สหรัฐตาร้อนผ่าว! อิจฉาไทยเปิดปท.รับนทท.รัสเซียกว่า 2.5 แสน แถมยกความสัมพันธ์การทูตกับจีน ไม่สนอเมริกา
จากกรณีที่เมื่อวานนี้ (16 พฤศจิกายน 2565) VOA รายงานว่า ประเด็นความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีระหว่างไทยและรัสเซียจะเป็นที่จับตา จากปัญหาที่ไทยยังคงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัสเซียต่อไป เปิดพรมแดนให้กับนักท่องเที่ยวรัสเซียเข้าประเทศถึงแม้ชาติตะวันตกจะคว่ำบาตร โดยตัวเลขจากสมาคมผู้ประกอบการท่องเที่ยวรัสเซียพบว่า ภายในสิ้นปี 2022 เชื่อว่าจะมีนักท่องเที่ยวรัสเซียเข้าไทยจำนวน 250,000 คน
ไทยใช้สิทธิ์งดออกเสียงในโหวตการประชุมใหญ่สหประชาชาติเมื่อตุลาคมไม่ที่ผนวกดินแดนทางตะวันออกของยูเครน และในที่ประชุมพบว่ามี 143 ชาติต่างลงมติออกเสียงประณามความก้าวร้าวของรัสเซีย ซึ่งการงดออกเสียงของรัฐบาลไทยครั้งนี้ สร้างเสียงวิจารณ์จากทั้งภายในประเทศและนอกประเทศ โดยผู้เชี่ยวชาญการศึกษาสันติภาพและความขัดแย้งประจำมหาวิทยาลัยคันไซ มาร์ค เอส. โคแกน( Mark S. Cogan) เชื่อว่า ไทยทำไปเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง
โดยในตอนหนึ่งของการให้สัมภาษณ์กับ VOA ชี้ว่า “เสียงดังรอบๆการโหวต UNGA อาจจะไม่ได้รับความนิยมในชุมชนสิทธิมนุษยชน แต่เมื่อรัสเซียถือเป็นตลาดใหญ่อันดับ 7 ทางด้านการท่องเที่ยว ผมเห็นได้เลยว่าเหตุใดพวกเขา (ประเทศไทย) ถึงมองโลกตามความเป็นจริงมากกว่า”
และเสริมต่อว่า “ไทยต้องการอย่างมากในการกลับมาในระดับการค้าและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 ซึ่งนโยบายโควิด-19เป็นศูนย์ของจีนจะส่งผลร้ายต่อมุมมองเศรษฐกิจ และพวกเขาต้องการนักท่องเที่ยวรัสเซียเช่นกัน”
ด้านผู้เชี่ยวชาญทางรัฐศาสตร์ชื่อดังของไทย ศ.ดร.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ (Thitinan Pongsudhirak) แสดงความเห็นกับ VOA ว่า “นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ไม่มีสิ่งจำนวนมากที่สามารถโชว์ได้แต่ทว่าภายใต้สถานการณ์ที่ดีขึ้นพร้อมกับยุทธศาสตร์การเติบโตและแผนการที่ชัดเจนว่าต้องการให้ไทยอยู่ที่ใดบนแผนที่โลก ซึ่งไทยจะได้มากจากมัน”
แต่เขาย้ำว่า “สำหรับพลเอกประยุทธ์นั้นไม่ได้เป็นที่รู้จักในฐานะนักนโยบายการต่างประเทศมือฉมังหรือนักยุทธศาสตร์ทางเศรษฐศาสตร์ แต่เขาเป็นนักการทหาร”
ผู้เชี่ยวชาญแสดงความเห็นว่า ในงานเอเปคเที่ยวนี้รัฐบาลไทยให้ความสัมพันธ์ด้านการต่างประเทศและความพยายามทางการทูตของตัวเองไปที่ “จีน” โดยชี้ไปถึงหมายกำหนดตามตารางที่จะมีการหารือระดับทวิภาคีระหว่างผู้นำไทยและประธานาธิบดีจีนในวันที่ 18 พ.ย
เขากล่าวต่อว่า “งานเลี้ยงอาหารค่ำเป็นหัวใจสำคัญ” และเสริมว่า “ในวาระการประชุมไทย-จีนจะมีประเด็นด้านการฟื้นตัวหลังโควิด-19 การกลับมาของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และจีนสนใจที่ต้องการผลักดันข้อตกลงการค้าเสรี FTA 3.0
โดยปักกิ่งพยายามที่จะหลอกล่อชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ขยายโซนการค้าของตัวเองผ่านข้อตกลง FTA 3.0 เพื่อต้องการปรับปรุงซัพพลายเชนส์ของตัวเองเพื่อต่อกรกับโครงการกรอบทำงานด้านเศรษฐกิจ 14 ชาติอินโด-แปซิฟิก (IPEF)ของไบเดนที่มีเป้าหมายเพื่อทำให้การค้าที่ยุติธรรมและโปร่งใสในภูมิภาค