ขณะที่ฝั่งยุโรปมีสมรภูมิยูเครนดึงความสนใจของโลกด้วยใจระทึก หวาดเสียวสงครามนิวเคลียร์กันทุกวัน ในตะวันออกกลางก็มีความเคลื่อนไหวหลายระดับทั้งการเมือง เศรษฐกิจและการทหาร ล่าสุดอิรักประกาศ จับมือกับรัสเซียทำโครงการแรกร่วมกับบริษัทน้ำมันลุคออยล์(Lukoil) ที่แหล่งเอริดูในอิรัก (Eridu) ทำเอาสหรัฐอยู่ไม่เป็นสุข เพราะใช้อิรักเป็นทางผ่านและเก็บน้ำมันที่ปล้นมาจากซีเรีย ถ้ารัสเซียเข้ามาอยู่ในพื้นที่ใกล้จมูกแบบนี้อาจสร้างความยากลำบากกับเมกาได้
วันที่ ๒๔ ต.ค.๒๕๖๕ สำนักข่าวอิรักนิวส์และอินเทลรีพับบลิก รายงานว่า อิชสาน อับเดล แจเบอร์(Ihsan Abdel Jaber) รัฐมนตรีน้ำมันอิรักเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการพัฒนาร่วมกันระหว่างอิรักและรัสเซีย เป็นการร่วมมือกับบริษัท Lukoil แห่งแหล่งน้ำมันเอริดู (Eridu) ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ
เนื้อหาระบุไว้ในแถลงการณ์ของแผนกหลังจากการประชุมหัวหน้ากับคณะผู้แทน Lukoil ในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา นำโดยสเตฟาน เกอร์เชีย(Stepan Gurzhiy)รองประธานบริษัทสำหรับเอเชียกลาง ตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ
“รัฐมนตรีตั้งข้อสังเกตว่าจำเป็นต้องเริ่มพัฒนาพื้นที่ Eridu โดยเร็วที่สุด ซึ่งตั้งอยู่ในอาณาเขตของ บล็อก ๑๐ ที่ชายแดนระหว่างจังหวัด มูทันนา(Muthanna) และ ดิการ์(Di-Qar) ของอิรัก
“กระทรวงกำลังรอการอนุมัติจากรัฐบาล ในโครงการเพื่อพัฒนาพื้นที่นี้ร่วมกันระหว่าวบริษัทลุคออยล์แห่งรัสเซีย และ กระทรวงน้ำมันของอิรัก การดำเนินงานของเอริดู (Eridu) จะเริ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้”
จาเบอร์เน้นว่าเขา “ซาบซึ้งอย่างยิ่งในความร่วมมือของลุคออยล์ กับฝ่ายอิรัก” และยังเรียกร้องให้มีการพัฒนาพื้นที่อื่นๆ ของอิรักต่อไป เช่นโครงการเวสต์ เกอร์นา-๒ (West Qurna-2) เนื่องจาก “การพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานเป็นชี้วัดทางเศรษฐกิจในพื้นที่ และเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย”
ลุคออยล์ กำลังดำเนินโครงการหลายโครงการในอิรัก รวมถึงเวสต์ เกอร์นา-๒ ที่ตั้งอยู่ทางใต้ของอิรัก ห่างจากเมืองท่าขนาดใหญ่บาสรา(Basra) ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ๖๕ กม. และเป็นหนึ่งในแหล่งกักเก็บน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในโลก บล็อก ๑๐ ตั้งอยู่ในอาณาเขตของจังหวัดดีการ์ และ มูทันนา ห่างจากเมืองท่าบาสรา ไปทางตะวันตก ๑๒๐ กม. ใกล้แหล่งน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในอิรักเช่นกัน
ในขณะที่อิรักดิ้นรนทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ การเมืองภายในยังไม่สงบราบรื่นเท่าใดนัก
