หลังจากที่บรรดาประเทศสหภาพยุโรป ได้หาเรื่องจะกดดันราคาน้ำมันรัสเซียลง ในช่วงเดือนกันยายน 2565 ที่ผ่านมา แต่แล้วก็ต้องยอมล้มเลิกแผนดังกล่าว เพราะโดนกระแสตีกลับจากหลายประเทศ และประชาชนที่ออกมาประท้วง ให้ผู้นำเลิกคว่ำบาตรรัสเซีย ก่อนจะอดตายกันหมด
โดยครั้งนั้นรัฐสมาชิกอียูที่รับอุปทานก๊าซธรรมชาติปริมาณมหาศาลจากรัสเซีย ในนั้นรวมถึงเยอรมนี ฮังการี สโลวะเกียและออสเตรีย คัดค้านแนวคิดกำหนดเพดานราคาก๊าซรัสเซีย ส่วนประเทศอื่น ๆ ในนั้นรวมถึง ฝรั่งเศสและโปแลนด์ อ้างว่ามาตรการจำกัดเพดานราคาก๊าซ อาจช่วยบรรเทาทุกข์แก่ครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมทั้งหลาย ที่ถูกบีบให้ลดกำลังผลิตสืบเนื่องจากราคาพลังงานที่พุ่งสูง ส่วนทางด้านเนเธอร์แนด์และเดนมาร์ก แสดงความกังวลเกี่ยวกับการกำหนดเพดานราคาใด ๆ โดยเตือนว่ามันอาจผลักยุโรปเสี่ยงเจอผลกระทบด้านความมั่นคงทางพลังงานในช่วงฤดูหนาว
ล่าสุดมิตรแท้ของรัสเซีย ได้ออกตัวแรง ประกาศกร้าวทันทีเลยว่า หากใครยังคิดกล้าจะมากดดันราคาน้ำมันรัสเซีย รับรองว่าอียูจะเจอหายนะที่คาดไม่ถึงแน่นอน โดยในเพจเฟซบุ๊ก World Update ได้รายงานว่า กาตาร์ กร้าว รัสเซียเพื่อนข้าใครอย่าแตะ หากกดราคาน้ำมันรัสเซีย จะระงับก๊าซยุโรป
จากสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป รวมญี่ปุ่นในกลุ่มชาติอุตสาหกรรม G7 ได้ออกมาตรการกำหนดเพดานพลังงานจากรัสเซีย โดยสหรัฐชี้นำราคาขายน้ำมันที่ราคาสูงสุดที่ 40 – 60 ดอลลาร์/บาร์เรล ในขณะที่สหรัฐ ขายราคาแพงขึ้นกว่ารัสเซีย 20 – 30 ดอลลาร์/บาร์เรล และขายก๊าซให้ยุโรปแพงกว่ารัสเซียเกิน 9 เท่า แต่ยุโรปไม่กล้ากำหนดเพดานราคาขายน้ำมัน และก๊าซของสหรัฐ
ล่าสุดรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของกาตาร์ ประกาศกร้าวขู่ว่า “หากกลุ่มชาติอุตสาหกรรม G7 มีการจำกัดเพดานราคาน้ำมันของรัสเซีย ทางบริษัทพลังงานกาตาร์ ก็จะไม่ส่งก๊าซไปให้สหภาพยุโรปเช่นกัน เพราะการจำกัดราคาน้ำมันเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้”
สำหรับกาตาร์ เป็นชาติในกลุ่มอ่าวอาหรับที่นำโดยขาใหญ่ซาอุดิอาราเบีย พี่เบิ้มกลุ่ม OpecPlus ร่วมกับรัสเซีย โดยกาตาร์นั้นยังมีอิทธิสูงต่อรัฐบาลอัฟกานิสถาน กองทัพตอลีบัน และเป็นผู้สนับสนุนทุนรายใหญ่ให้กับกองกำลังฮามาส ปาเลสไตน์ แม้แต่อิสราเอล ก็ไม่อยากมีปัญหากับกาตาร์ เพราะจะกระทบต่อความมั่นคงของตนอย่างมากหากกาตาร์พยักหน้า นักรบฮามาส ปาเลสไตน์ ก็พร้อมบวกคู่อริมาช้านานอย่างอิสราเอล ใครห้ามนักรบฮามาสไม่ได้ กาตาร์นี่แหละคือผู้มากบารมีที่ฮามาสเกรงใจ และอิสราเอล ก็ต้องรักษาสัมพันธ์ไว้สำหรับเจรจา
