สหภาพแรงงานฝรั่งเศสประกาศนัดหยุดงานครั้งใหญ่เริ่มสัปดาห์หน้า หัวใจสำคัญของความขัดแย้งคือความโกรธแค้นต่อวิกฤตค่าครองชีพและเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ไม่สอดคล้องกับค่าแรง โดยเฉพาะบริษัทน้ำมันยักษ์ที่พากันกวาดกำไรกระเป๋าตุงราคาหุ้นพุ่งในตลาดหลักทรัพย์ พากันแจกเงินปันผลอู้ฟู่แต่ไม่ขึ้นค่าแรง นั่นหมายถึงว่า คนรวยรวยขึ้นแต่คนระดับกลางและชาวบ้านร้านช่องลำบากกันแสนสาหัส สหภาพแรงงานจึงเรียกร้องให้คนงานมีส่วนแบ่งผลกำไรสูงของบริษัทน้ำมันด้วย ยืดเยื้อมาหลายสัปดาห์ ทางบริษัทน้ำมันไม่ยอมจนทางรัฐบาลเข้ามาแทรกแซง สั่งให้ขึ้นค่าแรง แต่ขอผลัดไปต้นปีหน้า สายแข็งไม่ตกลงจึงเดินหน้าถล่มรัฐบาลเต็มเหนี่ยว มีข่าวว่าองค์กรนักศึกษาและเยาวชนจะออกมาร่วมเดินประท้วงด้วย
วันที่ ๑๕ ต.ค.๒๕๖๕ สำนักข่าวสปุ๊ตนิกและฟรานซ์ทเว้นตี้โฟร์(France24) รายงานว่า สหภาพแรงงานชั้นนำของฝรั่งเศสจะนัดหยุดงานทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ ๑๘ ต.ค.เป็นต้นไป เรียกร้องค่าแรงที่สูงขึ้น และประท้วงรัฐบาลที่บังคับให้พนักงานภาคพลังงานต้องกลับไปทำงานอีกครั้ง สหภาพแรงงานกล่าวในแถลงการณ์ที่ออกอากาศโดยสถานีโทรทัศน์ Franceinfo เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาว่า
“เราเรียกร้องให้พนักงานแสดงให้เห็นถึงค่าแรงที่ควรจะสูงขึ้นตามกำไรของบริษัทน้ำมัน และการคุ้มครองสิทธิในการนัดหยุดงานของพนักงาน”
ตามคำแถลง แผนนัดหยุดงานเป็นการตอบสนองต่อการแทรกแซงของรัฐบาลในการเคลื่อนไหวทางสังคมของพนักงานภาคน้ำมันและการถอนสิทธิในการนัดหยุดงาน อ้างวิกฤตเศรษฐกิจและพลังงาน
กลุ่มบริษัท TotalEnergies ซึ่งรัฐบาลกดดันให้เจาจาและขึ้นค่าแรงตามข้อเรียกร้รองแถลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า บริษัทฯได้ลงนามในข้อตกลงเงินเดือนกับสหภาพแรงงานฝรั่งเศส ๒ แห่ง แต่สหภาพแรงงาน CGT ยุติการเจรจาและวอร์กเอ้าท์ ทั้งประกาศจะเดินหน้าประท้วงใหญ่ทั่วประเทศ ฝรั่งเศสยังคงเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนเชื้อเพลิง ซ้ำเติทด้วยการหยุดงานประท้วงภาครัฐในสัปดาห์หน้าอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง
การนัดหยุดงานจะจัดขึ้นตามการเรียกร้องของสมาพันธ์แรงงานทั่วไป, ฟอร์ซ โอวริแยร์, สหพันธ์ซินดิเคิลยูนินทร์ และสหภาพแรงงานโซลิแดร์ สหภาพการขนส่งของฝรั่งเศส รวมถึง SNCF ผู้ดำเนินการรถไฟแห่งชาติ และองค์กรเยาวชนจะเข้าร่วมด้วย
