แผ่นดินอังกฤษร้อนเป็นไฟ! นายกฯแก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ไหว ปชช.ประท้วงระส่ำ ต้องการเลือกตั้งใหม่

0

จากกรณีที่มีประชาชนหลายพันคนร่วมเดินขบวนในกรุงลอนดอนเรื่อยมา และเมื่อวันที่ 5 พ.ย. เริ่มหนักขึ้น เพื่อแสดงการเรียกร้องให้จัดเลือกตั้งทั่วไป ท่ามกลางวิกฤตค่าครองชีพที่เลวร้ายลง ในสหราชอาณาจักร

พันธมิตรที่ประกอบด้วย สหภาพแรงงานและองค์กรชุมชนต่างๆ เข้าร่วมการประท้วงที่ชื่อว่า “สหราชอาณาจักรกำลังพังทลาย (Britain is Broken)” ซึ่งจัดโดยกลุ่มสภาประชาชน (The People’s Assembly) ในย่านใจกลางกรุงลอนดอน ทางกลุ่มระบุว่า พวกผู้ประท้วงต้องการให้จัดเลือกตั้งทั่วไปในทันที แก้ไขปัญหาค่าจ้างขั้นต่ำ และยกเลิกกฎหมายการจ้างงานที่มีลักษณะเป็นการต่อต้านสหภาพแรงงาน

อังกฤษจ่อประกาศชื่อนายกฯคนใหม่คืนนี้ 2 ทุ่ม คาด "ริชิ ซูนัก" เข้าวิน : อินโฟเควสท์

 

 

 

ขณะที่ในเพจเฟซบุ๊ก World Update ได้รายงานถึงประเด็นนี้เพิ่มเติมด้วยว่า อังกฤษ มรสุมรุมเร้า! แก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ตก ม็อบประชาชนต้องการเลือกตั้งใหม่ ภายหลังสหราชอาณาจักร เดินตามลูกพี่สหรัฐฯ คว่ำบาตรรัสเซีย และส่งอาวุธเงินกู้ พร้อมทหารรับจ้างไปร่วมกองกำลังผสม NATO ทำสงครามในยูเครนได้ 8 เดือน ก็ประสบปัญหาใหญ่รุมเร้าทั้งปัญหาแย่งชิงอำนาจทางการเมืองเปลี่ยนมาแล้วถึง 3 นายกฯ ปัญหาพลังงานราคาแพง อัตราเงินเฟ้อสูงเกิน 10% ค่า เงินปอนด์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ เงินคงคลังร่อยหรอ เศรษฐกิจถดถอยมากที่สุดในรอบ 40 ปี

อังกฤษคลายกฎคุมโควิดจันทร์หน้า นายกฯดัตช์ขอโทษปลดล็อกเร็วไป

ริชี ซูนัก' นั่งเก้าอี้นายกฯอังกฤษคนใหม่

กองทุนบำนาญหายวับไป 65,000 ล้านปอนด์ในเวลาไม่กี่วันสมัยอดีตนายกฯ ลิซ ทรัสส์ พอมาถึงยุคนายกรัฐมนตรีริซี ซูนัค เชื้อสายชาวอินเดีย แม้เขาจะตัดงบประมาณด้านกลาโหม และต่างประเทศลงกว่า 10,000 ล้านปอนด์ พร้อมออกมาตรการเก็บภาษีภาคธุรกิจ และประชาชนเพิ่มเข้าคลังราว 50,000 ล้านปอนด์ แต่ราคาพลังงานนำเข้าจากสหรัฐ ก็ยังสูงอยู่มากถมเท่าไรก็ไม่เต็ม การคว่ำบาตรรัสเซียยังคงอยู่ อาวุธและเงินก็ยังส่งให้ยูเครนกู้ จึงยังแก้ปัญหาไม่ตรงจุดที่ต้นเหตุ เศรษฐกิจก็มีแต่จะจมดิ่งตกต่ำลง กลายเป็นชาติ “คนป่วยแห่งยุโรป” ต้องลดอิทธิพลในเวทีโลกไปอีกนาน

