จีน-รัสเซียรุดหน้าไม่หยุด! ปล่อยดาวเทียมแทบทุกวัน ตั้งเป้า 600 ดวงครองอวกาศ แซงหน้าสหรัฐฯ-นาซ่า

0

จีน-รัสเซียรุดหน้าไม่หยุด! ปล่อยดาวเทียมแทบทุกวัน ตั้งเป้า 600 ดวงครองอวกาศ แซงหน้าสหรัฐฯ-นาซ่า

จากกรณีที่เมื่อวันที่16 ตุลาคม 2565 สำนักข่าว Tass News ได้รายงานว่า ดาวเทียม Kosmos-560 ที่ปล่อยขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของกระทรวงกลาโหมรัสเซียจาก Plesetsk Cosmodrome ในเขต Archangelsk โดยใช้ยานยิงเบา Angara-1.2 ได้เข้าสู่วงโคจรเป้าหมายเรียบร้อยแล้ว

ต่อมาทาง Blockdit World Update ได้โพสต์ข้อความถึงความคืบหน้าของภารกิจดังกล่าว โดยอ้างอิงจาก Sputnik news ระบุข้อความว่า

ในขณะที่องค์การอวกาศสหรัฐ (NASA) ยังล้มเหลวในการส่งยาน Artemis 1 ด้วยจรวด SLS ขึ้นสู่อวกาศ โดยอ้างว่าระบบเชื้อเพลิงรั่วไหลบ้าง อ้างพายุเข้าบ้าง จึงเลื่อนกำหนดส่งยานขึ้นสู่อวกาศมาแล้วหลายครั้ง และยังไม่แน่ชัดว่าจะมีกำหนดส่งครั้งใหม่เมื่อใด และมีเหตุอะไรมาอ้างอีก

เดือน เม.ย.ที่ผ่านมา สหพันธรัฐรัสเซีย ได้อนุมัติโครงการอวกาศ “Sphere” สำหรับการสร้างระบบดาวเทียมอเนกประสงค์ โดยองค์การอวกาศรัสเซีย (Roscosmos) มีแผนที่จะส่งยานอวกาศขนาดเล็กกว่า 600 ดวงขึ้นสู่อวกาศ ทั้งหมดใช้สำหรับการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์และการสื่อสารกับอุปกรณ์ จึงตั้งเป้าผลิตดาวเทียมใหม่ให้ได้วันละ 1 ดวง

วันที่ 23 ต.ค.2022 ที่ผ่านมาองค์การอวกาศรัสเซีย (Roscosmos) ได้ปล่อยดาวเทียม Skif-D ด้วยจรวด Soyuz-2.1b จาก Plesetsk cosmodrome ทางใต้กรุงมอสโก ขึ้นสู่วงโคจรในอวกาศอีกแล้ว เป็นดาวเทียมของกลุ่มดาวเทียมในโครงการอวกาศ Sphere มีจุดมุ่งหมายให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และการสังเกตการณ์โลกแบบเรียลไทม์ด้วยแสง ร่วมกับชุดดาวเทียม 3 ดวง Gonets-M

ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมเคลื่อนที่แบบวงโคจรต่ำของ Gonets ได้รับการออกแบบมาเพื่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลทั่วโลกบนอินเทอร์เน็ตจากทุกที่ในโลก และยังจัดระเบียบช่องทางการถ่ายทอดสัญญาณที่ปลอดภัย และสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศอวกาศแบบบูรณาการในช่วงปี 2030 ซึ่งรวมถึงโครงการอวกาศในด้านต่างๆ

ช่วงนี้จะพบว่าทั้งรัสเซีย – จีน ปล่อยดาวเทียมด้วยจรวดของตนเองขึ้นสู่อวกาศกันแทบทุกวัน ดูเหมือนเป็นเรื่องง่ายและราบรื่นมากสำหรับ 2 ชาตินี้ ไม่มีข้ออ้างเชื้อเพลิงรั่วไหล หรือ อ้างพายุเข้าใดๆ เพราะรัสเซียจะสร้างสถานีอวกาศเป็นของตรเองไม่ใช้ร่วมกับใคร คล้ายกับจีนตอนนี้ แล้วยุติโมดูลการควบคุมทิศทางและความสูงสถานีอวกาศนานาชาติ ISS อันจะทำให้ถูกบังคับให้ตกลงสู่พื้นโลก ทำให้เหลือจีนและรัสเซีย เท่านั้นที่จะมีสถานีอวกาศส่วนตัวเป็นของชาติตนเอง

เป็นฐานสำคัญในการตั้งสถานีวิจัยถาวร 2 ชาติในปี 2028 บนดวงจันทร์ขั้วใต้ที่มีแหล่งแร่ธาตุ Helium3 เป็นธาตุหายาก น้ำหนักเพียง 3 ช้อนโต๊ะ จะให้พลังงานเทียบเท่าถ่านหิน 5,000 ตัน มีมากมายพอให้มนุษย์ใช้เป็นพลังงานไปอีก 20,000 ปี ประหนึ่งเป็น “อ่าวเปอร์เซียระบบสุริยะ” และไม่มีสารกัมมันตภาพรังสีเหมือนแร่ยูเรเนียมที่ใช้ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ล่าสุดประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ได้ส่งสารแสดงความยินดีถึงคู่หูประธานาธิบดี สี จิ้นผิง แห่งจีน ที่เพิ่งได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน และผู้นำเป็นสมัยที่ 3 โดยระบุว่า “ยินดีที่จะสานต่อการเจรจาที่สร้างสรรค์ และการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนที่ครอบคลุมและปฏิสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ระหว่างรัฐของเรา”

ดูเหมือนความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีด้านอวกาศ ของหน่วยงานรัฐบาลองค์การอวกาศ จีน – รัสเซีย จะเดินรุดหน้าไม่หยุด แต่องค์การอวกาศสหรัฐ กลับมีปัญหารุมเร้า ข้อติดขัดในการปล่อยยานมากมาย จนหยุดนิ่ง และต้องว่าจ้างเอกชนบริษัท Space X ปล่อยยานอวกาศให้ แล้วเมื่อ 50 ปีที่แล้วที่ยังเป็นระบบอนาล็อก สหรัฐ ปล่อยยานอวกาศ Apollo มากถึง 6 รุ่น ใน 3 ปี อ้างว่าไปดวงจันทร์กระโดด ขับรถโรเวอร์เล่นจนพรุนมาแล้ว เทคโนโลยีปล่อยยานครั้งนั้นกลับไม่ถูกพัฒนาขึ้นมาใช้เอง จนต้องซื้อเครื่องยนต์ขับดันจรวดยานอวกาศรุ่น RD-180 ของรัสเซียไปใช้มาหลายสิบปีมากถึง 111 เครื่อง