อังกฤษน้ำตาตก! ปชช.ยากจนลง เงินทองหายาก เร่ขออาหารกินฟรีเพียบ ซ้ำต้องปลูกผักกินเองข้างถนน

0

หลังจากที่ประชาชนหลายพันคนร่วมเดินขบวนในกรุงลอนดอน เรียกร้องให้จัดเลือกตั้งทั่วไป ท่ามกลางวิกฤตค่าครองชีพที่เลวร้ายลงเรื่อย ๆ ในสหราชอาณาจักร รวมทั้งข้าราชการจำนวนมากในกรุงลอนดอนก็ออกมาประท้วงด้วยเช่นกัน ล่าสุดมีรายงานสถานการณ์ในอังกฤษ พลเมืองยากจนลง! หาเงินยาก ขออาหารกินฟรีเพียบ ปลูกผักกินเองข้างถนน

 

อังกฤษ” ประท้วงไม่จ่ายค่าก๊าซ - ค่าไฟ ทั่วประเทศ

 

นับถอยหลัง Brexit ...อังกฤษจะออกแบบไร้ข้อตกลงหรืออยู่ต่อ สภายึดอำนาจรัฐบาลเริ่มกระบวนการลงมติชี้อนาคต - ThaiPublica

ชาวอังกฤษประท้วงค่าครองชีพแพง ผลักภาระให้คนจนแบกรับ | ประชาไท Prachatai.com

โดยเพจเฟซบุ๊ก World Update ได้รายงานด้วยว่า เป้าหมายของรัสเซียคือ ต้องการย้อนเกร็ดชาติตะวันตก โดยมีกลยุทธ์ดึงให้ติดหล่มสงครามในยูเครน แล้วทำลายเศรษฐกิจยุโรปที่เคยรุ่งเรืองให้ล่มสลายลง Win-Win สมประโยชน์ทั้งสหรัฐฯ ที่ไฝ่ฝันจะมาเทคโอเวอร์ยึดครองภาคอุตสาหกรรมยุโรป และสมประโยชน์รัสเซีย ที่จะทำให้ยุโรปอ่อนแอ บอบช้ำไปอีกหลายทศวรรษ จนไม่อาจมีกำลังศาสตราวุธ และเศรษฐกิจ ที่จะไปก่อกวนรุกรานรัสเซียได้อีกเหมือนคราวสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2

 

ตำรวจอังกฤษปะทะผู้ประท้วง ต้านมาตรการคุมเข้มกันโควิดระบาดซ้ำ (ภาพชุด)

 


ผลปรากฎความสำเร็จเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ของรัสเซีย ได้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมแล้ว เมื่อติดหล่มสงคราม ก็ทำให้ยูโรโซนและสหราชอาณาจักร ต้องเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ในฤดูหนาวนี้ เป็นผลมาจากแรงกดดันด้านราคาพลังงานสูงจากสหรัฐ แต่รัสเซียต่ำกว่า ทิศทางพลังงานเปลี่ยนมายังเอเซีย และทวีปอื่น , ยิ่งนานวันเท่าใดความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้น เป็นผลร้ายต่อตลาดเงิน ตลาดทุนของยุโรปเอง

 

อัตราเงินเฟ้อสูง ดันให้ค่าครองชีพสูง กำลังซื้อของครัวเรือนส่วนใหญ่ลดลง ฉุดเศรษฐกิจให้ย่ำแย่จมลงไปอีก ,สภาพแวดล้อมภายนอกอิทธิพลยุโรปต่อนานาชาติ อ่อนแอลงอย่างน่าใจหาย ไม่มีใครแยแส และเมินเฉยที่จะช่วยเหลือ เงื่อนไขทางการเงินในสหภาพยุโรป เข้มงวด เกิดภาวะขาดสภาพคล่อง แม้แต่เยอรมนีชาติเบอร์ 1 ของ EU ที่เคยได้ชื่อว่าร่ำรวย แต่บัดนี้ไม่ใช่แล้ว เพิ่งออกกฎหมายกู้เงิน 200,000 ล้านยูโร มาทำนโยบายประชานิยมเฉพาะหน้า เยียวยาวิกฤติพลังงานแพง ถ้าเยอรมนีย่ำแย่ ชาติอื่นก็คือซุปเปอร์แย่นั่นเอง

ข้อมูลทั่วไปของอังกฤษ

การที่ยุโรป ถูกรุมทุบเศรษฐกิจจากทั้งสหรัฐฯ ที่เป็นภัยคุกคามใหญ่สุด ร่วมกับรัสเซียก็ผสมโรงรุมทุบด้วยเพราะยุโรปไม่อยากเป็นมิตรกับรัสเซียเอง คาดว่าไตรมาสแรกของปี 2023 การเติบโตทางเศรษฐกิจ GDP ในสหภาพยุโรป และยูโรโซนโดยรวมจะเฉลี่ยแค่ 0.3% เท่านั้น โดยเยอรมนี GDP จะติดลบราว 0.7% โดยคาดว่าจะมี GDP รองบ้วยในอันดับ 26 จาก 27 ชาติใน EU อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจ จะดูไม่จืดอาการหนักกว่าเมียนมาร์ อัฟกานิสสถาน หรือเยเมน เสียอีก ส่วนสหราชอาณาจักรนั้น แม้จะอยู่นอกกลุ่ม EU ก็จะซุปเปอร์แย่ทางเศรษฐกิจเช่นกัน เพราะแม้จะเป็นบริวารมือขวาสหรัฐฯ แต่ขณะเดียวกันก็เป็นคู่แข่งทางอำนาจโลกด้วย สหรัฐฯ จึงล้มเหลวในการเจรจาตกลงขายพลังงานก๊าซราคาถูกระยะยาวให้อังกฤษ เพราะกลัวว่าจะฟื้นตัวได้