อิรักประสบภาวะทางตันทางการเมืองมานานนับปี หลังจัดการเลือกตั้งล่วงหน้าไปเมื่อวันที่ ๑๐ ต.ค.๒๕๖๔ ซึ่งมอกตาดา อัล ซาดร์ (Moqtada al-Sadr )ผู้นำชิอะห์ได้รับเสียงข้างมากถึง ๗๓ ที่นั่ง และให้คำมั่นว่าจะจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับกลุ่มการเมืองสุหนี่และเคิร์ด แต่เมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา แต่ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบลได้เขาถูกต่อต้านอย่างหนักจนต้องนำ ส.ส.ในสังกัดลาออกทั้งหมด ส่งผลให้พรรคประสานงาน หรือ Coordination Framework กลายเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดในสภาผู้แทนราษฎรควบคุม ๑๓๘ ที่นั่งจากทั้งหมด ๓๒๙ ที่นั่งในสภานิติบัญญัติอิรัก
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ฝ่ายนิติบัญญัติเลือกอับดุล ลาติฟ ราชิดผู้นำเคิร์ดเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของอิรัก และเขาเสนอชื่อโมฮัมหมัด อัล-ซูดานี (Mohammad Shia al-Sudani) ซึ่งเป็นผู้นำฝ่ายชิอะห์เป็นนายกรัฐมนตรีอย่างรวดเร็ว เพื่อพยายามยุติปัญหาทางการเมือง แต่การเคลื่อนไหวของผู้นำมอกตาดา อัล ซาดร์ กลับปฏิเสธที่จะเข้าร่วมรัฐบาลใหม่ที่จัดตั้งขึ้นโดยนายกรัฐมนตรี อัล-ซูดานี
ราชิด วัย ๗๘ ปี เคยดำรงตำแหน่งรมว.บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ระหว่างปี ๒๕๔๖-๒๕๕๓ และแน่นอนว่า ราชิดมีเชื้อสายเคิร์ด ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติทางการเมืองของอิรัก ที่ยกตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นของนักการเมืองชาวเคิร์ด “เพื่อความสมานฉันท์ระหว่างชาติพันธุ์”
อัล-ซูดานี อดีตรัฐมนตรีชีอะห์ วัย ๕๒ ปี ถือเป็นตัวแทนของกลุ่มพันธมิตรทางการเมืองที่นิยมอิหร่าน เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีมาแล้วหลายกระทรวง ทั้งแรงงาน มหาดไทย และสิทธิมนุษยชน
สถานการณ์ทางการเมืองสงบลงชั่วคราว แต่เดิมพันสูงทางเศรษฐกิจ สำหรับคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป ภายใต้รายได้มหาศาลถึง ๘๗,๐๐๐ ล้านดอลลาร์จากการส่งออกน้ำมันที่ยังถูกกักไว้ในกองทุนของธนาคารกลางอิรัก
จำนวนเงินมหาศาล สามารถช่วยสร้างโครงสร้างพื้นฐานขึ้นใหม่ฟื้นฟูอิรักซึ่งถูกทำลายจากสงคราม แต่จะสามารถนำไปลงทุนได้ต้องหลังจากที่สมาชิกสภานิติบัญญัติอนุมัติงบประมาณของรัฐ ตามที่รัฐบาลเสนอ จึงต้องเร่งจัดตั้งรัฐบาลให้ได้
อัล-ซูดานีให้สัญญาว่าจะผลักดัน “การปฏิรูปเศรษฐกิจ”ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และภาคเอกชนของอิรักให้โอกาสการจ้างงานและที่อยู่อาศัยแก่ชาวอิรัก
จับตาความตึงเครียดระหว่างสองค่ายการเมืองที่มีความเชื่อต่างกัน ชิอะห์และสุหนี่แม้แต่ชิอะห์ด้วยกันยังคงแตกแยก ไม่อาจประสานกันได้ แม้จะมีข่าวการผลักดันอุตสาหกรรมพลังงานกับรัสเซีย แต่ก็กระทบกับผลประโยชน์สหรัฐโดยตรง ไม่แน่ว่าจะสามารถฟื้นฟูประเทศให้กลับมายิ่งใหญ่ได้โดยง่าย???