นาโต้แตกเละ!? ฝรั่งเศส-เยอรมนีจับมือตอบโต้เมกา บีบย้ายฐานพลังงานแต่ภายในร้าวลึก รับใช้วอชิงตันพากันล่มจม

0

ข่าวสะพัดว่าผู้นำฝรั่งเศสและเยอรมนีเห็นด้วยกันที่จะทำการตอบโต้แผนพลังงานของสหรัฐฯ มีรายงานว่าทั้งชอลซ์ (Scholz) และมาครง (Macron) ถือว่าแผนจูงใจของ วอชิงตัน สำหรับนักลงทุนต่างชาติเพื่อบีบย้ายฐานพลังงานไปสหรัฐฯเป็นการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ขณะเดียวกันความเป็นหนึ่งเดียวกันของทั้งสองประเทศก็ไม่เหมือนเดิมทั้งนโยบายแก้ปัญหาพลังงาน การค้าและการทหารต่างกันทุกเรื่อง

ท่ามกลางการผลักดันของสหรัฐให้นาโต้และสหภาพยุโรปเป็นด่านหน้ารุมรัสเซียจนเศรษฐกิจยุโรปส่อจะล่มสลาย แกนนำนาโต้คนสำคัญอย่างเยอรมันและฝรั่งเศสยังไม่รู้สำนึก ยังคงมุ่งหน้าแข่งขันผลักดันสงครามตามวอชิงตันไม่เลิก

วันที่ ๓๐ ต.ค.๒๕๖๕ สำนักข่าวรัสเซียทูเดย์รายงานว่า ผู้นำของเยอรมนีและฝรั่งเศสบรรลุข้อตกลงร่วมกันว่า สหภาพยุโรปจะต้องตอบโต้สหรัฐฯ หากดำเนินการลดภาษีตามแผนและผลประโยชน์ด้านพลังงาน โดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมบริษัทต่างๆ ให้ย้ายการผลิตไปในสหรัฐฯ

เว็บไซต์ข่าวโพลิติโก (Politico) อ้างเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาว่า นายกรัฐมนตรี โอลาฟ ชอลซ์(Olaf Scholz) แห่งเยอรมนี และปธน.เอมมานูเอล มาครง  (Emmanuel Macron) ต่างกังวลเกี่ยวกับกฎหมายลดเงินเฟ้อของทำเนียบขาว ซึ่งพวกเขา มองว่า เป็น “ผู้ปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์เฉพาะสหรัฐอเมริกา”

มีรายงานว่ามีการอภิปรายเรื่องนี้ในมื้อกลางวันของพวกเขาในปารีสเมื่อวันก่อน แหล่งข่าวระบุว่าผู้นำทั้งสองเห็นพ้องต้องกันว่าแผนเงินอุดหนุนของสหรัฐฯ จะเป็นการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม และไม่ควรยอมรับ

Politico ตั้งข้อสังเกตว่าข้อตกลงของพวกเขาเกิดขึ้นแม้จะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันระหว่างผู้นำทั้งสองในประเด็นสำคัญอื่น ๆ เช่นพลังงานและการป้องกันประเทศ ในการต่อต้านแผนของวอชิงตัน มีรายงานว่าปารีสและเบอร์ลินตกลงที่จะเสนอแผนจูงใจสำหรับธุรกิจในสหภาพยุโรปที่คล้ายคลึงกันดักหน้า

หากดำเนินการ มาตรการดังกล่าวอาจเสี่ยงที่จะจุดชนวนให้เกิดสงครามการค้าระหว่างกลุ่มยุโรปและสหรัฐฯซึ่งคงเป็นไปได้ยาก

การปรากฏตัวในช่องทีวีฝรั่งเศส ในคืนวันพุธที่ผ่านมามาครง เรียกร้องให้สหภาพยุโรปออกกฎหมายเหมือนชาวอเมริกัน และควรสำรองเงินอุดหนุนของเราสำหรับผู้ผลิตในยุโรปด้วย ”

มาครงเปิดเผยว่า “ชอลซ์กับฉัน มีความเห็นตรงกันอย่างแท้จริงเพื่อก้าวไปข้างหน้าในหัวข้อนี้ เรามีการสนทนาแลกเปลี่ยนที่ดีมาก”

อย่างไรก็ตาม มหาอำนาจทั้งสองแห่งยุโรปยังไม่มีแผนที่จะเข้าสู่โหมดเผชิญหน้า กับสหรัฐ และต้องการประนีประนอมที่โต๊ะเจรจา

