จากที่รัสเซียกับยูเครนสู้รบกันมาเป็นเวลากว่า8เดือนแล้ว ขณะที่ประเทศตะวันตกต่างให้การสนับสนุนอาวุธ และเงินกู้ต่อยูเครน แต่ฝ่ายรัสเซียเองก็ดูเหมือนว่าจะไม่ได้รับผลกระทบมากนักทั้งกองกำลังและเศรษฐกิจจากภาวะการสู้รบ
ล่าสุดวันนี้ 12 พฤศจิกายน 2565 Blockdit World Update โพสต์ภาพพร้อมข้อความจากแหล่งที่มา ซึ่งมีเนื้อหาที่สำคัญชวนติดตามเป็นอย่างยิ่งว่า
“ในโลกนี้คงมีนักกลยุทธ์ศึกษาสงครามที่รู้ว่าเป้าหมายที่ชาติตะวันตกกลุ่มสงคราม NATO ปั่นให้เกิดสงครามในยูเครนกับรัสเซีย พร้อมส่งอาวุธ และทหารรับจ้างมาร่วมศึกในยูเครนนานราว 8 เดือนนั้นมีเป้าหมายหลักมี 4 ประการ คือ
1.ทำให้รัสเซียติดหล่มสงครามคล้ายสงครามในอัฟกานิสถาน 2. ทำลายเศรษฐกิจรัสเซีย จนล่มสลายลงเป็นประเทศย่อย คล้ายอดีตสหภาพโซเวียต 3. เข้าไปรุมทึ้งทรัพยากรพลังงานประเทศใหม่เหล่านั้นไปอีกหลายทศวรรษ 4. เป็นโดมิโนไปถึงจีน ล้อมกรอบจีน และทำลายให้แตกเป็นประเทศย่อย
วัตถุประสงค์ปลายทางสูงสุด คือ ยื้อระเบียบโลกเก่าขั้วเดียวต่อไปให้นานที่สุด เพื่อความเป็นใหญ่ครอบงำโลกโดยไร้คู่แข่งที่ทัดเทียม แต่สิ่งนี้ประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย นักกลยุทธ์ชั้นครู ก็ศึกษาถอดบทเรียนความผิดพลาดของอดีตสหภาพโซเวียตมาเช่นกัน เพราะสมัยนั้นใช้วิธีต่อกรกับชาวตะวันตกที่คว่ำบาตรโดยไม่ขายพลังงานให้ จนชาติขาดรายได้อ่อนแอจากภายในเอง
ปูตินจึงร่วมเล่นตามเกมส์ด้วยการย้อนเกร็ดทุกเป้าหมายของชาติตะวันตก เพราะเขาเคยทำสงครามตัวแทนกับชาติตะวันตก ในเชชเนียมา 8 ปี , ซีเรีย มาอีก 8 ปี , จอร์เจีย อีกไม่ถึง 10 วัน
ดังนั้นถ้าจะเอาชนะชาติตะวันตก ไม่จำเป็นต้องเอาชนะสงครามที่ยูเครน เพราะปูตินไม่ได้มองยูเครนว่าเป็นประเทศ แต่เขามองว่าเป็น “ดินแดน” กันชนระหว่างรัสเซีย และยุโรปเท่านั้น จึงจะต้องย้อนเกร็ด “ทำให้ยุโรปติดหล่มสงครามให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้”
เหตุเพราะยุโรปมี 41 ประเทศ แต่เกาะตัวกันหลวมๆ จำนวน 27 ประเทศเป็นสหภาพยุโรป (EU) เมื่อติดหล่มสงครามนานย่อมทำให้ภายในแตกแยกตามธรรมชาติของรัฐที่เศรษฐกิจมีขนาดต่างกันมาก
รัฐที่ขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุด คือ เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี เมื่อติดหล่มสงครามนานจะชอกช้ำอ่วมเสียหายหนักแล้วจะลุกลามโดมิโนไปทั้งกลุ่ม EU เมื่อต้องระดมอาวุธและเงินกู้มาให้หลุมดักเหยื่อล่อคือยูเครน
