ดูเหมือนจบงานแต่ยังไม่จบเรื่อง!!! เมื่อกิจกรรมอยู่ไม่เป็นได้สะท้อนถึงการเคลื่อนไหวของพลพรรคสีส้มที่ถูกวิจารณ์ว่าล้มเหลวไม่เป็นท่า??? นั่นทำให้ยุทธศาสตร์ในการเดินต้องมีการทบทวนหามุกใหม่เล่นกันต่อ และยิ่งตอกย้ำเมื่อผลสำรวจโพลออกมาสังคมไม่ได้ให้ความสนใจในกิจกรรมของอนาคตใหม่?!? คนกลับสนใจและเข้าใจกับคำว่า อยู่เป็น!?!
ย้อนกลับไปจากจุดเริ่มต้น 10 พ.ย.62 เพจเฟซบุ๊กพรรคอนาคตใหม่ – Future Forward Party ได้ขึ้นข้อความพร้อมกราฟฟิก รวมพลคนอยู่ไม่เป็น โดยระบุ หากนำเลือดของชาวอนาคตใหม่ไปตรวจ Deoxyribonucleic Acid (DNA) เราอาจพบยีนความอยู่ไม่เป็นฝังอยู่ใน DNA ของพวกเราก็เป็นได้ จึงขอเชิญชวนทุกท่าน มาร่วมงานรวมพลคนอยู่ไม่เป็นไปพร้อมกัน 16 พ.ย.นี้ ที่ JJ Mall ชั้น 6 ห้องกำแพงเพชร 12.00 น. เป็นต้นไป
ต่อมาที่ศูนย์ประสานงานพรรคอนาคตใหม่ฝั่งธนบุรี นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) กล่าวถึงแคมเปญกิจกรรมอยู่ไม่เป็น โดยขอเชิญชวนผู้ที่สนับสนุนพรรคไปร่วมงานในวันดังกล่าว ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าการจัดงานดังกล่าวจะมีนัยต่อคดีที่ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินในวันที่ 20 พ.ย.หรือไม่??? ซึ่งถึงวันนี้สังคมก็ทราบคำตอบแล้วหลังคำวินิจฉัยของศาลมีออกมาให้พ้นสภาพความเป็นส.ส.
และเมื่อวันงานมาถึง 16 พ.ย.62 ซึ่งใช้พื้นที่ชั้น 6 อาคาร JJ Mall ระดมผู้สนับสนุนพรรคร่วมงานอย่าง ภายในงานมีจัดนิทรรศการและบูธนำเสนองานของพรรค ก่อนเริ่มงานมีประชาชนทยอยเดินทางมาร่วมกิจกรรมในแต่ละบูธ
ซึ่งมีการคาดกันว่าจะมีประชาชนเดินทางมาร่วมเป็นจำนวนมาก เนื่องจากทางพรรคอนาคตใหม่เปิดให้ลงทะเบียนออนไลน์เพื่อแลกรับของที่ระลึก รวมถึงเปิดให้ลงทะเบียนบริเวณหน้างาน พร้อมทั้งเปิดรับสมัครสมาชิกพรรคด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่หวังจะเห็นกันก็คือ บรรดาคนรุ่นใหม่ที่จะเดินทางมาร่วม
แต่เมื่อถึงเวลาปรากฏว่า แม้คนจะเดินทางมาร่วมพอสมควรเป็นหลักพัน ทว่าภาพที่เห็นคือ ไม่ได้มาตามจำนวนหรือปริมาณที่นายธนาธรและพรรคอนาคตใหม่คาดหวังใช่หรือไม่??? โดยคนเดินทางมาไม่เต็มภายในฮอลล์ แต่สาระสำคัญที่เผยแพร่กันออกมาคือ มีคนสูงอายุอยู่จำนวนไม่น้อย และที่สาหัสก็คือ บรรดาคนรุ่นใหม่ไม่ได้มาตามเป้า!?!
ขณะที่มีการตั้งข้อสังเกต วิพากษ์วิจารณ์กันซึ่งพบข้อมูลที่น่าสนใจระบุถึงแนวทางการจัดตั้งมวลชนของพรรคอนาคตใหม่ในวันเสาร์ที่16 พ.ย.โดยสงสัยว่ากันว่าจะเป็นการจัดตั้งโดยพรรคอย่างเต็มรูปแบบ???
