ท่ามกลางแรงกดดันจากนานาประเทศโดยสหรัฐฯและสหภาพยุโรป โอลาฟ ชอลซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนี กลับแหกคำสั่งวอชิงตันเดือนทางไปพบปธน.สี จิ้นผิง โดยเน้นว่าเยอรมนีไม่ต้องการแยกตัวออกจากจีน และการผงาดขึ้นของประเทศจีนไม่ได้ส่งผลร้ายต่อเยอรมนี
ผู้เชี่ยวชาญชาวจีนกล่าวว่าคำพูดและการเดินทางของของชอลซ์เป็นการกระแทกเบรก ต่อทิศทางการเผชิญหน้าที่รุนแรงมากขึ้นกับจีน ซึ่งยุโรปกำลังเคลื่อนไหวอย่างหนักตามวาระวอชิงตัน และอาจเป็นตัวแทนการกลับมาพัฒนาความสัมพันธ์กับจีนอย่างมีเหตุผล
ปักกิ่งได้ออกมาวิพากษ์สหรัฐฯว่าไม่มีสิทธิก้าวก่าย การที่เยอรมนีไฟเขียวให้บริษัทชิปปิ้งของจีน ถือหุ้นในท่าเทียบเรือของท่าเรือเมืองฮัมบัวร์ก ทางตอนเหนือของเยอรมนี และกรณีล่าสุด แคนาดาสั่งถอนการลงทุนของบริษัทจีนในบริษัทแร่สำคัญของแคนาดา อ้างกระทบความมั่นคงแห่งชาติ จีนก็ไม่แปลกใจเพราะรู้ดีว่าเป็นท่าทีของบริวารสหรัฐ แคนาดาทำกับหัวเหว่ยไว้แบบไหนจีนยังไม่ลืม
วันที่ ๔ พ.ย.๒๕๖๕ สำนักข่าวโกลบัลไทมส์ รายงานว่า จ้าว ลี่เจียน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน กล่าวในการแถลงประจำวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาว่า การที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ “แสดงความเคลือบแคลงสงสัย” ต่อการที่รัฐบาลเยอรมนีมีมติเมื่อปลายเดือนที่แล้ว อนุมัติให้บริษัทคอสโกของจีน ครองสัดส่วนการถือหุ้น ๒๔.๙% ของท่าเทียบเรือบรรทุกสินค้า ๑ ใน ๓ แห่งของท่าเรือฮัมบัวร์กว่ารัฐบาลวอชิงตัน “ไม่มีสิทธิแทรกแซง” ความร่วมมือระดับทวิภาคีระหว่างเยอรมนีกับจีน
เจ้าหน้าที่อาวุโสของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ออกคำเตือนเยอรมนีไม่ให้บริษัทขนส่ง Cosco ของจีนเข้าถือหุ้นควบคุมในท่าเรือคอนเทนเนอร์ในฮัมบูร์ก
โอลาฟ ชอลซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนี เพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องจากวอชิงตัน และเดินทางถึงกรุงปักกิ่งเพื่อเยือนจีนครั้งแรกของเขา ซึ่งกลุ่มธุรกิจในเยอรมนีมีจำนวนมาก ต่างสนับสนุนชอลซ์ และหวังที่จะพัฒนาความร่วมมือเชิงปฏิบัติระหว่างสองประเทศ การเปิดเผยการแทรกแซงในข้อตกลงในครั้งนี้ บ่งบอกการกระทำที่โจ่งแจ้ง พยายามอวดอิทธิพลของตนเหนือเยอรมนีอย่างชัดเจน และพยายามลดความสำคัญการเดินทางของนายกรัฐมนตรีเยอรมนี
ชอลซ์แนะนำว่าสหรัฐฯไม่ควรลากเยอรมนีเข้าสู่การเผชิญหน้ากับปักกิ่ง เขาเน้นว่า“ในบรรดาประเทศทั้งหมดในโลก เยอรมนี มีประสบการณ์อันเจ็บปวดจากการแบ่งแยกในช่วงสงครามเย็น ไม่สนใจที่จะเห็นการแบ่งแยกกลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นในโลก” “แม้ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป จีนยังคงเป็นธุรกิจและคู่ค้าที่สำคัญสำหรับเยอรมนีและยุโรป เราไม่ต้องการแยกส่วนออกจากจีน”
เรียกว่าตอกหน้ากันยับ ทำเมกาเหวอไม่น้อยเพราะสั่งเยอรมนีไม่ได้ ในแง่ของความร่วมมือด้านการลงทุนในภูมิภาคนี้ จีนมีโครงการลงทุนหลายแห่งในยุโรป ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง ๑๓.๔% เมื่อเทียบเป็นรายปีในปี ๒๕๖๔