 

ในสหราชอาณาจักรนั้นจะมีธนาคารอาหาร (Food Bank) ที่บริหารโดยองค์กรการกุศล ที่ให้คนร่ำรวยบริจาคเงินมาจัดซื้ออาหารธัญพืช เนื้อ ผักผลไม้ ฯลฯ แล้วจัดสรรตามคิวให้กับองค์กร หรือประชาชนที่มาแสดงคำขอ แต่ผลจากเศรษฐกิจถดถอย ชาวอังกฤษเป็นหนี้ค่าไฟฟ้ากว่า 2 ล้านราย , หนี้ค่าก๊าซกว่า 1.5 ล้านราย ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมาชาวอังกฤษ เกิดวิกฤติอดอยากต้องอดมื้อกินมื้อ จึงบากหน้าไปขอความช่วยเหลือจากธนาคารอาหารเพิ่มขึ้น 320,000 ราย จำนวนผู้มาขออาหารรายใหม่เพิ่มขึ้น 46% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดย 20% ที่มาขออาหารมาจากครัวเรือนที่ทำงาน มีความต้องการอาหารมากเกินกว่าการบริจาคเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ จนระดับสต็อกอาหารลดลงอยู่ในระดับต่ำสุด เมื่อผู้ปกครองหันไปขอความช่วยเหลือมากขึ้น เด็กที่ครอบครัวยากจนก็ต้องการอาหารโรงเรียนฟรีเพิ่มขึ้น ราว 1.9 ล้านคน ซึ่งมากกว่า 33% ของเด็กทั้งหมด

ผู้ปกครองบางคนบอกว่าต้องพยายามขายของตลอดเวลาเพียงเพื่อหาเงิน 10 ปอนด์เท่านั้น และต้องพึ่งพาความเมตตาจากชุมชนสโมสรในท้องถิ่นเพื่อหาสถานที่อบอุ่น และรับชาฟรี ปัจจุบันครัวเรือนชาวอังกฤษ ถึงขนาดต้องดิ้นรนหนีความอดอยาก โดยการ “ปลูกผักข้างถนน” บนที่ดินสาธารณะตามเมืองต่าง ๆ เพื่อจัดหาอาหารของครอบครัวตนเองมากขึ้นเรื่อย ๆ ลดค่าใช้จ่าย ทำให้ยอดขายเมล็ดพันธุ์พืชเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า การปลูกอาหารกินเองของชาวอังกฤษ กระจายขยายตัวขึ้นทั่วในหลายเมือง ทั้งริมคลอง ทางรถไฟ ศูนย์สุขภาพ บนที่ดินที่ยังไม่พัฒนา แม้กระทั่งนอกสถานีตำรวจ ประชาชนเข้ามาศึกษามากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อหาข้อมูลไปทำเองบางเมืองถึงขนาดพัฒนาเป็น “การท่องเที่ยวเชิงผักเกษตรในเมือง”

วิกฤตค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ บิลค่าพลังงาน ค่าที่อยู่อาศัย ค่าอาหาร ที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ชาวอังกฤษเกิดความกลัว ความสิ้นหวัง ผสมความโกรธรัฐบาล และพยายามดิ้นรนหาอาหารเพื่อจะอยู่รอดต่อไปให้ได้ วิกฤติเศรษฐกิจ และอาหารในยุโรปปีถัดไปจนรุนแรงขึ้นกว่านี้อีกเมื่อคนยากจนจะกลายเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคม ต่อให้ร้อยพัน ธนาคารอาหารก็เอาไม่อยู่ ตราบเท่าที่รัฐบาลยุโรปยังคงติดหล่มสงคราม

และยังดึงดันส่งเงินและอาวุธให้ยูเครน ท่ามกลางความอดอยากหิวโหยจนอ่อนล้าของพลเมืองตนเอง..ซึ่งทั้งสหรัฐฯ และรัสเซีย ก็จะบ่อนทำลายภายในยุโรปจากต้นทุนพลังงานอยู่แบบนี้ ต่อให้ยุโรปคว่ำบาตรรัสเซียต่อเป็นร้อยปี ชาวรัสเซียก็ยังมีพลังงานเหลือเฟือ อาหารบริบูรณ์เพิ่มขึ้น แต่ชาวยุโรปกลับยิ่งเสื่อมโทรมลง นี่คือเหตุผลที่ผู้นำรัสเซีย ยื้อสงครามยูเครนออกไป เพื่อให้บทเรียนยุโรปจดจำว่ารัสเซียไม่ใช่ชาติที่จะควรจะไปแหย่ด้วยเด็ดขาด คว่ำบาตรรัสเซียต่อไป ยุโรป ยากจนลง อดอยาก หิวโหยแร้นแค้นหนักขึ้นอีกแน่นอน