หลังจากที่เคยปรากฎเหตุการณ์ส.ส.สหรัฐฯ ทีมงานไบเดน อยากประท้วงจบศึกยูเครน ก็ทำให้เกิดความโกลาหลในทำเนียบขาว เพราะบรรดาส.ส. ที่เหลือ ยังมีอีกจำนวนมากที่อยากให้สงครามยังดำเนินต่อไป จนแผนเปิดทางเจรจาล่มมาแล้วหลายครั้ง ล่าสุดมีรายงานโฆษกรัฐบาลรัสเซีย เปิดเผยว่า มีความเป็นไปได้การเจรจากันระหว่างประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย และโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ขึ้นอยู่กับว่าวอชิงตันมีความตั้งใจยอมรับฟังความกังวลของมอสโกต่อปัญหาความมั่นคงหรือไม่
ระหว่างให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศ์รอสซิยา-1 ทาง ดมิทรี เปสคอฟ เลขานุการฝ่ายสื่อสารมวลชนของวังเครมลิน ระบุว่า การคืนสู่การเจรจาระดับสูงนั้นมีความเป็นไปได้ หากว่า “สหรัฐฯ ใส่ใจความกังวลของเรา”
“มันสุดแล้วแต่สหรัฐฯ ว่าจะปรารถนาคืนสู่สถานะสิ่งต่าง ๆ เหมือนช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคมหรือไม่ และประเด็นคือ สิ่งที่รัสเซียเสนออาจเหมาะกับพวกเราทุกคน แต่กระนั้น บางทีเราก็อาจนั่งร่วมวงกับพวกเขาบนโต๊ะเจรจาก็เป็นได้”
โฆษกรายนี้อธิบายต่อว่า สิ่งที่เขาอ้างถึงก็คือร่างเอกสารขอคำรับประกันด้านความมั่นคง ซึ่งทางมอสโกยื่นกับทั้งอียูและวอชิงตัน ก่อนหน้าความขัดแย้งยูเครนปะทะขึ้นในช่วงปลายดือนกุมภาพันธ์
เมื่อช่วงกลางเดือนธันวาคมปีก่อน กระทรวงการต่างประเทศรัสเซียเผยแพร่ร่างสนธิสัญญา 2 ฉบับ ฉบับหนึ่งกับสหรัฐฯ และอีกฉบับกับนาโต้ ซึ่งในนั้นประกอบด้วยข้อเรียกร้องด้านความมั่นคงต่าง ๆ ของรัสเซีย ในความพยายามลดความตึงเครียดในยุโรป
ในช่วงเวลาดังกล่าว รัสเซียต้องการให้ตะวันตกแบนยูเครนจากการเข้าร่วมนาโต้ และจำกัดการประจำการทหารและอาวุธทางปีกตะวันออกของนาโต้ พร้อมยืนกรานว่าพันธมิตรทหารแห่งนี้ต้องถอนออกห่างจากชายแดนของพวกเขากลับไปดังเช่นปี 1997 หรือช่วงก่อนหน้าที่นาโต้จะขยายขอบเขตทางมาทิศตะวันออก ทั้งสหรัฐฯ และนาโต้ต่างไม่ได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรตอบกลับข้อเสนอของรัสเซีย แต่ทั้งสองปฏิเสธข้อเรียกร้องของมอสโกที่ต้องการแบนยูเครนจากการเข้าร่วมกลุ่มพันธมิตรทหาร
ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงต้นเดือน ปูตินบอกว่าเขาไม่เห็นถึงความจำเป็นในการเจรจากับประธานาธิบดีสหรัฐฯ และอธิบายว่ายังไม่มีเวทีสำหรับการเจรจาใด ๆ ต่อมา ทางทำเนียบขาวได้แถลงออกมาในทิศทางเดียวกัน โดยเน้นว่า ไบเดน ไม่มีแผนพบปะกับผู้นำรัสเซีย ณ ที่ประชุมจี 20 ในเดือนหน้า แม้ที่ผ่านมาไม่เคยปฏิเสธถึงความเป็นไปได้เลยเสียทีเดียว
ครั้งสุดท้ายที่ผู้นำทั้ง 2 พบปะแบบเจอหน้ากัน ต้องย้อนกลับไปในเดือนมิถุนายน 2021 ในเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ การพูดคุยดังกล่าวตามมาด้วยการประชุมซัมมิตทางไกลในเดือนธันวาคม ซึ่งคราวนั้นเรื่องเกี่ยวกับยูเครนเป็นหนึ่งในหัวข้อการสนทนาด้วย
อย่างไรก็ตาม ประเด็นการเจรจาตอนนี้ ดูเหมือนว่าทั่วโลกจะกดดันไปยังสหรัฐฯมากขึ้น ที่ไม่สนใจเรื่องเจรจา และยังเดินหน้าให้งบยูเครนอีกรอบ ตามมาด้วยการซุ่มเตรียมกระบวนการบางอย่าง ในการซ้อมรบนิวเคลียร์ นอกจากจะมองไม่เห็นทางที่สหรัฐฯอยากจบศึกแล้ว ยังมีชนวนเหตุหลายปัจจัยที่สงครามจะยกระดับกลายเป็นสงครามนิวเคลียร์ ตามมาด้วยสงครามโลกครั้งที่ 3 ที่หลาย ๆ ฝ่ายไม่คาดคิดได้เช่นกัน