ตลอดเดือนนี้ ประเทศในยุโรปตะวันออกหลายประเทศมีการชุมนุมครั้งใหญ่ โดยมีผู้คนมากกว่า ๑๐๐,๐๐๐ คนเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกการคว่ำบาตรรัสเซีย ต่อต้านบทบาทของสหภาพยุโรปและให้ออกจากการเป็นสมาชิกนาโต้ ล่าสุดประชาชนออกมาประท้วงรัฐบาลในกรุงปร๊ากรอบใหม่ ที่เมืองหลวงของสาธารณรัฐเช็ก การชุมนุมครั้งนี้ยกระดับจากเรียกร้องรัฐบาลนำเข้าพลังงานจากรัสเซียมาเป็นขับไล่รัฐบาลแทน ผู้ชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลลาออก รวมทั้งคัดค้านการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้รัฐบาลแสดงจุดยืนที่เป็นกลางต่อความขัดแย้งในยูเครน ท่ามกลางวิกฤตพลังงานครั้งใหญ่ เงินเฟ้อกระฉูดและค่าครองชีพสูงต่อเนื่อง
วันที่ ๒๙ ก.ย.๒๕๖๕ สำนักข่าวสปุ๊ตนิกและรัสเซียทูเดย์รายงานว่า ฝูงชนหลายหมื่นคน รวมตัวกันในกรุงปรากเมื่อวันพุธที่ผ่านมา เพื่อประท้วงรัฐบาลเช็ก องค์กรนาโต้ และสหภาพยุโรป ผู้ประท้วงเรียกร้องความเป็นกลางของสาธารัฐเช็ก และประท้วงนโยบายคว่ำบาตรรัสเซียของนายกรัฐมนตรี ปีเตอร์ เฟียลา ซึ่งทำให้ราคาพลังงานพุ่งสูงขึ้น
การประชุมในวันเซนต์เวนเซสลาส ซึ่งเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์เฉลิมฉลองสถานะรัฐของสาธารณรัฐเช็ก ฝูงชนพากันไปที่จัตุรัสหลักของกรุงปร๊าก ซึ่งตั้งชื่อตามนักบุญในยุคกลาง และตะโกนคำขวัญต่อต้านสหภาพยุโรป นาโต้ และคณะรัฐมนตรีของเฟียลา ตำรวจปร๊ากจะไม่ให้ตัวเลขเฉพาะเจาะจง เกี่ยวกับขนาดฝูงชนโดยให้ข่าวประมาณว่าชุมนุทแค่”หมื่นคน”
การประท้วงนี้จัดโดยกลุ่มที่ชื่อว่า ‘สาธารณรัฐเช็กเป็นที่หนึ่ง’ ซึ่งเป็นพันธมิตรของ“กลุ่มและพรรคการเมืองที่นิยมอนุรักษ์นิยมสายกลางห่างไกลจากขวาจัด รวมทั้งแนวทางสังคมนิยมคอมมิวนิสต์” กลุ่มผู้ชุมนุมแสดงพลังคัดค้านสหภาพยุโรปและนาโต้ และเรียกร้องให้รัฐบาลสาธารณรัฐเช็กเป็นกลางในสงครามยูเครน
โฆษกไม่ระบุชื่อคนหนึ่งในการชุมนุมให้สัมภาษณ์สื่อว่า“รัฐบาลมีหน้าที่สองประการ: หนึ่งเพื่อประกันความมั่นคงและสองสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของเรา รัฐบาลนี้ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งเหล่านี้เลย”
พาเวล เนเบล(Pavel Nebel)ผู้ประท้วงคนหนึ่ง วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลเช็กว่า”รัฐบลต่อต้านชาวเช็กโดยสิ้นเชิง”และให้บริการเฉพาะสหภาพยุโรป นาโต้ และ”อำนาจของอเมริกา”โดยยอมเสียผลประโยชน์ของสาธารณรัฐเช็ก
ผู้จัดงานเรียกร้องให้มีการประท้วงอีกครั้งในเดือนตุลาคม และกล่าวว่าพวกเขาต้องการขอให้ประธานาธิบดีมิลอส เซแมน (Milos Zeman) ยุบรัฐบาลและเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งก่อนกำหนด นับเป็นการชุมนุมครั้งที่สองในเดือนนี้ มีผู้ประท้วงเข้าร่วมราว ๗๐,๐๐๐ คนในการประท้วงเมื่อวันที่ ๓ ก.ย.ที่ผ่านมา อ้างจากตำรวจ นอกจากนี้ยังมีการชุมนุมที่คล้ายกันในเมืองอื่นของเช็กฯ
