ยุโรปแตกเละ!! จีนเย้ยมาครงแยกวงตั้งกลุ่มใหม่แข่งอียู แก้ปัญหาด้วยลมปาก ตั้งป้อมต้านรัสเซีย-จีนตามวอชิงตัน

0

สหภาพยุโรปแตกกันเละ ไปคนละทิศทำให้มาตรการคว่ำบาตรรอบที่ ๘ ไม่ค่อยมีน้ำหนัก หลายประเทศขอเลิกคว่ำบาตรรัสเซีย หลายประเทศไม่ร่วมด้วยมาตรการกำหนดเพดานราคาน้ำมันรัสเซีย เพราะหน้าหนาวแล้ว ประชาชนเดือดร้อนสาหัสก่อการประท้วงต่อต้านรัฐบาลในหลายประเทศ หวั่นมิกสัญญีทั่วภูมิภาค

PRAGUE, CZECH REPUBLIC – OCTOBER 6: Turkish President Recep Tayyip Erdogan poses for a photo with leaders of countries within the first meeting of the European Political Community (EPC) in Prague, Czech Republic on October 6, 2022. (Photo by Emin Sansar/Anadolu Agency via Getty Images)

ล่าสุดฝรั่งเศส พยายามสร้างโอกาสการเป็นผู้นำยุโรปจัดตั้งกลุ่มการเมืองยุโรปใหม่ โดยเชิญ ผู้นำจาก ๔๔ ประเทศในยุโรป ทั่วทั้งทวีปยกเว้นรัสเซียและเบลารุส พบกันในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ที่กรุงปร้าก เมืองหลวงของสาธารณรัฐเช็ก เป็นการประชุมครั้งแรกของประชาคมการเมืองยุโรป ซึ่งเป็นกลุ่มภูมิภาคใหม่ที่เสนอโดยประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มาครง(Emmanuel Macron) ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา 

การพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ตั้งแต่ความมั่นคงของยุโรป ไปจนถึงราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น และภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ใกล้จะมาถึง นักวิเคราะห์กล่าวว่าการรวมตัวกันอาจเป็นเพียง “การแสดงความสามัคคีที่ยิ่งใหญ่” อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นการพูดคุยที่ไม่มีเนื้อหาจริง กลุ่มดังกล่าวสามารถพัฒนาไปสู่การเผชิญหน้ากับรัสเซียและจีน ซึ่งทำให้สถานการณ์ความมั่นคงของยุโรปยิ่งแย่ลงไปอีก 

วันที่ ๙ ต.ค.๒๕๖๕ สำนักข่าวโกลบัลไทมส์ และรัสเซียทูเดย์รายงานว่า การประชุมครั้งแรก ของ สมาคมการเมืองยุโรป ประกอบด้วยสมาชิกจากสหภาพยุโรปทั้งหมด ๒๗ คน และประเทศอื่นๆ อีก ๑๗ ประเทศ รวมถึงสหราชอาณาจักร ยูเครน และตุรกี มีเพียงสองประเทศที่ไม่ได้รับเชิญคือรัสเซียและเบลารุส

ในการกล่าวเปิดงาน มาครงกล่าวว่าการดำรงอยู่ของกลุ่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ “ส่งข้อความแห่งความสามัคคีไปยังประเทศในยุโรปทั้งหมดโดยการสร้างความใกล้ชิดเชิงกลยุทธ์และค้นหากลยุทธ์ร่วมกัน” 

มีแต่วาทกรรมล้วนๆ นักวิจารณ์ตั้งคำถามว่าจะสามารถแก้ปัญหาวิกฤตปัจจุบันของยุโรปอย่างเป็นรูปธรรมได้หรือไม่ เนื่องจากไม่มีคำแถลงนโยบายที่เป็นทางการ รวมทั้งไม่มีมติ หรือการประกาศที่คาดหวังว่าจะได้เห็น

ซุย ฮงเจียน(Cui Hongjian) ผู้อำนวยการภาควิชายุโรปศึกษาที่สถาบันการศึกษาระหว่างประเทศของจีนวิเคราะห์ว่า “จุดประสงค์ของประชาคมการเมืองยุโรปที่เพิ่งเกิดใหม่นี้คือการปรับโฉมภูมิทัศน์ภูมิรัฐศาสตร์ของยุโรปในบริบทของความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งเป็นภาพสะท้อนของวิสัยทัศน์ของฝรั่งเศส สำหรับแผนที่การเมืองในอนาคตของยุโรป เนื่องจากยังคงเป็นแนวคิดที่ขาดแผนการที่เป็นรูปธรรม การประชุมมีเป้าหมายเพื่อสร้างและเสริมสร้างเอกลักษณ์ที่เรียกว่ายุโรป แต่เป็นการยากที่จะบอกว่าจะเป็นจริง และจะไปได้ไกลแค่ไหน” 