บริษัท QatarEnergy ของกาตาร์ ระบุว่ากำลังขยายการผลิตก๊าซตอบสนองความต้องการทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น และยืนยันว่าจะไม่เปลี่ยนเส้นทางก๊าซธรรมชาติเหลว LNG ที่ทำสัญญาไว้กับบรรดาผู้ซื้อในเอเชีย เพื่อส่งไปยังยุโรปในช่วงฤดูหนาวนี้ เมื่อลงนามสัญญากับผู้ซื้อในเอเชียแล้ว กาตาร์จะยึดมั่นในข้อตกลงนั้น ดังนั้นจะไม่มีการนำเอาโควต้าก๊าซจากผู้ซื้อเอเชีย ไปส่งมอบให้ยุโรปอย่างแน่นอน แม้กาตาร์ จะเป็นหนึ่งในประเทศผู้ส่งออกก๊าซ LNG รายใหญ่ของโลก และประเทศในยุโรปอย่างเยอรมนี ฝรั่งเศส พยายามเจรจาซื้อก๊าซเพิ่ม หวังลดการพึ่งพาก๊าซจากรัสเซียตามที่สหรัฐ กำหนดให้ยุโรปเดินตาม แต่การเจรจากับกาตาร์ก็ล้มเหลว แถมยืนยันแข็งกร้าวว่าโลกใบนี้ จะไม่มีใครทดแทนปริมาณพลังงานก๊าซรัสเซียได้ กาตาร์เองก็ยังทำไม่ได้เช่นกันในระยะสั้นนี้
จากสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป รวมญี่ปุ่นในนามกลุ่มชาติอุตสาหกรรม G7 ได้ออกมาตรการกำหนดเพดานพลังงานจากรัสเซีย โดยสหรัฐชี้นำกำหนดเพดานราคาขายน้ำมันที่ราคาสูงสุดที่ 40 – 60 ดอลลาร์/บาร์เรล ในขณะที่สหรัฐ ขายราคาแพงขึ้นกว่ารัสเซีย 20 – 30 ดอลลาร์/บาร์เรล แถมกลุ่ม G7 ยังจะกำหนดเพดานราคาก๊าซรัสเซียตามใจชอบ แล้วบังคับใช้ทั้งโลก ส่วนสหรัฐ กลับขายก๊าซให้ยุโรปแพงกว่ารัสเซียเกิน 9 เท่า แต่ยุโรปกลับไม่กล้ากำหนดเพดานราคาขายน้ำมัน และก๊าซของสหรัฐ โดยอ้างว่าพลังงานตนดีกว่า ส่วนของรัสเซียนั้นน่ากลัว
ทำให้รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของกาตาร์ ประกาศกร้าวขู่ว่า “หากกลุ่มชาติอุตสาหกรรม G7 มีการจำกัดเพดานราคาน้ำมันของรัสเซีย ทางบริษัทพลังงานกาตาร์ ก็จะไม่ส่งก๊าซไปให้สหภาพยุโรปเช่นกัน เพราะการจำกัดราคาน้ำมันเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ นับเป็นการกินแห้วครั้งที่นับไม่ถ้วนของฝ่ายระเบียบโลกเก่าขั้วเดียว สหรัฐ และยุโรป ที่บารมีจางหายอับแสงลง ไม่ว่าจะเล่นงานฝ่ายจัดระเบียบโลกใหม่หลายขั้ว รัสเซีย อย่างไร แต่พันธมิตรจีน อินเดีย ตะวันออกกลาง ฯลฯ ก็จะออกมาขัดขวาง สุดท้ายแล้วมาตรการต่าง ๆ ที่ออกมาหวังเล่นงานรัสเซียเหล่านั้น ก็สะท้อนกลับเป็นบูมเบอแรงไปกระแทกกลับทวีคูณ ประมาณว่าออกมาตรการอะไรออกมา สิ่งนั้นก็โดนกับสหรัฐ และยุโรปเองจัง ๆ ทุกครั้งที่ชาติตะวันตกออกมาตรการเล่นงานรัสเซีย ก็จะเกิดปัญหาใหม่สะท้อนกลับยุ่งอีรุงตุงนังเป็นลิงแก้แห ให้ชาวยุโรปทั้งทวีปต้องป่วนเดือดร้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนรัสเซียก็ยิ่งมีรายได้มากขึ้น เศรษฐเติบโตขึ้น เงินรูเบิลแข็งค่าขึ้นมา 23% เมื่อเทียบกับดอลลาร์