วิต รากูซาน รัฐมนตรีมหาดไทยของเช็ก(Vit Ragusan minister of Interior Czech republic) ตอบโต้การประท้วงว่า เป็นพวก”โปรรัสเซีย”โดยกล่าวหาว่าผู้จัดงานฟัง“การโฆษณาชวนเชื่อของรัสเซียและการบิดเบือนข้อมูล”จนหลงผิด รัฐบาลของเขาได้ติดตามการนำของบรัสเซลส์อย่างขยันขันแข็งในการคว่ำบาตรการค้ากับมอสโกว์เกี่ยวกับความขัดแย้งในยูเครน ซึ่งทำให้ราคาพลังงานที่ปกตินำเข้าจากรัสเซียพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
สาธารณรัฐเช็ก หรือที่รู้จักกันในชื่อทั่วไปว่า เช็กเกีย ในอดีตมีชื่อว่า โบฮีเมีย เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล อยู่ในภูมิภาคยุโรปกลาง โดยมีพรมแดนทางตอนเหนือจรดประเทศโปแลนด์ เช็กเกียเข้าร่วมกับนาโต้ในเดือนมีนาคม ๒๕๔๒ เพียงไม่กี่วันก่อนที่กลุ่มนาโต้ที่นำโดยสหรัฐฯ โจมตียูโกสลาเวีย ต่อมาเชียเกียได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๗
The anti-sanctions protest movement in the Czech Republic have started.
The organisation behind the protest calls for the exit of the Czech Republic from the EU and NATO, and an end to hostility towards Russia.#CzechRepublic #Prague pic.twitter.com/LqdOp9GtE7
— Firam (@firamnews) September 28, 2022
วิกฤตการณ์พลังงานในยุโรปกำลังเกิดขึ้นอย่างล้นหลาม ในขณะที่ประเทศต่างๆ ทั่วทั้งทวีปยังคงต่อสู้กับต้นทุนที่สูงขึ้นทั้งค่าครองชีพของครัวเรือน และภาคอุตสาหกรรมการผลิตและธุรกิจต่างๆตลอดจนการขาดแคลนสินค้าก่อนฤดูหนาวเรียกว่ายุโรปกำลังก้าวเข้าสู่ยุคมืดทางเศรษฐกิจอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง
ในกรุงเวียนนา เมืองหลวงของออสเตรีย ผู้ประท้วงหลายพันคนออกมาชุมนุมตามท้องถนน เรียกร้องให้ยุติ “การคว่ำบาตรฆ่าตัวตาย” ขอให้ยกเลิกคว่ำบาตรรัสเซีย และประณามการกระทำของนาโต้ที่นำโดยสหรัฐฯ ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งและทำให้สถานการณ์ความมั่นคงในยุโรปแย่ลง ตามรายงานของสื่อท้องถิ่น การประท้วงที่คล้ายคลึงกันเกิดขึ้นในกรีซ เยอรมนีและฝรั่งเศสเมื่อเร็วๆ นี้
นอกจากการประท้วงรัฐบาลเรื่องวิกฤตพลังงาน ยังมีการชุมนุมต้านนโยบายเกี่ยวกับวิกฤตสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เรียกว่า “Global Climate Strike” ทั้งเยอรมนี, สวิตเซอร์แลนด์ ,เดนมาร์ก, อังกฤษ, อิตาลี และสวีเดน เรียกว่าจัดเต็มท่ามกลางความหนาวเหน็บที่ย่างกรายเข้ามา
แม้ว่าคณะกรรมาธิการยุโรปได้เสนอแพ็คเกจสนับสนุนเยียวยาภาคธุรกิจ แต่รัฐบาลต่างๆในอียูยังไม่มีมาตรการใดที่ช่วยเหลือประชาชนทั่วไปรับมือกับ ปัญหาวิกฤตพลังงาน และความขาดแคลนที่กำลังคืบคลานเข้ามาทั่วทั้งยุโรป ความกลัวเรื่องค่าครองชีพกำลังแพร่กระจาย และด้วยเหตุนี้ การต่อต้านรัฐบาลที่ทุ่มเงินสนับสนุนยูเครนก็จะมีเสียงที่ดังขึ้นและดังขึ้นหยุดไม่อยู่!!!