นักวิเคราะห์กล่าวว่าขนาดที่แท้จริงของกลุ่มคือ ๔๔ ประเทศจะเป็นอุปสรรคสำคัญในการสร้างผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม เนื่องจากการแข่งขันแบบดั้งเดิมตั้งแต่อาร์เมเนียและอาเซอร์ไบจานไปจนถึงกรีซและตุรกียังคงขับเคี่ยวกันอยู่ในหมู่สมาชิก

รายงานของสื่อระบุถึงความสงสัยในหลายประเทศที่ผลักดันให้เข้าร่วมสหภาพยุโรป เช่น ยูเครน จอร์เจีย มอลโดวา และรัฐบอลข่านตะวันตก โดยแสดงความกังวลว่าอาจกลายเป็นการตบ “รางวัลชมเชย” ให้กับประเทศที่หนุนแนวทางวอชิงตันและอียูแทนการหารืออย่างจริงจังกับสมาชิก 

ซุยกล่าวว่าประชาคมการเมืองยุโรปอาจเป็น “ยาหลอก” เพื่อเอาใจประเทศที่ต้องการเข้าร่วมสหภาพยุโรป แต่ไม่สามารถทำได้ในระยะสั้น เนื่องจากมีเสียงที่แตกต่างกันภายในสหภาพยุโรปเกี่ยวกับการเข้าร่วมของประเทศเหล่านี้ ตัวอย่างเช่นฝรั่งเศสลังเลที่จะยอมรับการเข้าร่วมของยูเครนในลักษณะเร่งรัด ก็เลยผลักดันกลกุ่มการเมืองใหม่นี้ซะเลย 

นักวิเคราะห์กล่าวว่าปัญหาเร่งด่วนที่สุดของวันนี้และหัวข้อหนึ่งที่มีการพูดคุยหมุนเวียนกันอยู่คือ วิกฤตพลังงานที่ทำลายล้างซึ่งเพิ่งซ้ำเติมจากการวินาศกรรมท่อส่งก๊าซ Nord Stream ที่เชื่อมรัสเซียกับยุโรปผ่านทะเลบอลติก

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา รัฐบาลฝรั่งเศสออกมาตรการที่มุ่งลดการใช้พลังงานของประเทศลง โดยหวังว่าจะผ่านพ้นฤดูหนาวไปได้โดยไม่มีการตัดไฟ มาตรการหนึ่งคือการจำกัดอุณหภูมิไว้ที่ ๑๙ องศาเซลเซียส ในขณะเดียวกันก็ให้เปิดให้ใช้ไฟฟ้าเพื่อทำความร้อนช้ากว่าปกติ ๒ สัปดาห์ สำหรับครัวเรือน ธุรกิจ และหน่วยงานราชการ ประมาณว่าเดือนหนึ่งให้ใช้แค่ ๒ สัปดาห์สลับกันไป

เยอรมนีประกาศว่าจะใช้เงินสูงถึง ๒ แสนล้านยูโร หรือ ๑๙๗.๕๐ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยผู้บริโภคและธุรกิจรองรับผลกระทบจากค่าน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น

เออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป กล่าวว่า “หากไม่มีวิธีแก้ปัญหาร่วมกันของยุโรป เราจะเสี่ยงต่อการกระจัดกระจายของปัญหาแบบตัวใครตัวมันอย่างจริงจัง ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่เราจะรักษาระดับการแก้ปัญหาที่เท่าเทียมกันสำหรับทุกคน”

นอกเหนือจากการเจรจาด้านพลังงานแล้ว การประชุมยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งสัญญาณที่ชัดเจนไปยังปธน. ปูติน แห่งรัสเซีย โดยเน้นย้ำไม่เชิญร่วมเพื่อโดดเดี่ยวรัสเซีย 

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าสัญญาณของการปฏิเสธทางการเมืองที่มีต่อรัสเซียสามารถพัฒนาเป็นการเผชิญหน้าแบบกลุ่มในทวีปยุโรป ซึ่งจะไม่ช่วยรักษาเสถียรภาพในภูมิภาค แต่ทำให้สถานการณ์ความมั่นคงของยุโรปแย่ลงไปอีก 

อดีตนายกรัฐมนตรีเยอรมันแองเกลา แมร์เคิล (Angela Merkel) ทนไม่ไหวต้องออกมาเตือนยุโรปอย่างเคร่งเครียดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาว่า ยุโรปสามารถบรรลุสันติภาพที่ยั่งยืนได้ต้องมีส่วนร่วมจากรัสเซียเท่านั้น  แต่ดูสภาพแล้วแกนนำตัวเอ้ย่างสหรัฐ อังกฤษ ฝรั่งเศสคงไม่รับฟัง???