17 พ.ย. 62 นางสาวพรรณิการ์ ออกมาเปิดเผยภาพรวมของการจัดงาน “อยู่ไม่เป็น” โดยอ้างว่าคนร่วมงานประมาณ 2,000 คนเต็มความจุของฮอลล์ แสดงให้เห็นว่า ประชาชนเข้าใจสิ่งที่ต้องการจะสื่อสารไปยังสังคม และเห็นด้วย สังคมจะเปลี่ยนแปลงได้หากเราอยู่ไม่เป็น
นั่นคือคำพูดของโฆษกอนาคตใหม่ ภายหลังการจัดงาน ซึ่งข้อเท็จจริง แม้จะมีบางส่วนที่ตรง แต่ก็ไม่ได้บอกถึงข้อมูลจริงทั้งหมด??? เพราะขณะเดียวกันนี้ข้างนอกก็มองเข้าไปเห็นตรงกันว่า มวลชนไม่ได้เยอะอย่างที่ควรจะเป็น อีกทั้งบรรดาคนรุ่นใหม่ก็ไม่ได้ให้ความสนใจมากอย่างที่คาดหวังแน่นอน!?!
เพราะแม้ก่อนหน้านี้คือเมื่อวันที่ 15 พ.ย.62 นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรค จะลงทุนจัดแถลงอ้างถึงการปิดคดีกรณีถือหุ้นบริษัทวี-ลัคมีเดีย ซึ่งใครที่ได้ฟังก็คงดูออกว่า ต้องการปลุกกระแสระดมคนให้เดินทางไปร่วมงาน อยู่ไม่เป็น 16 พ.ย.62 แต่เมื่อวันงานมาถึงทั้งนายธนาธรและพรรคต้องผิดหวังตามของจริงที่ปรากฏออกมา!?!
ตอกย้ำความจริงแรกจากวันที่ 18 พ.ย. 62 ที่พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี พูดถึง”อยู่ไม่เป็น” เมื่อถูกถามทราบกิจกรรมนี้แล้วหรือไม่ โดยพล.อ.ประวิตร ย้อนถามว่า “แล้วทำไม” เมื่อถามต่อว่าได้ประเมินและเตรียมการรับมือกรณีหากมีการเคลื่อนไหวหลังจากนี้หรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า “ไม่มีอะไรหรอก ไม่ต้อง”
แล้วก็มาถึงในการตอกย้ำความจริงที่สอง เมื่อล่าสุดวันที่ 24 พ.ย.62 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “อยู่ไม่เป็นของพรรคอนาคตใหม่” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 19 – 20 พฤศจิกายน 2562 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวม 1,262 หน่วยตัวอย่าง
ทั้งนี้เกี่ยวกับความเข้าใจและการติดตามข่าว “อยู่ไม่เป็น” ของพรรคอนาคตใหม่ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0
โดยการสำรวจเมื่อถามถึงความเข้าใจของประชาชนต่อคำว่า “อยู่เป็น” พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 40.57 ระบุว่า คนที่สามารถปรับตัว ตามสถานการณ์ให้สอดคล้องกับบริบทที่ดำรงอยู่ รองลงมา ร้อยละ 38.11 ระบุว่า คนที่ใช้วิธีการใด ๆ ก็ได้ที่ทำให้สามารถดำรงชีวิตอยู่รอดปลอดภัย
ร้อยละ 15.53 ระบุว่า คนที่สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ และเข้าใจสังคม ร้อยละ 12.60 ระบุว่า คนที่มีวิธีการให้ได้รับการยอมรับจากสังคม และมีความเจริญรุ่งเรือง ร้อยละ 7.45 ระบุว่า คนที่เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม ร้อยละ 3.49 ระบุว่า คนที่พอใจกับสิ่งดี ๆ ในปัจจุบัน ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 2.22 ระบุว่า การยอมจำนนต่อสภาพแวดล้อมหรืออำนาจ ร้อยละ 1.58 ระบุว่า คนไม่มีจุดยืน ไม่ยึดมั่นในหลักการ และไม่มีอุดมการณ์ และร้อยละ 5.78 ระบุว่า ไม่รู้/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ส่วนความเข้าใจของประชาชนต่อคำว่า “อยู่ไม่เป็น” พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 35.18 ระบุว่า คนที่ไม่สามารถปรับตัวตามสถานการณ์ให้สอดคล้องกับบริบทที่ดำรงอยู่ รองลงมา ร้อยละ 23.45 ระบุว่า คนที่กระทำสิ่งใดแล้วเกิดผลลบกับตนเอง ร้อยละ 15.77 ระบุว่า คนที่ไม่รู้จักกาละเทศะ ดื้อรั้น หัวชนฝา เอาแต่ใจตนเองเป็นหลัก