ปัจจุบัน สหรัฐฯเองอยู่ในภาวะถดถอย ขณะที่ยุโรปกำลังเผชิญกับวิกฤตพลังงานและอัตราเงินเฟ้อที่สูงเป็นประวัติการณ์ ดังนั้น ไม่ว่ากลอุบายทางการเมืองใดที่วอชิงตันพยายามจะบ่อนทำลายความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างจีนและยุโรป จะไม่อาจเปลี่ยนจุดยืนของจีนในฐานะนักลงทุนชั้นนำของยุโรป เพราะการร่วมมืออย่างเป็นธรรมชาติแบบวิน-วินและผลประโยชน์ร่วมกันอยู่เบื้องหลัง
ยิ่งกว่านั้น พฤติกรรมของสหรัฐฯ ก็แค่ทำให้ตัวเองดูอ่อนแอแย่ลงเท่านั้น ด้วยการแทรกแซงธุรกิจของผู้อื่นโดยประมาท ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาสหรัฐฯ ไม่ได้เปิดเผยถึงเจตนารมณ์ที่จะขัดขวางการพัฒนาของจีนในระยะยาว แต่ปัจจุบันใช้ท่าทีเผชิญหน้ากับจีนอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังกดดันให้พันธมิตรทำตามด้วย
กรณีล่าสุดแคนาดาสั่งถอนการลงทุนของบริษัทจีน ในบริษัทแร่สำคัญของแคนาดา อ้างกระทบความมั่นคงแห่งชาติ
กระทรวงอุตสาหกรรมแคนาดา สั่งบริษัทจีนที่ร่วมลงทุนในบริษัทแร่สำคัญชั้นนำแคนาดาให้ถอนการลงทุน และสั่งห้ามซื้อหุ้นหรือลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แคนาดา ได้แก่ 1) บริษัท Sinomine (Hong Kong) Rare Metals Resources ต้องถอนทุนในบริษัท Power Metals Corp (บริษัทสำรวจและพัฒนาแร่ของแคนาดา) 2) บริษัท Chengze Lithium International ต้องถอนการลงทุนในบริษัทLithium Chile (บริษัทขุดเจาะเหมืองแร่และโลหะในแคนาดา) และ 3) บริษัท Zangge Mining Investment ต้องถอนการลงทุนในบริษัท Ultra Lithium เป็นบริษัทสำรวจแร่ลิเธียมในแคนาดา
ทั้งนี้ แคนาดาอ้างเตรียมดำเนินยุทธศาสตร์ด้านแร่ธาตุสำคัญ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล และเตรียมเผยแพร่ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกครั้งแรกภายในปี ๒๕๖๕ ซึ่งคาดว่าจะมีการกำหนดนโยบายต่อจีนที่แข็งกร้าวมากขึ้น
ประเด็นนี้ จ้าว ลี่เจียนแถลงว่า “อุตสาหกรรมแร่และห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกในปัจจุบันเป็นผลมาจาก การวางกรอบกฎหมายของตลาดและทางเลือกของธุรกิจ ฝ่ายแคนาดาได้ขยายแนวคิดเรื่องความมั่นคงของชาติ และกำหนดขอบเขตโดยพลการ เกี่ยวกับความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนตามปกติระหว่างบริษัทจีนและแคนาดา สิ่งนี้ขัดต่อหลักเศรษฐกิจการตลาดและกฎเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ สิ่งที่ฝ่ายแคนาดากำลังดำเนินการ ไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนาภาคส่วนเป้าหมาย ผลกระทบต่อเสถียรภาพของอุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกด้วย
จีนเรียกร้องให้ฝ่ายแคนาดาหยุดปราบปรามบริษัทจีน เราเรียกร้องให้มีสภาพแวดล้อมที่ยุติธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ สำหรับบริษัทจีนที่ทำธุรกิจในแคนาดา รัฐบาลจีนจะยังคงปกป้องสิทธิที่ถูกต้องตามกฎหมายและผลประโยชน์ของบริษัทจีนต่อไป
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ฝั่งจีนมองว่า การกีดกันทางการค้า และการคว่ำบาตรต่อจีนจะปรากฎมากขึ้นจากสหรัฐและพันธมิตร แม้จะไม่ประกาศอย่างเป็นทางการ แต่ความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เพิ่มสูงขึ้น จะกดดันยุโรปจนไม่สามารถแบกรับค่าใช้จ่ายในการสละผลประโยชน์ของตนเอง เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ระดับโลกของสหรัฐฯได้ และยุโรปจะตื่นขึ้นสู่ความเป็นจริงแน่นอนไม่ช้าก็เร็ว!!