เสื่อมถอยสุด!! สถาบันวิจัยเมกาโวยไบเดน เลิกคิดดันสงครามไต้หวัน นิวเคลียร์มะกันสู้จีนไม่ได้มีแต่แพ้ยับ

0

สถาบันวิจัยของเมกาเตือนแรงว่า สหรัฐควรถอยดีกว่าถ้าคิดจะสู้กับจีน!! ความพยายามของสหรัฐฯที่จะเป็นผู้ชนะในการแข่งขันทางอาวุธนิวเคลียร์กับจีนจะเป็นเรื่องเปล่าประโยชน์ สถาบันวิจัยบรูกกิงส์ ซึ่งมีสำนักงานในวอชิงตัน ดี.ซี. เตือนว่าอเมริกาสูญเสียความเหนือกว่าในด้านการทหารในเอเชียตะวันออกแล้ว เมื่อเทียบกับศักยภาพของกองทัพจีนในวันนี้ จึงทำให้เป็นงานยากยิ่งขึ้นในการแอ่นอกปกป้องการโจมตีใดๆที่มีเป้าหมายเล่นงานฺไต้หวัน วอชิงตันไม่น่ารับฟังเนื่องจากอาวุธกำลังขายดี เพราะไช่ อิงเหวินผู้นำรัฐบาลไต้หวันทุ่มทุนสุดๆแม้จะทำให้ประเทศจมหนี้เพราะสั่งซื้ออาวุธแพงๆจากสหรัฐฯหลายระลอกก็ตาม 

สหรัฐฯยังคงเพิ่มแรงกดดันจีนทางเศรษฐกิจ บีบคั้นเตะตัดขาจีนเรื่องอุตสาหกรรทมชิปอย่างเอาเป็นเอาตาย กีดกันไม่ให้จีนพัฒนาเทคโนโลยีได้สะดวกรวดเร็วเกินหน้าเกินตา แต่อาจลืมไปว่า วันนี้จีนสามารถพึ่งตนเองในเทคโนโลยีชั้นสูงไม่น้อยหน้าไปกว่าการพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพในเทคโนโลยีนิวเคลียร์แล้ว

วันที่ ๔ ต.ค.๒๕๖๕ สำนักข่าว เซาท์ไชน่า มอนิ่งโพสต์รายงานว่า วอชิงตันแสดงท่าทีเริ่มมีความกังวลมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าจีนอาจใช้กำลังเข้าควบคุมไต้หวัน พลเอกแอนโทนี คอตตอน ผู้บัญชาการปฏิบัติการทางนิวเคลียร์ของเพนตากอน ให้ปากคำกับคณะกรรมาธิการวุฒิสภาสหรัฐฯ เขาเห็นด้วยว่าการแข่งขันทางอาวุธนิวเคลียร์อาจช่วยป้องปรามความเคลื่อนไหวของทางทหารของจีน

แต่รายงานของสถาบันวิจัยบรูกกิงส์ที่เผยแพร่เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา โต้แย้งว่า “ในขณะที่การยกระดับแพร่ขยายทางนิวเคลียร์ของจีน อาจช่วยให้ปักกิ่งมีความมั่นใจมากขึ้นต่อการใช้กองกำลังทั่วไปที่ไม่ติดอาวุธนิวเคลียร์ แต่สำหรับสหรัฐฯ การทำสงครามใดๆกับจีนเกี่ยวกับไต้หวัน แทบหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย ว่ามันจะเพิ่มความเสี่ยง ขยายสถานการณ์ทางนิวเคลียร์ให้ลุกลามบานปลาย ทั้งโดยไม่ตั้งใจและโดยตั้งใจ”

รายงานของสถาบันวิจัยบรูกกิงส์บอกว่า มีอุปสรรคมากที่ขัดขวางสหรัฐฯ จากความเหนือกว่าทางนิวเคลียร์โดยสิ้นเชิง ในนั้นรวมถึงคำมั่นสัญญาของทำเนียบขาว ต่อยุทธศาสตร์รักษาเสียรภาพและควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ด้วย

“แม้กระทั่งสามารถข้ามผ่านอุปสรรคเหล่านี้ไปได้แล้ว บางทีสหรัฐฯอาจต้องผลิตหลุมพลูโตเนียมได้รวดเร็วเพียงพอที่จะแข่งขันกับจีน” น่าแปลกที่รายงานของสถาบันฯไม่ได้พาดพิงถึงรัสเซีย   แต่ระบุว่า  “การแข่งขันทางนิวเคลียร์เต็มรูปแบบ ระหว่างบรรดามหาอำนาจผู้ผลิตนิวเคลียร์ลำดับต้นๆของโลก ดูเหมือนจะเป็นการดำเนินการที่เปล่าประโยชน์”

