สันติภาพในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิคอาจไม่เหมือนเดิม เมื่อสหรัฐโหมกระพือความขัดแย้ง ระดมพรรคพวกตั้งแง่ต้านจีนอย่างเอาการเอางาน จีนวิพากษ์วิจารณ์บทบาทของสหรัฐฯ ที่ทำให้ปัญหาความมั่นคงในภูมิภาคมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เมื่อ เมกาผลักดันญี่ปุ่นให้เข้ากลุ่ม ออคัส(AUKUS) หลังจากสมาชิกกลุ่มควอดอย่างอินเดียมีท่าทีออกห่างไม่ตามก้นเมกา
ด้านจีนวิเคราะห์ว่า ญี่ปุ่นจะเข้าร่วมไม่นานนี้แน่นอน นอกจากนี้สหรัฐกำลังเปลี่ยนออสเตรเลียเป็น ‘ฐานทัพหน้า’ ต่อต้านจีนด้วยการวางเครื่องบินทิ้งระเบิด B-52 ที่กระตุ้นให้เกิดการแข่งขันอาวุธนิวเคลียร์เพิ่มขึ้นในภูมิภาค ก่อนหน้านี้ก็นำเครื่องบินติดขีปนาวุธมาประจำการในฐานทัพญี่ปุ่นเพิ่ม อ้างเตรียมซ้อมรบใหญ่ ทั้งได้ส่ง B-52 จำนวน ๔ ลำไปประจำการยังเกาะกวมล่วงหน้าในเดือนก.พ.ที่ผ่านมาแล้ว
วันที่ ๑ พ.ย.๒๕๖๕ สำนักข่าวโกลบัลไทมส์รายงานว่า สหรัฐฯ เตรียมส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดพลังนิวเคลียร์ B-52 จำนวน ๖ ลำไปยังฐานทัพออสเตรเลีย รายงานโดยสื่อออสซี่ เป็นความเคลื่อนไหวครั้งล่าสุดเพื่อกระชับความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงต่อต้านจีน
แผนการสำหรับ “ศูนย์ปฏิบัติการฝูงบิน” ซึ่งจะรวมถึงพื้นที่จอดรถสำหรับเครื่องบินและศูนย์ซ่อมบำรุงยังไม่เป็นที่เปิดเผยรายละเอียดอย่างเป็นทางการ
ออสเตรเลียและสหรัฐฯ ได้กระชับความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงที่มีมายาวนานในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ท่ามกลางการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นระหว่างวอชิงตันและปักกิ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เดือนก.ย.๒๕๖๔ ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกาได้ประกาศข้อตกลงด้านความปลอดภัยฉบับใหม่ที่เรียกว่าออคัส (AUKUS) มีข้อกำหนดให้ออสเตรเลียสามารถจัดหากองเรือดำน้ำนิวเคลียร์ภายในปี ๒๐๔๐ ลงนามสัญญาซื้อจากอังกฤษ
กองบินรบ บี-๕๒ สตราโตฟอร์เทรส (B-52 Stratofortress) เป็นแกนหลักของยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศของสหรัฐฯ โดยเข้าร่วมกับกองทัพอเมริกันในช่วงสงครามเย็น และคาดว่าจะใช้งานได้จนถึงอย่างน้อยปี ๒๐๕๐
จ้าว ลี่เจี้ยนโฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน กล่าวในการแถลงข่าวประจำวันในกรุงปักกิ่งว่า “การเคลื่อนไหวของสหรัฐฯ ยกระดับความตึงเครียดในภูมิภาค บ่อนทำลายสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคอย่างรุนแรง และอาจทำให้เกิดการแข่งขันด้านอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาค”
ท่ามกลางความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นกับจีน นอร์เทิร์นเทร์ริทอรีของออสเตรเลียได้กลายเป็นศูนย์กลางการป้องกันที่สำคัญสำหรับสหรัฐฯ ซึ่งมุ่งมั่นที่จะใช้เงินมากกว่า ๑ พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อยกระดับทรัพย์สินทางการทหารทั่วทั้งพื้นที่ นอกจากพื้นที่จอดรถสำหรับเครื่องบิน B-52 แล้ว สหรัฐฯ ยังวางแผนที่จะขยายฐานทัพไพน์แก็พ (Pine Gap) ซึ่งเป็นฐานข่าวกรองร่วมของสหรัฐฯ และออสเตรเลียใกล้กับเมืองอลิซ สปริงส์ (Alice Springs) เพื่อสอดแนมปักกิ่ง ยิ่งไปกว่านั้น วอชิงตันต้องการจัดตั้งกองเรือดำน้ำของกองทัพเรือสหรัฐฯ ร่วมกับออสเตรเลียโดยการขายเรือดำน้ำที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ให้กับแคนเบอร์ราผ่านข้อตกลงร่วมกับอังกฤษ