โพลสำรวจจาก Sky News องค์กร Ipsos สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างผู้ใหญ่ 2,111 คนอายุ 18-75 ปีในสหราชอาณาจักร ทางออนไลน์ช่วงระหว่างวันที่ 21 – 23 ต.ค.2022 ข้อมูลถ่วงน้ำหนักตามสัดส่วนประชากร พบว่าชาวอังกฤษกำลังติดหล่มในภาวะวิกฤติค่าครองชีพตกต่ำแย่ลง โดย

– 50% ไม่พบปะสังสรรค์กัน และสัดส่วนเท่ากันนี้คิดว่าเกิดจากนโยบายที่ผิดพลาดของพรรคอนุรักษ์นิยมในรัฐบาลมีผลอย่างมาก

– 33% ยากลำบากที่จะจ่ายค่าพลังงาน และบิลค่าที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา

– 26% ใช้เงินเชื่อบัตรเครดิตเพื่อชำระค่าอาหาร

– 24% ต้องอดมื้อกินมื้ออาหาร

– 25% ต้องเอาของเก่าที่มีออกมาขาย

– 20% ต้องกู้ยืมเงินเพื่อการยังชีพ

– 10% คิดว่าการเปลี่ยนนายกฯ จากนักการเมืองคนใหม่จะแก้ไขปัญหาชาติได้ ที่เหลือบอกไม่ได้

ยิ่งธนาคารกลางอังกฤษ ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเป็น 3.75 – 4.0% ต่อปี ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายให้บัตรเครดิตหรือเงินที่กู้ยืมมานั้นมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นตามด้วย ชาวอังกฤษมีความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมมากขึ้น โดยเฉพาะค่าครองชีพและอัตราเงินเฟ้อ เพราะทุกอย่างไม่สามารถดีในทันทีทันใด ถ้ายังไม่เริ่มแก้ปัญหาการนำเข้าพลังงานราคาแพง กลุ่มคนหนุ่มสาว ครัวเรือนที่มีเด็ก และผู้ที่มีรายได้น้อย พวกเขา “กังวลมาก” กับปัญหาค่าครองชีพรอบตัว และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนหนุ่มสาวมักจะผิดนัดชำระหนี้ตามตั๋วเงินหรือผิดนัดแผนการชำระเงินอื่น ๆ ผลกระทบของราคาพลังงานนำเข้าจากสหรัฐ ที่เพิ่มสูงขึ้น กระทบต่อไปถึงราคาอาหาร เกิดขึ้นเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว รวมถึงต้นทุนที่อยู่อาศัยที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามไปด้วยทั้งการเช่า และการผ่อนชำระ

นอกจากประชาชนชาวอังกฤษจะไม่เชื่อมั่นในการแก้ไขปัญหาต่อผู้นำรัฐบาลคนใหม่แล้ว แม้แต่ในพรรคอนุรักษ์นิยมรัฐบาลเองก็ไม่เชื่อมั่นด้วย แต่พรรคแรงงานฝ่ายค้านกลับมีประชาชนเชื่อว่าจะนำชาติให้พ้นวิกฤติเศรษฐกิจได้ ทำให้พลเมืองชาวอังกฤษ และสหภาพแรงงานยังคงหยุดงานประท้วงลงถนนไม่เว้นแต่ละวันล่าสุดคือพนักงานสนามบินฮีทโธรว์ ลอนดอน นัดหยุดงานประท้วงค่าจ้าง และค่าครองชีพ พยาบาลและบุคคลากรทางการแพทย์นัดหยุดงาน ลงถนนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มากกว่า 300,000 คนก่อนคริสต์มาสนี้ เพื่อเรียกร้องให้ขึ้นค่าแรงที่มีส่วนต่างต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อกว้างขึ้น

ดังนั้นน่าจับตามองเกมการเมืองของอังกฤษ ว่าจะร้อนแรงไปอีกนานแค่ไหน เพราะไม่ว่าใครจะมาเป็นนายกฯก็คงรับบทหนัก และแผ่นดินอังกฤษคงร้อนเป็นไฟไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้ข้อยุติ หรืออาจจะรอลุ้นจนสงครามรัสเซีย-ยูเครนจบ