ทะลวงภาพลวงตา?? ดอลลาร์แข็งค่าดีต่อเมกาแต่ลากศก.โลกถดถอย จับตาพันธบัตรถูกเทกระหน่ำในรอบ ๗๐ ปี

0

ในขณะที่สหรัฐเดินหน้ากระตุ้นสงครามทั้งในยูเครน และเอเชีย-แปซิฟิก กับรัสเซียและจีน สงครามเศรษฐกิจระหว่างสองฝ่ายกำลังเข้มข้น กูรูเศรษฐศาสตร์ของสหรัฐวิเคราะห์ว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดเป็นต้นเหตุที่ผลักดันให้เกิดภาวะถดถอยทั่วโลก แต่ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งต่อเนื่องลากเอาค่าเงินสกุลอื่นๆรูดต่ำอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน แต่น่าแปลกสถานการณ์ของพันธบัตรสหรัฐกลับไม่เป็นที่สนใจอย่างที่ควรเป็น นักยุทธศาสตร์หลายคนมองว่าพันธบัตรสหรัฐสูญเสียมูลค่ามหาศาลเพราะถูกเทกะหน่ำในรอบ ๗๐ ปีก็ว่าได้

วันที่ ๒ ต.ค.๒๕๖๕ สำนักข่าวซินหัวและสปุ๊ตนิกรายงานว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด ตัดสินใจแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อของประเทศด้วยการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยกำลังสร้างผลกระทบอย่างมากต่อ ประเทศอื่นๆ เนื่องจากทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น เพิ่มขนาดการชำระหนี้ และเพิ่มความเสี่ยงการเกิดวิกฤตภาวะเศรษฐกิจถดถอย

รายงานระบุว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวทำให้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นสกุลเงินสำหรับการค้าและธุรกรรมส่วนใหญ่ของโลก แข็งค่าขึ้น โดยก่อให้เกิดความยุ่งยากทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศที่ร่ำรวยและยากจน

เอสวาร์ พราซาด ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยคอร์แนลและผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับสกุลเงินหลายเล่ม กล่าวว่าสถานการณ์ข้างต้นถือเป็นสถานการณ์ที่น่าหมดหวังสำหรับประเทศอื่นๆ ในโลก พร้อมเสริมว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ ไม่มีทางเลือกนอกจากดำเนินการควบคุมอัตราเงินเฟ้ออย่างจริงจัง และความล่าช้าใดๆ อาจทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงอีก

รายงานระบุว่าการตัดสินใจเชิงนโยบายของสหรัฐฯ มักส่งผลกระทบในวงกว้าง เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นมหาอำนาจที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และมีปริมาณสำรองน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจำนวนมาก รวมถึงมีอิทธิพลต่อด้านการเงินและการค้าโลกอย่างมาก

ไคล์ โชสตาค ผู้อำนวยการ Navigator Principal Investors LLC กล่าวเช่นเดียวกันว่า ธนาคารกลางสหรัฐปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปจบสิ้นจะช่วยจุดชนวนให้เกิดภาวะถดถอยทั่วโลก 

ประธานเฟดเจอโรมพาวเวลล์ แสดงความคิดเห็นหลังจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยส่งสัญญาณว่าธนาคารกลางจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงเหลือ ๒%

โชสตาคกล่าว “การดำเนินการของเฟดอย่างต่อเนื่องจะกระตุ้นการขายหุ้นและพันธบัตรทั่วโลก และจะทำให้ค่าเงินท้องถิ่นของตลาดเกิดใหม่หลายแห่งอ่อนค่าลงอย่างมาก”

เขาเสริมว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ อยู่ในโหมดถดถอยในช่วงสองไตรมาสที่ผ่านมา โดยมีอัตราเงินเฟ้อเป็นประวัติการณ์ ราคาพลังงานพุ่งสูงขึ้น ปัญหาห่วงโซ่อุปทาน และตลาดทุนที่วุ่นวาย

