รุกทางยุทธศาสตร์!!ปูตินประชุมพันธมิตรCIS หารือ Summit รัสเซีย-เอเชียกลาง ลุยศก.ยูเรเซียนต้านเมกาแบนเพิ่ม

0

การประชุมสุดยอด CIS อย่างไม่เป็นทางการเกิดขึ้นในวันครบรอบ 70 ปีของประธานาธิบดีรัสเซียหลังจากรับคำอวยพรจากพันธมิตรที่ใกล้ชิดทั้งหลายและรับของขวัญหนักจาก ผู้นำเบลารุสที่มอบรถแทรกเตอร์รุ่นล่าสุด ที่บ่งบอกเป็นนัยว่าปูตินต้องทำงานหนักและเจ๋งให้เหมือนรถแทรกเตอร์คันนี้

ในขณะที่สงครามชี้ขาดชัยชนะในยูเครนกำลังเริ่มขึ้นอย่างดุเดือดในทางการทหาร ทางการเมืองก็ต้องรับของขวัญแรงๆจากฝั่งตะวันตก เช่นตะวันตกมอบรางวัลโนเบลให้กลุ่มต้านรัสเซียและเบลารุส ปธน.มาครงแห่งฝรั่งเศสประชุมกลุ่มการเมืองใหม่ที่พยายามช่วงชิงพันธมิตรรัสเซียในเอเชียกลางเข้าไปร่วมด้วย แต่ปูตินไม่สนใจเดินหน้าตามยุทธศาตร์สร้างโลกหลายขั้วอย่างไม่ย่อท้อ

ล่าสุดเชิญเพื่อนจากเอเชียกลางที่เป็นพันธมิตรก่อนการประชุมสุดยอดในสัปดาห์หน้าปรากฎว่าตอบรับมาคุยก่อน ๕ ประเทศ บ่งบอกความสัมพันธ์ยังแน่นปึ่ก

เอเชียกลางเป็นภูมิภาคที่เคยรวมอยู่กับดินแดนบางส่วนที่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรปที่เป็นอดีตสหภาพโซเวียต ต่อมาดินแดนต่างๆ  ของประเทศสหภาพโซเวียตทั้งในทวีปยุโรปและเอเชียกลางได้ประกาศแยกออกเป็นสาธารณรัฐอิสระเพื่อปกครองตนเอง   สาธารณรัฐในเอเชียกลางที่แยกตัวออกมาจากอดีตสหภาพโซเวียต มี ๘ ประเทศ  ได้แก่ คาซัคสถาน อุซเบกิสถาน คีร์กีซ เติร์กเมนิสถาน ทาจิกิสถาน จอร์เจีย อาร์เมเนีย และอาเซอร์ไบจาน  มีขนาดพื้นที่รวมกันประมาณ ๔.๒ ล้านตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ ๑๐  ของเนื้อที่ทวีปเอเชีย หรือร้อยละ ๑ ของพื้นผิวโลกทั้งหมด

วันที่ ๙ ต.ค.๒๕๖๕ สำนักข่าวทาซซ์รายงานว่า ปธน.วลาดิเมียร์ ปูตินแห่งรัสเซียและพันธมิตร CIS หารือเกี่ยวกับการเตรียมการสำหรับการประชุมสุดยอดรัสเซีย-เอเชียกลางที่กำลังจะจัดขึ้นสัปดาห์หน้า

สมาชิกกลุ่ม CIS ได้แก่คาซัคสถาน สาธารณรัฐคีร์กีซ ทาจิกิสถาน เติร์กเมนิสถาน และอุซเบกิสถาน 

ปูตินกล่าวว่า “หัวข้อสำหรับการอภิปรายคือการเตรียมการสำหรับการประชุมสุดยอดครั้งแรกในรูปแบบรัสเซีย-เอเชียกลาง ในเมืองอัสตานาในสัปดาห์หน้า” เขาดึงความสนใจไปที่ข้อเท็จจริงที่ว่า “การประชุมนี้จัดขึ้นในปีครบรอบ ๓๐ ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างรัสเซียกับทั้ง ๕ รัฐในเอเชียกลาง”

