งไปสู่จีน อินเดีย และตุรกี รวมถึงชาติที่ยังปกปิดปลายทาง
เมื่อหลายเดือนก่อน รัสเซียและจีน ได้เปิดสะพานรถยนต์ขนสินค้าข้ามแม่น้ำอามูร์แห่งแรก ที่พรมแดน
ล่าสุด 2 ชาติคู่หูนี้ ได้เปิดสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำอามูร์แห่งแรกอีกแล้ว ที่พรมแดนใกล้กับนิคม Nizhneleninskoye ไปยังเมืองถงเจียง มณฑลเฮยหลงเจียง ของจีน สามารถขนส่งสินค้าระหว่างกันมากถึง 20 ล้านตัน/ปี
รัสเซีย ยังมีแผนส่งผ่านท่อในดินแดนมองโกเลีย ไปยังจีน ภายใต้โครงการ Soyuz Vostok ซึ่งจะเริ่มต้นปี 2023 อีกไม่กี่เดือนหน้า ต่อให้สหรัฐฯ ยุโรป คว่ำบาตรพลังงานน้ำมัน ก๊าซ รัสเซีย ต่อไปเป็นร้อยปี หรือกำหนดเพดานราคาน้ำมันรัสเซีย ก็ไม่สามารถทำอะไรรัสเซียแม้เพียงระคายผิว
เพราะรัสเซียมีตลาดเอเซีย จีน อินเดีย ที่ประชากรรวมกันว่า 2,830 ล้านคน เอเซีย และยี่ปั้วตุรกี ที่รับไปขายต่อกินกำไรส่วนต่าง รวมถึงยุโรปด้วย และหากยุโรปกำหนดเพดานราคาน้ำมันรัสเซีย ก็ยิ่งไม่สะเทือนเพราะรัสเซียก็ไม่ขายให้ยุโรป ที่อยากได้เพดานราคาเท่าใดก็ไปซื้อจากสหรัฐฯ เอาเอง เพราะทั่วโลกต่างรู้กันว่าราคาน้ำมันรัสเซีย ถูกกว่าสหรัฐฯ ราว 20 – 30 ดอลลาร์/บาร์เรล มานานมากแล้ว
เหตุเพราะน้ำมันรัสเซีย ผลิตโดยรัฐวิสาหกิจของรัฐ ย่อมมีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยถูกกว่าสหรัฐฯ ที่ผลิตโดยบริษัทเอกชน อีกทั้งภูมิรัฐศาสตร์รัสเซีย อยู่ใกล้ลูกค้าในเอเซีย ยุโรป แอฟริกา ค่าขนส่งทางเรือรวมประกันภัย จึงถูกกว่าสหรัฐฯ ที่ต้องขนน้ำมันข้ามทวีปมาส่ง ยุโรป เอเซีย ฯลฯ ส่วนชาติ OpecPlus ยืนยันหลายครั้งว่าจะไม่เพิ่มโควต้าส่งพลังงานน้ำมันให้ยุโรป เพราะได้ตกลงกับรัสเซียที่เป็นสมาชิกขาใหญ่ไว้แล้ว ดังนั้นเมื่อยุโรปกำหนดเพดานราคาน้ำมันรัสเซีย ก็หมายถึงพวกเขาต้องหันไปซื้อจากสหรัฐฯ เป็นหลักแทน ส่งผลให้นับแต่นี้ยุโรปต้องใช้เชื้อเพลิงน้ำมันแพงขึ้นกว่านี้ไปอีกและจะไม่สามารถหวนคืนราคาดังสมัยก่อนได้อีก
สหรัฐฯ ผลิตน้ำมันได้มากที่สุดในโลกราว 16 ล้านบาร์เรล/วัน แต่ใช้ในประเทศมากถึง ราว 19 ล้านบาร์เรล/วัน เมื่อคว่ำบาตรน้ำมันจากรัสเซีย กลุ่ม OpecPlus ก็ปฏิเสธจะผลิตเพิ่มชดเชยให้ ดังนั้นน้ำมันของสหรัฐฯ ส่วนที่ขาดหายไปในยามนี้คือไปดึงน้ำมันสำรองทางยุทธศาสตร์ยามสงครามมาใช้แก้ขัดเฉพาะหน้า มีเหลือสต็อคไม่ถึง 400 ล้านบาร์เรล สำรองได้ราว 1 ปีบวกลบ ดังนั้นในปีหน้า 2022 สิ้นฤดูหนาว ยุโรปย่อมจะขาดความมั่นคงทางพลังงานก๊าซ และน้ำมัน ไปพร้อมกัน เพราะสหรัฐฯ เองก็ต้องลดการส่งออกเพื่อประคองภาคอุตสาหกรรมด้วย
ส่วนยุโรป ถ้ายุติคว่ำบาตรรัสเซียแล้ว ก็จะไม่สามารถได้พลังงานกลับคืนมาราคาเดิมเหมือนก่อน เหตุเพราะเส้นทางเชื้อเพลิงก๊าซ ถูกเปลี่ยนไปยังท่อมองโกเลีย และไซบีเรีย พร้อมน้ำมันก็หันหัวเรือไปเอเซียแล้ว รัสเซีย ต้องรักษาคงความสัมพันธ์อันดีกับเอเซียไว้ให้แน่นแฟ้น ดังนั้นปีหน้า 2023 พลังงานน้ำมันจากรัสเซีย จะส่งออกมาเอเซียเกิน 70% ค่อนข้างแน่นอน ชาติเอเซียที่รัสเซียไม่ขึ้นบัญชีดำ จะรุ่งเรืองด้วยภาคอุตสาหกรรม ความมั่งคั่งจะย้ายมาเอเซียแทน ปีหน้าอัตราการเติบโตทางเศรษกิจเอเซีย ที่เป็นมิตรกับจีน จะสูงกว่าค่าเฉลี่ย GDP โลก ส่วนยุโรป GDP จะถดถอยวิ่งเข้าใกล้ศูนย์ บางชาติ เช่น เยอรมนี จะถึงกับติดลบ
นี่คืออิทธิฤทธิ์ของการจัดระเบียบโลกใหม่หลายขั้ว ที่รัสเซีย – จีน จะพลิกโลกผงาดเป็นมหาอำนาจใหม่ แล้วดันหลังให้ชาติในเอเซียเจริญขึ้นทางเศรษฐกิจ ประชาชนก็จะอยู่ดีกินดี สวัสดิการดี ไปโดยปริยาย ส่วนไทยนั้น ย่อมได้รับอานิสงค์ความเจริญของเอเซียไปด้วย คาดว่าเศรษฐกิจไทยปีหน้าจะโตขึ้นเกิน 4%
สวนทางชาติตะวันตก เพราะไทยเป็นกลาง ไม่ขอยุ่งเกี่ยวในความขัดแย้งของใคร ไม่ประนามหรือคว่ำบาตรใคร ไทยเป็นเจ้าภาพประชุม APEC 2022 วันที่ 18 – 19 พ.ย.2022 มุ่งแต่ค้าขายส่งออกสินค้า สนับสนุนการลงทุน การท่องเที่ยว ดูดนำรายได้เข้าประเทศลูกเดียว