โชสตาควิพากษ์วิจารณ์ว่าเฟดทำผิดถึงสองครั้ง “ประการแรก การรับอัตราเงินเฟ้อล่าช้าและปฏิเสธที่จะปรับอัตราเมื่อความเป็นจริงทางเศรษฐกิจเรียกร้องมากที่สุด” เขากล่าว “จากนั้นก็ลงมือในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่สูงเป็นประวัติการณ์ในช่วงปลายและทื่อมาก ซึ่งเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของความสุดโต่ง โลกทั้งโลกกำลังเผชิญกับการกระทำที่สายตาสั้นของเฟด”

หลังจากที่เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นช่วง ๓.๐๐ ถึง ๓.๒๕% พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและตราสารทุนที่ซื้อขายกันกลับมีสภาพค่อนข้างเหมือนกับเอกสารตลาดเกิดใหม่ โดยสูญเสียมูลค่ารวมกว่า ๕๗ ล้านล้านดอลลาร์ในปี ๒๕๖๕นี้

โชสตาคกล่าวเสริมว่า“ตลาดตราสารหนี้ของสหรัฐฯ สูญเสียโดยเฉลี่ยประมาณ ๑๒% ในปีนี้ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมาก เมื่อพิจารณาว่านี่เป็นตราสารหนี้ที่มีความปลอดภัยสูงขององค์กรรัฐ ไม่ใช่ตราสารทุนของเอกชน” 

เขาอธิบายว่า “เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น มูลค่าของพันธบัตรจะลดลงสิ่งที่น่าประหลาดใจในครั้งนี้คือความเร็วที่พันธบัตรเหล่านี้สูญเสียการประเมินมูลค่า”

เมื่อเฟดส่งสัญญาณอัตราเป้าหมายใหม่ที่ ๔.๕% และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก เขากล่าวว่าขณะนี้เป็นเพียงถนนทางเดียวสำหรับกระทรวงการคลัง ดังนั้นผู้ถือครองพันธบัติรสหรัฐทั่วโลกทิ้งพอร์ตอย่างมีนัยสำคัญและไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน รวมถึงผู้ถือหนี้สหรัฐในต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กองทุนญี่ปุ่น,จีนและอังกฤษ

นักลงทุนรายนี้กล่าวเสริมว่า “ตลาดตราสารหนี้สหรัฐวันนี้ ‘เงียบ’ ซึ่งไม่เคยเห็นอะไรแบบนั้นมาตั้งแต่ปี ๑๙๔๙”  “โดยธรรมชาติแล้ว นักลงทุนต่างมีความเชื่อมั่นในสหรัฐอเมริกาว่าเป็นสวรรค์ที่ปลอดภัย แต่วันนี้กำลังถูกกัดเซาะและสั่นสะเทือนครั้งแล้วครั้งเล่าจากการเทขายของพันธมิตรหลายขั้ว และหลายประเทศซื้อขายน้ำมันและสินค้าพลังงานด้วยเงินท้องถิ่น”

นอกจากนี้ เกลนคาเปโล กรรมการผู้จัดการของมิชเลอร์ ไฟแนนซ์ (Mischler Financial Glen Capelo) กล่าวว่า “ด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดที่มากขึ้นและการเข้มงวดในเชิงปริมาณ รวมถึงการที่อาจมีการออกตราสารหนี้ของรัฐบาลมากขึ้น ท่ามกลางผู้ซื้อตั๋วเงินคลังที่น้อยลงในตอนนี้ ทั้งหมดนี้หมายถึงอัตราผลตอบแทน ๑๐ ปีจะเข้าใกล้ ๔% อย่างแน่นอน”

เมื่อวันศุกร์ พันธบัตรกระทรวงการคลังสหรัฐอายุสองปีอยู่ตรงกลางของการสูญเสียที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่อย่างน้อยปี ๑๙๗๖ ตกลงมา ๑๒ วันติดต่อกัน สถานการณ์ล่าสุดของตลาดการเงินโลกเช้าวันเสาร์นี้ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดตลาดทำสถิติการร่วงลงติดต่อกัน ๓ ไตรมาสครั้งแรกตั้งแต่วิกฤตการเงินโลกปี ๒๐๐๘ ซึ่งโดยเฉลี่ยปีนี้ตลาดร่วงลงแล้วราว -๒๕%