การติดหล่มสงครามนานของรัสเซีย เป็นเรื่องเคยชินเพราะปูตินทำสงครามมาต่อเนื่องถึง 22 ปีในตำแหน่งของเขา แต่ยุโรปไม่ใช่ บางชาติไม่เคยติดหล่มสงครามเลย และไม่รู้วิธีว่าจะขึ้นจากหล่มสงครามนี้ได้อย่างไร
ปูตินได้เรียนรู้จุดอ่อนยุโรปที่ “ไม่มีพลังงานเชื้อเพลิงก๊าซ และน้ำมันเพียงพอใช้ในทวีป” เมื่อยุโรปติดหล่มลึกสงครามแล้ว สิ่งนี้จะย้อนเกร็ดทำลายเศรษฐกิจยุโรป จนย่อยยับล่มสลายลงแตกแยก คล้ายอดีตสหภาพโซเวียต
ดังนั้นปูติน จะไม่เร่งรีบสงครามในยูเครน เพราะเขากำลังได้เปรียบทางเศรษฐกิจที่ยึดหลัก “เศรษฐศาสตร์สงคราม” สร้างรายได้มหาศาลจากพลังงานมากกว่าก่อนสงครามเสียอีก ค่าเงินรูเบิลก็แข็งค่าขึ้น เงินคงคลังมากขึ้น พื้นที่มากขึ้น ทรัพยากรมากขึ้น ประชากรมากขึ้น รัสเซียมีแต่ได้
ปูตินต้องการดูว่าหนาวนี้ยุโรปจะเสียหายทางเศรษฐกิจจากค่าพลังงานสักเท่าใด ส่วนรัสเซียก็จะโกยเงินมากเท่านั้น อีกสิ่งที่ปูติน อยากรู้คือ เมื่อสต็อกธัญพืชยูเครนหมดลง เพาะปลูกใหม่ยังไม่ได้ในฤดูหนาวนี้ ปีหน้าชาวยุโรปจะเอาอาหารจากที่ใดมาเลี้ยงพลเมืองทดแทน
ส่วน พล.อ.เซอร์เกย์ ซูโรวิกิน ฉายา นายพลอะมาเก็ดดอน ผู้บัญชาการกองกำลังร่วมรัสเซีย ระบุว่า รัสเซียมีวิธีการต่อสู้โดยไม่ส่งทหารแม้แต่คนเดียวอยู่บนพื้นที่นั้น
ดังนั้นเขากำลังใช้พื้นที่ฝั่งขวาแม่น้ำดนีเปอร์ แคว้นเคอร์ซอน ที่ถอนทหารข้ามมาอยู่ฝั่งซ้ายและตั้งอาวุธหนักจำนวนมากโยนลูกยาวข้ามแม่น้ำไปตลอดเวลาขณะนี้เป็นที่ทดสอบวิธีคิดของเขา ที่เคยปราบกลุ่มติดอาวุธ ISIS เมืองลักษณะนี้ในซีเรียมาก่อน
ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับความเห็นชอบจาก พล.อ.เซอร์เกย์ ซอยกู รัฐมนตรีกลาโหม เขาน่าจะรออะไรบางอย่างในพื้นที่มาร์กพื้นที่พิกัดจุดทดลองนั้น เพื่อทดสอบวิธีการต่อสู้ที่ไม่ต้องมีทหารสักคนบนพื้นที่ๆ จะเป็นยุทธวิธีการต่อสู้สงครามรูปแบบใหม่โดยสรุปรัสเซียมีกลยุทธ์ ออมกำลังใช้ที่มั่นต่อสู้ยืดเยื้อกับชาวตะวันตกในฤดูหนาว ทำให้พวกเขาติดหล่มสงครามยูเครนให้ยาวนานที่สุด ส่งทรัพยากรมาละลายให้มากที่สุด จนอ่อนล้า ท้อแท้ สิ้นหวังต่ออนาคต ท่ามกลางม็อบประชาชนหยุดงานและก่อการจลาจลในยุโรป”