เด็กหนุ่มวัย 15 ชนเผ่าลึกสุดในอเมซอน ดับเพราะ โควิด-19 แม้ตัดขาดโลกภายนอก วิตกไวรัสล้างกลุ่มชาติพันธุ์

0
เด็กหนุ่มชนเผ่ายาโนมามิ วัย 15 ปี เสียชีวิตด้วยโรค COVID-19

ผวาเด็กหนุ่มวัย 15 ชนเผ่าชนเผ่ายาโนมามิลึกสุดในอเมซอน เสียชีวิตเพราะติดเชื้อโควิด-19 หลังคนงานเหมืองที่เข้าไปรุกราน แม้ตัดขาดโลกภายนอก วิตกไวรัสล้างกลุ่มชาติพันธุ์

วันที่ 10 เมษายน 2563 สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น รายงานว่า เด็กหนุ่มวัย 15 ปี หนึ่งในสมาชิกชนเผ่ายาโนมามิ (Yanomami Tribe) ชนเผ่าห่างไกลในป่าอเมซอน เสียชีวิตด้วยโรค โควิด-19 โดยข่าวดังกล่าวได้สร้างกระแสวิตกกังวลอย่างยิ่ง กลัวว่ากลุ่มชาติพันธุ์หายาก จะถูกคร่าชีวิตด้วยโคโรนาไวรัสจนหมดสิ้น

เด็กหนุ่มเผ่ายาโนมามิ ดังกล่าว อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเรเฮบี ติดกับแม่น้ำอูรารีโคเอรา ในพื้นที่รัฐโรไรมา ทางตอนเหนือของประเทศบราซิล เขาเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลโรไรมา เจเนอรัล ในเมืองโบอา วิสตา หลังจากตรวจพบว่าติดเชื้อโคโรนาไวรัส อาการของเขาทรุดหนักลง จนต้องเข้าห้องไอซียู และเสียชีวิตในเวลาต่อมา แต่ทางโรงพยาบาลปิดบังไม่ยอมเปิดเผยสาเหตุการเสียชีวิตของเขา ว่าเกิดจากอะไร

Yanomami

จนกระทั่งในวันที่ 8 เมษายน กระทรวงสาธารณสุขบราซิล ได้แถลงการณ์ยืนยันว่า เด็กหนุ่มเผ่ายาโนมามิ เสียชีวิตด้วยโรคโควิด 19 ซึ่งสร้างความกังวลให้กับรัฐบาลเป็นอย่างยิ่ง เกรงว่าสมาชิกคนอื่น ๆ ในชนเผ่าจะติดเชื้อไปด้วย

ข้อมูลจาก Survival International องค์กรระหว่างประเทศเพื่อการปกป้องสิทธิมนุษยชนของกลุ่มชนพื้นเมือง ระบุว่า ชนเผ่ายาโนมามิ เป็นชนเผ่าขนาดใหญ่ที่สุดในอเมริกาใต้ที่แยกตัวโดดเดี่ยวจากโลกภายนอก ปัจจุบันมีประชากรประมาณ 38,000 คน อาศัยกระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ป่าแอมะซอน และบนภูเขาห่างไกล บริเวณตอนเหนือของบราซิล และทางตอนล่างของเวเนซุเอลา

วิถีชีวิตคนป่า ป่าแอมะซอน กับการเก็บตัวไม่เปิดเผยต่อสังคม

ในปัจจุบัน บราซิลมีชาวชนพื้นเมืองราว 800,000 คน จากกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 300 กลุ่ม เป็นชนพื้นเมืองยาโนมามิราว 27,000 คน ที่เป็นที่รู้จักจากการทาสีใบหน้าและการใช้ซี่ไม้เจาะจมูกและใต้ริมฝีปาก

ชาวชนพื้นเมืองในป่าดิบชื้นอเมซอนมีความเสี่ยงต่อการติดโรคภัยไข้เจ็บจากภายนอกอย่างมาก เนื่องด้วยวิถีชีวิตตามประวัติศาสตร์ที่ตัดขาดจากโลกภายนอกจนถึงกลางศตวรรษที่ 20 ไม่เหมือนกับคนส่วนใหญ่ของโลกที่มีภูมิคุ้มกัน

ชนเผ่ายาโนมามิเป็นหนึ่งในกลุ่มชนพื้นเมืองที่อยู่ในสถานะเปราะบางที่สุด และควรได้รับการปกป้องคุ้มครองอย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะขณะนี้ชีวิตของพวกเขากำลังอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ด้วยโรค โควิด-19

อ้างอิงจาก  New StraitsTimes