ผู้เขียนทำนายว่า คลังแสงนิวเคลียร์ที่เติบโตขึ้นของจีน จะนำมาซึ่งการคุมเชิงทางนิวเคลียร์ในรูปแบบสงครามเย็น และจะเป็นเรื่องดีกว่าสำหรับสหรัฐฯ ในการหันไปลงทุนเพิ่มเติมในยุทโธปกรณ์ด้านสงครามตามแบบ หรือConventional Warfare

ในแง่การป้องปรามทั่วไปโดยไม่ใช้อาวุธนิวเคลียร์ (Conventional Deterrence) รายงานได้เตือนเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ดั้งเดิมของเพนตากอน ในการป้องปรามการรุกรานไต้หวันของจีนแผ่นดินใหญ่ ว่า “การป้องปรามด้วยการขัดขวาง บนพื้นฐานของความเหนือกว่าของกองทัพสหรัฐฯ บางทีอาจยากมากๆที่จะบรรลุเป้าหมาย เพราะความก้าวหน้าของกองทัพจีนวันนี้เหนือกว่ากองทัพสหรัฐไปแล้ว”

ก่อนหน้านี้กระทรวงกลาโหมสหรัฐ หรือเพนตากอน ระบุในรายงานวิเคราะห์แสนยานุภาพจีนว่า จีนกำลังเร่งเพิ่มคลังสรรพาวุธนิวเคลียร์ และคาดว่าจะมีหัวรบนิวเคลียร์ครบ ๑,๐๐๐ หัวภายในปี ๒๕๗๓ ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดไว้

ความจริงเมื่อเทียบปริมาณกับสหรัฐและรัสเซียแล้ว กองกำลังนิวเคลียร์ของจีนยังถือว่าไม่ใหญ่นัก รัสเซียอาจมีหัวรบนิวเคลียร์พร้อมใช้งานแล้วมากกว่า ๕,๙๗๗ ลูก ในขณะที่สหรัฐอเมริกาตามมาเป็นลำดับสองมีหัวรบนิวเคลียร์ประมาณ ๕,๔๒๘ ลูก สำหรับประเทศจีนอยู่ในอันดับสามมีหัวรบนิวเคลียร์ประมาณ ๓๕๐ ลูก 

ก่อนหน้านี้ สหรัฐเคยเชิญชวนให้จีนร่วมสนธิสัญญาควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ใหม่กับสหรัฐและรัสเซียมาแล้วแต่จีนปฏิเสธเพราะสหรัฐฉีกก็ไม่ได้เข้าร่วมสนธิสัญญาฯแต่กลับมาบีบให้ประเทศอื่นควบคุม

มาดู ICBMs ขีปนาวุธข้ามทวีปติดตั้งหัวรบนิวเคลียร์ของเมกาและจีนซึ่งเป็นข้อมูลเท่าที่เปิดเผยอย่างเป็นทางการ และไม่อาจระบุว่าเป็นข้อเท็จจริงสมบูรณ์ ที่ผ่านมาประเทศมหาอำนาจนิวเคลียร์ล้วนปิดบังข้อมูล

มินิทแมน ๓(Minuteman lll) ขีปนาวุธข้ามทวีปของสหรัฐอเมริกาถูกพัฒนาขึ้นมาประมาณ ๔๐๐ ลูก ติดตั้งหัวรบนิวเคลียร์ได้ประมาณ ๖๐๐ ลูก เนื่องจากขีปนาวุธบางลูกสามารถติดตั้งหัวรบนิวเคลียร์ได้มากกว่า ๑ ลูก สามารถยิงได้ไกล ๑๑,๐๐๐-๑๒,๐๐๐ กิโลเมตร 

สำหรับจีนมีขีปนาวุธตงเฟิง ๕(Dongfeng 5), ตงเฟิง ๑๗(Dongfeng-17), ตงเฟิง ๒๑ (Dongfeng 21), ตงเฟิง ๔๑ (Dongfeng 41) สามารถยิงได้ไกล ๑๒,๐๐๐-๑๕,๐๐๐ กิโลเมตร 

ซึ่งล่าสุดกองทัพจีนได้เปิดตัวขีปนาวุธเหนือเสียงตงเฟิง ๑๗ ครั้งแรกในการซ้อมรบรอบเกาะไต้หวันเมื่อเร็วๆนี้ เพื่อเตือนสหรัฐและไต้หวันว่าหากมีการรบเกิดขึ้น จีนจะใช้ยุทธวิธีและอาวุธยุทโธปกรณ์อย่างไรบ้าง ซึ่งในสงครามจริงอาจดุเดือดกว่าที่ซ้อมให้ดู แต่ถ้าวัดเชิงปริมาณก็ไม่น่าฟันธงว่าสหรัฐจะพ่ายจีน ความนัยนี้อาจซ่อนความจริงเบื้องหลังของประสิทธิภาพที่แท้จริงของขีปนาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐที่ประเทศต่างๆไม่รู้แต่สถาบันบรู๊กรู้????