การประชุมสุดยอด CIS การประชุมว่าด้วยมาตรการสร้างปฏิสัมพันธ์และความเชื่อมั่นในเอเชีย (CICA) และการประชุมประมุขแห่งรัฐในรูปแบบรัสเซีย-เอเชียกลาง จะจัดขึ้นที่เมืองหลวงของคาซัคสถาน ในปี ๒๕๖๕ วันที่ ๑๒-๑๔ ตุลาคมที่จะถึงนี้

ปูตินกล่าวกับเพื่อนร่วมงานของเขาว่า “เรามีปัญหามากมาย เรารวมตัวกันแล้ว และได้เริ่มหารือกันบางส่วนแล้ว พวกเขาทั้งหมดเป็นที่สนใจอย่างมากสำหรับรัสเซียในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และในด้านกฎหมายระหว่างประเทศ ฉันมั่นใจ ว่าเราจะมีการประชุมที่ประสบผลสำเร็จอย่างแน่นอน”  เขากล่าวขอบคุณผู้นำ CIS ที่ตอบรับคำเชิญและมาที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กด้วย

ก่อนหน้านี้ ปธน.ได้เรียกประชุมทีมงานเศรษฐกิจ ผ่านวีดิโอลิงค์ ในวันที่ ๖ ต.ค.๒๕๖๕ หารือให้เตรียมมาตรการทางเศรษฐกิจเพื่อตอบโต้การคว่ำบาตรจากตะวันตก ซึ่งคาดว่าจะรุนแรงขึ้น

ผู้นำรัสเซียกล่าวว่า “โดยทั่วไป สถานการณ์ที่นี่มีเสถียรภาพ แต่สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่าแรงกดดันการคว่ำบาตรต่อรัสเซียจากตะวันตก มีแต่จะเพิ่มขึ้นเท่านั้น” “ในเรื่องนี้ จำเป็นต้องวางแผนการดำเนินการที่ยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพสำหรับทั้งระยะสั้นและระยะกลาง และนำไปปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ” 

เขาขอให้ทีมบริหารของรัฐบาลและธนาคารกลางรับรองการฟื้นตัวอย่างยั่งยืนของตัวชี้วัดเศรษฐกิจมหภาคของประเทศ

ภาคส่วนที่เน้นการส่งออกยังคงอยู่ภายใต้แรงกดดัน โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่กำหนดเป้าหมายไปยังประเทศในยุโรป และต้องใช้เวลาสำหรับผู้ส่งออกของรัสเซียในการเปลี่ยนไปใช้ตลาดอื่น เช่นเอเชีย หรืออาฟริกา เป็นต้น

ในขณะเดียวกัน ปูตินชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มเชิงบวกบางประการ เนื่องจากการผลิตภาคอุตสาหกรรมของประเทศได้กลับมาสู่ระดับปกติของปีที่แล้ว อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบแย่ที่สุดก่อนหน้านี้ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และโลหะวิทยา กำลังค่อยๆ ฟื้นตัว และเกษตรกรรมก็แสดงให้เห็นถึงพลวัตที่ดี 

ปูตินกล่าวว่าภาคเกษตรมีพลวัตที่ดี โดยเพิ่มขึ้น ๔.๖% ในเดือนมกราคม-สิงหาคม 

“การก่อสร้างยังขยายตัวขึ้น ปริมาณงานก่อสร้างเพิ่มขึ้น ๗.๔% ในเดือนสิงหาคมเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พลวัตของภาคการก่อสร้างที่ก้าวหน้าดังกล่าวควรนำมาซึ่งอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ทำให้พวกเขาได้รับแรงผลักดันพิเศษ”

เศรษฐกิจโลกติดอยู่ในเกลียวเงินเฟ้อ แต่รัสเซียได้รับผลกระทบจากการคว่ำบาตรจากนานาชาติน้อยกว่าที่สหรัฐและพันธมิตรคาดไว้ ในทางกลับกัน ประเทศในยุโรปกำลังประสบปัญหาเผชิญวิกฤตซ้อนวิกฤตเป็นผลจากการคว่ำบาตรรัสเซีย

การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของรัสเซียคาดว่าจะหดตัว ๖.๐% ในปี ๒๕๖๕ น้อยกว่ากองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ)ท่คาดการณ์ว่าการจะหดตัว ๘.๕% เรียกว่าตะว้นตกคว่ำรัสเซียไม่ลงอย่างที่หวัง!!