ร้อยละ 14.03 ระบุว่า คนที่ชอบทำตัวแบบ จระเข้ขวางคลองหรือแกว่งเท้าหาเสี้ยน ร้อยละ 13.39 ระบุว่า คนที่ทำอะไรก็ไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม และไม่เจริญรุ่งเรือง ร้อยละ 10.78 ระบุว่า คนที่ขาดความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์ และไม่เข้าใจสังคม ร้อยละ 4.83 ระบุว่า คนที่ไม่ยอมจำนนต่อสภาพแวดล้อมหรืออำนาจ ร้อยละ 3.41 ระบุว่า คนที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น และร้อยละ 7.29 ระบุว่า ไม่รู้/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านการติดตามข่าว “อยู่ไม่เป็น” ของพรรคอนาคตใหม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.21 ระบุว่า ไม่ติดตามเลย ร้อยละ 27.73 ระบุว่า ติดตามบ้าง ร้อยละ 6.66 ระบุว่า ติดตามตลอด และร้อยละ 0.40 ระบุว่า ไม่รู้/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อการประกาศและกิจกรรม “อยู่ไม่เป็น” ของพรรคอนาคตใหม่ จากผู้ที่ตอบติดตามตลอดและติดตามบ้าง พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 38.25 ระบุว่า เป็นการแสดงจุดยืนของพรรค รองลงมา ร้อยละ 26.27 ระบุว่า เป็นการพูดความจริงเกี่ยวกับสังคม ร้อยละ 21.20 ระบุว่า เป็นการสร้างกระแส ในการเรียกคะแนนเสียง/ความสนใจ จากประชาชน ร้อยละ 11.29 ระบุว่า เป็นคำพูด/วิธีการ ในการโจมตีฝ่ายตรงข้าม
ร้อยละ 8.99 ระบุว่า เป็นการแสดงผลงานของพรรค ร้อยละ 7.60 ระบุว่า เป็นแค่คำประกาศ และ/หรือ กิจกรรมทางการเมืองอย่างหนึ่งเท่านั้น ร้อยละ 4.61 ระบุว่า พรรคอนาคตใหม่อยู่ไม่เป็นสุขจากคดีความต่าง ๆ ร้อยละ 2.53 ระบุว่า พรรคอนาคตใหม่ไม่เข้าใจ สังคม/การเมืองไทย และร้อยละ 7.14 ระบุว่า ไม่รู้/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
สำหรับความคิดเห็นต่อพรรคอนาคตใหม่ว่า “อยู่ไม่เป็น” หรือ “อยู่เป็น” จากผู้ที่ตอบติดตามตลอดและติดตามบ้าง พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 41.70 ระบุว่า “อยู่เป็น” ร้อยละ 29.03 ระบุว่า “อยู่ไม่เป็น” ร้อยละ 20.05 ระบุว่า บางครั้งก็ “อยู่เป็น” บางครั้งก็ “อยู่ไม่เป็น” ร้อยละ 5.30 ระบุว่า ไม่รู้/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ และร้อยละ 3.92 ระบุว่า ไม่แน่ใจ
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อตนเองว่า “อยู่ไม่เป็น” หรือ “อยู่เป็น” พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 72.19 ระบุว่า “อยู่เป็น” ร้อยละ 19.81 ระบุว่า บางครั้งก็ “อยู่เป็น” บางครั้งก็ “อยู่ไม่เป็น” ร้อยละ 5.94 ระบุว่า “อยู่ไม่เป็น” ร้อยละ 1.19 ระบุว่า ไม่รู้/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ และร้อยละ 0.87 ระบุว่า ไม่แน่ใจ
พิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.95 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.52 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.30 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 34.08 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.15 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้
ตัวอย่างร้อยละ 49.13 เป็นเพศชาย และร้อยละ 50.87 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 7.69 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 14.82 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 21.71 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 35.10 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 20.68 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
นั่นคือผลสำรวจที่ทางโพลได้ทำออกมา ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นการสะท้อนความจริงที่ตามมา หลังได้เห็นข้อมูลในวันงานกิจกรรมอยู่ไม่เป็นกันไปแล้ว และยิ่งน่าสนใจเมื่อคนส่วนใหญ่เข้าใจคำว่า อยู่เป็น ในบริบทของการอยู่ร่วมกันในสังคม ที่เข้าถึงข้อมูลของบางคน-บางพรรคที่กำลังทำมุ่งหวังอะไร??? ซึ่งวันนี้น่ายินดีที่คนส่วนใหญ่รู้ทัน!!!