จีนวิเคราะห์ว่า หากออสเตรเลียเดินหน้าต่อไปในทางที่ผิด มันจะจบลงด้วยการทำร้ายตัวเองเพื่อประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้ง B-52 หรือการยั่วยุในรูปแบบอื่น แคนเบอร์รากำลังมองหาวิธีแก้ปัญหาชั่วคราวของตนโดยไม่คำนึงถึงผลที่ตามมาที่อาจหมายถึงภัยพิบัติและความล้มเหลวมากขึ้นทั้งทางเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
หันมาดูอีกหนึ่งประเทศที่สหรัฐฯให้ความเอาใจใส่ในการผลักดันต้านจีนอย่างเป็นระบบ ญี่ปุ่นกำลังถูกเชิญเข้าร่วมกลุ่มออคัส ซึ่งในช่วงการมาเยือนญี่ปุ่นของปธน.ไบเดนได้กล่าวถึงมาแล้ว ล่าสุดสื่อตะวันตกพากันเชียร์ให้ญี่ปุ่นเข้าร่วมอย่างจริงจัง แล้วเปลี่ยนชื่อจาก ออกคัส เป็น จอคัส (๋JAUKUS)
นิตยสาร Foreign Affairs ได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง “Why Japan Belongs in AUKUS” โดย Michael Auslin นักวิจัยจากสถาบันฮูเวอร์ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด บทความดังกล่าวเรียกร้องให้มีการขยาย AUKUS เข้าสู่ JAUKUS โดยนำญี่ปุ่นเข้าสู่กลุ่ม โดยเน้นว่า “ท่ามกลางความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นกับจีน” การใช้จ่ายด้านการป้องกันประเทศที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดของโตเกียวเป็น “เครื่องเตือนใจว่านโยบายและความทะเยอทะยานด้านเทคโนโลยีและความมั่นคงของญี่ปุ่นมีความสอดคล้องกันมากขึ้น กับสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และออสเตรเลียซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มออคัส
หยาง ซีหยู (Yang Xiyu, a senior research fellow at the China Institute of International Studies นักวิจัยอาวุโสของสถาบันการศึกษานานาชาติแห่งประเทศจีน และซ่ง จงผิง (Song) ผู้เชี่ยวชาญด้านการทหารของจีน แสดงความเห็นตรงกันว่า เป็นที่คาดการณ์ว่าญี่ปุ่นจะเข้าร่วมพันธมิตรออคัสไม่ช้าก็เร็ว
หยางตั้งข้อสังเกตว่า ความตึงเครียดกับปักกิ่งหรือสิ่งที่เรียกว่าภัยคุกคามจากจีนเป็นเพียงข้ออ้าง การใช้จ่ายด้านการป้องกันประเทศของโตเกียวเพิ่มขึ้นหรือความเต็มใจที่จะเข้าร่วมกลุ่มทหารต้านจีน ก็เพราะต้องการเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นรัฐที่มีอำนาจทางการทหาร ฟื้นกองทัพแห่งอาทิตย์อุทัยอีกครั้ง
ซ่ง จงผิงกล่าวว่า “วันนี้ ญี่ปุ่นดูเหมือนจะกลายเป็นสังคมที่เอนเอียงไปทางขวา และถือว่าจีนเป็นศัตรูในจินตนาการที่ใหญ่ที่สุด โดยเข้าไปแทรกแซงคำถามของจีนในกรณีไต้หวัน และปัญหาทะเลจีนใต้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า โตเกียวตระหนักดีว่าเป็นเรื่องยากที่จะเอาเปรียบจีนด้วยตัวเอง จึงต้องพึ่งพาสหรัฐฯ และสมาชิกคนอื่น ๆ ของกลุ่มออคัส เพื่อสร้างพันธมิตรทางทหารในแบบพหุภาคี”
พายุแห่งความขัดแย้งและสงครามเชิงพื้นที่ กำลังตั้งเค้าคืบคลานมาสู่เอเชีย-แปซิฟิก อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง ต้องจับตาดูต่อไปว่า สหรัฐและพันธมิตรจะอาละวาดด้วยท่วงท่าแบบไหน และจีนจะเดินหมากรับมืออย่างไร แม้ว่าเศรษฐกิจในเอเชียมีแนวโน้มฟื้นตัว แต่เมื่อสหรัฐและพวกเข้ามากวนให้ปั่นป่วน ย่อมฉุดรั้งภูมิภาคนี้ให้จ่มดิ่งได้ไม่ต่างจากที่ยุโรปกำลังเผชิญ???