ก่อนหน้านี้ตั้งแต่วันที่ ๒๑ ก.ย.ที่ผ่านมา พนักงานของ ExxonMobil หยุดงานประท้วง พวกคนงานของ TotalEnergies บริษัท พลังงานของฝรั่งเศสเข้าร่วมประท้วงเมื่อวันที่ ๒๗ ก.ย.โดยสหภาพแรงงานประกาศการประท้วงเป็นเวลา ๓ วัน โดยเรียกร้องให้ขึ้นค่าแรง ๑๐% รวมทั้งจัดทำดัชนีค่าจ้างในปี ๒๐๒๒ เพื่อให้สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อที่ทำสถิติสูงสุดในปัจจุบัน การนัดหยุดงานทำให้ต้องลดปริมาณการผลิตน้ำมันของฝรั่งเศสลงกว่า ๖๐% เกิดการขาดแคลนเชื้อเพลิงที่ปั๊มน้ำมันทุกแห่งหนึ่งในสามทั่วประเทศ รัฐบาลได้บังคับส่งเจ้าหน้าที่ของโรงเก็บน้ำมันกลับมาทำงานในเมือง ดันเคิร์ก(Dunkirk) และในชุมชนพอร์ต เจอโรม เซอร์เซน (Port-Jerome-sur-Seine) ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส โดยขู่ว่าจะถูกไล่ออกโดยไม่ได้รับค่าชดเชย
สหภาพแรงงาน CGT เสนอขอขึ้นค่าแรงทันที ๑๐% เพื่อช่วยพนักงานที่ประสบปัญหาค่าครองชีพ และหลังจากที่ราคาพลังงานพุ่งสูงขึ้นนำไปสู่ผลกำไรมหาศาลกับบริษัทพลังงานยักษ์ทั้งของฝรั่งเศษ และอเมริกาที่ตั้งอยู่ในฝรั่งเศส นั่นทำให้บริษัทสามารถจ่ายเงินปันผลได้ประมาณ ๘ พันล้านยูโร และเงินพิเศษเพิ่มเติม เงินปันผลให้กับนักลงทุน เช่นเดียวกับบริษัทน้ำมันรายใหญ่อื่นๆ ผลกำไรของ TotalEnergies เพิ่มสูงขึ้นเมื่อราคาพลังงานสูงขึ้นหลังจากปฏิบัติการพิเศษทางทหารในยูเครนของรัสเซีย
รัฐมนตรีเศรษฐกิจ บรูโน เลอ แมร์ ได้เปลี่ยนน้ำเสียงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อวันพฤหัสบดี โดยกล่าวว่าบริษัท TotalEnergies มีภาระหน้าที่ในการขึ้นเงินเดือน ให้พนักงานจากผลการดำเนินงานของบริษัท”
แอ็คเนส แพนเนียร์-รูแนชเชอร์(Agnès Pannier-Runacher) รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของฝรั่งเศสกล่าวว่า “เป็นความต้องการโดยรวมของคนงานในการขอขึ้นเงินเดือน”

วิกฤตดังกล่าวสร้างความเสียหายให้กับรัฐบาลท่ามกลางการเข้าคิวยาวเหยียดและโกรธแค้นที่ปั๊มน้ำมัน และความกลัวว่าถังน้ำมันจะว่างเปล่าในหมู่คนงาน ซึ่งรวมถึงผู้ช่วยดูแลผู้สูงอายุ รถโดยสารและรถบรรทุกห้องเย็นเพื่อส่งอาหาร ตัวอย่างในภาคเหนือของฝรั่งเศสซึ่งได้รับผลกระทบขาดแคลนน้ำมัน การขนส่งเด็กไปโรงเรียนบางแห่งต้องหยุดชะงัก
เอลิซเบ็ทส์ บอร์น(Élisabeth’s Borne)สำนักงานของนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า “นี่คือภัยคุกคามทางเศรษฐกิจที่แท้จริง” พื้นที่ทางตอนเหนือของฝรั่งเศสส่วนใหญ่ ซึ่งต้องพึ่งพาน้ำมีนในการทำการเกษตร การประมง และอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก
สหภาพการค้า CGT ยืนยันว่าจะผลักดันให้ขยายเวลาการประท้วงไปยังภาคส่วนอื่น ๆทั่วประเทศ ดำเนินการประท้วงในวงกว้างเริ่มในวันอังคารสัปดาห์ที่จะถึงนี้ จนกว่ารัฐบาลจะทำตามคำเรียกร้องของประชาชน
ด้านผู้นำฝรั่งเศส ปธน.เอ็มมานูเอล มาครง ยังคงให้น้ำหนักกับบทบาทในต่างประเทศเป็นหลัก จะต้านทานกระแสโกรธแค้นจากประชาชนได้หรือไม่ ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงทั้งอังกฤษ เยอรมนีและอิตาลีกำลังประสบชะตากรรมเหมือนกัน จะยืนหยัดอยูได้หรือจะร่วงกันทั้งแผง ต้องรอดูยุโรปสปริงส์??