ปรากฎการณ์ไม่ความไม่พอใจของสมาชิกนาโต้คนสำคัญ เกิดขึ้นเพราะสหรัฐได้ออกกฎหมาย ‘EU-US Taskforce on the Inflation Reduction Act’ ที่สหรัฐฯร่างขึ้นเมื่อวันอังคารสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างการประชุมประธานคณะกรรมาธิการยุโรป เออร์ซูลา ฟอนเดอร์ เลเยน(Ursula von der Leyen) และรองที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯไมค์ ไพล์ (Mike Pyle) เป็นเจ้าภาพ

นอกจากนี้ การประชุมอย่างไม่เป็นทางการของรัฐมนตรีการค้าของสหภาพยุโรปจะจัดขึ้นที่กรุงปรากในวันจันทร์หน้า โดยมี แคทเธอรีน ไต(Katherine Tai) ทูตการค้าของสหรัฐฯ เข้าร่วมงานนี้ด้วยก็จะพูดถึงประเด็นนี้อีกเช่นกัน คาดว่าจะเฉ่งกันแหลก

ความจริงยุโรปกำลังเผชิญหน้าวิกฤติซ้อนวิกฤติรอบด้าน ทั้งปัญหาพลังงาน เงินเฟ้อค่าครองชีพกระฉูด ด้านเยอรมนีประกาศมาตรการป้องกันอุตสาหกรรมและผู้บริโภค จากราคาพลังงานที่พุ่งสูง เป็นวงเงิน ๒ แสนล้านยูโร ประมาณ ๗.๖ ล้านล้านบาท แต่การไม่ได้ปรึกษาหารือล่วงหน้ากับรัฐบาลฝรั่งเศส ส่งผลให้ผู้นำฝรั่งเศสไม่พอใจ

ปัญหาที่ขัดแย้งกันระหว่างฝรั่งเศสและเยอรมนี สองประเทศสมาชิกร่ำรวยที่สุด และมีอิทธิพลมากที่สุดของสหภาพยุโรป (อียู) กำลังเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ตั้งแต่เรื่องยุทธศาสตร์การป้องกัน ไปจนถึงการตอบสนองต่อวิกฤติพลังงาน, ความสัมพันธ์กับจีน หรือแม้แต่นโยบายการคลัง

นอกเหนือจากเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นเหมือนหายนะของนักการทูตฝรั่งเศสและเยอรมนีมานานหลายปี ความขัดแย้งด้านบุคลิกภาพ, การแข่งขันเพื่อความเป็นผู้นำของยุโรป และความแตกต่างเชิงกลยุทธ์ในวงกว้าง กลับเผยออกมาให้เห็นอย่างชัดเจนในช่วงวิกฤตินี้ แม้ว่าทั้งสองประเทศจะพยายามรักษาความสามัคคีไว้เป็นฉากหน้าอยู่ก็ตาม ภาพรอยยิ้มที่ทั้งสองจับมือกันเตรียมโต้กลับนโยบายกฎหมายแก้เงินเฟ้อของสหรัฐฯจึงอาจทำแบบผิวเผิน

สำหรับมาครง เขารู้สึกว่ามันเป็นเรื่องน่าอึดอัดใจที่นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ ผู้นำเยอรมนี ไม่ให้เวลาส่วนตัวกับเขา รวมถึงความยากลำบากในการพบหน้ากัน ซึ่งต่างจากสมัยของนางอังเกลา แมร์เคิล อดีตนายกรัฐมนตรีของเยอรมนีที่ยกหูหากันได้ตลอดเวลา

หลังจากมาครงเตือนเยอรมนีเกี่ยวกับความเสี่ยงของการพึ่งพาก๊าซของรัสเซียมากเกินไปกลายเป็นเรื่องเปล่าประโยชน์ ทำให้เขารู้สึกคับข้องใจกับการผลักดันของเขาให้ยุโรปพึ่งตนเอง ตั้งแต่เรื่องพลังงาน ไปจนถึงการป้องกันประเทศ และการค้าขาย

นอกจากนั้น การตัดสินใจของชอลซ์ที่อนุญาตให้บริษัทจีนซื้อหุ้นในท่าเรือขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ แม้เบอร์ลินจะชี้แจงว่า เป็นนโยบายการค้าขายแบบมองการณ์ใกล้ต่อจีน กลับสร้างความงุนงงให้กับรัฐบาลปารีส เพราะมาครงเห็นด้วยกับสหรัฐในการลดอิทธิพลรัสเซียและจีนในยุโรปอย่างจริงจัง!!