เมกาเสียหน้าแรง! รัสเซียปล่อยจรวดไปอวกาศรอบที่151 ตัดหน้าเก็บข้อมูล-วิจัยอีกครั้ง หลุดชื่อนักบินมีของนาซ่าด้วย
จากกรณีที่การปล่อยจรวดเอสแอลเอส (SLS) หรือ Space Launch System และยานอวกาศโอไรออน (Orion) ในภารกิจอาร์ทิมิส 1 นาซาได้กำหนดวันปล่อยจรวดใหม่เป็นวันที่ 27 กันยายน หลังจากก่อนหน้านี้ เลื่อนการปล่อยจรวดมาแล้ว 2 ครั้ง เนื่องจากปัญหาการควบคุมอุณหภูมิของเครื่องยนต์จรวด RS-25 และการรั่วไหลของเชื้อเพลิง
ในขณะที่องค์การอวกาศรัสเซีย (Roscosmos) มีกำหนดยิงจรวด Soyuz MS-22 เมื่อวันที่ 21 ก.ย.ที่ผ่านมา เพื่อนำนักบินอวกาศ 3 คนขึ้นไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ ISS จากฐานยิง Baikonur Cosmodrome ตะวันออกไกลของรัสเซีย
อีกทั้งในปี 2024 รัสเซีย มีกำหนดยกเลิกภาระกิจควบคุมทิศทางและความสูงของสถานีอวกาศนานาชาติ ISS ที่มีสหรัฐ ร่วมด้วย จากนั้นรัสเซียจะสร้างสถานีอวกาศส่วนตัวเอง คล้ายจีนทำใช้เองปัจจุบันนี้ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาใหญ่กับสถานีอวกาศนานาชาติ ISS ที่จะต้องตกลงสู่พื้นโลก และสหรัฐ และยุโรป ก็จะไม่มีสถานีอวกาศใช้งานอีกแล้ว
ต่อมาทาง Blockdit World Update ได้โพสต์ข้อความถึงควมาคืบหน้าของรัสเซียได้ส่งจรวดพร้อมนักบินอวกาศไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ ISS โดยอ้างอิงจาก Spaceref และ NASA ระบุว่า
เมื่อวันที่ 21 ก.ย.2022 ยานอวกาศ Soyuz MS-22 ขององค์การอวกาศรัสเซีย (Roscosmos) ได้ถูกปล่อยทะยานขึ้นด้วยจรวด Soyuz-2.1a จากฐานปล่อยจรวดของรัสเซีย Baikonur cosmodrome ในคาซัคสถาน นับเป็นรอบที่ 151 ตั้งแต่เริ่มใช้งานจรวด Soyuz โดยได้บรรทุกนักบินอวกาศชาวรัสเซีย 2 คน คือ Sergey Prokopyev และ Dmitri Petelin โดยมี “นักบินอวกาศของ NASA สหรัฐ คือ Frank Rubio ขอเกาะเอวจรวดรัสเซีย” ขึ้นไปยัง สถานีอวกาศนานาชาติ ISS ด้วย
การปล่อยยานขึ้นสู่อวกาศของรัสเซีย เป็นไปตามแผนจรวดทะยานขึ้นจากฐานปล่อยสู่ห้วงอวกาศอย่างราบรื่น จากนั้นขึ้นเทียบท่ากับโมดูลการวิจัยขนาดเล็ก Rassvet ของสถานีอวกาศนานาชาติ ISS ได้อย่างสมบูรณ์แม่นยำ หลังจากปรับสมดุลกับแรงดันแล้วนักบินอวกาศทั้ง 3 คน จะขึ้นไปบนสถานีและเข้าร่วมกับลูกเรือคนอื่น รวมถึงผู้บัญชาการ Oleg Artemyev ขณะนี้มีผู้อยู่อาศัยบนสถานีอวกาศนานาชาติรวมจำนวน 10 คน
พวกเขาทั้ง 3 คนที่ขึ้นไปใหม่จะใช้เวลาประมาณ 6 เดือนในวงโคจรทำงานด้านวิทยาศาสตร์และการวิจัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์โลก ชีววิทยา การวิจัยในมนุษย์ และอื่นๆ จากนั้นจะกลับสู่โลกในเดือนมีนาคม 2023 โดยใช้ยานอวกาศรัสเซียกลับลงมาเหมือนเดิม
ส่วนต่างๆ ของสถานีอวกาศนานาชาติ ISS ถูกควบคุมโดยศูนย์ควบคุมปฏิบัติการบนพื้นโลก หน้าที่หลักของนักบินอวกาศรัสเซียจะเป็น “ผู้ควบคุมการโคจรและความเร็วของสถานีอวกาศ” ร่วมกับศูนย์ควบคุมรัสเซียบนพื้นโลก
ส่วนนักบินอวกาศสหรัฐ จะควบคุมระบบกระแสไฟฟ้าและเสบียง ชาติอื่นจะการสนับสนุนอื่นทั่วไป แต่ในปี 2024 องค์การอวกาศรัสเซีย (Roscosmos) มีกำหนดจะละทิ้งจากความร่วมมือกับสหรัฐ และยุโรป นั่นหมายถึง จะไม่มีมนุษยอวกาศรัสเซีย
และศูนย์ควบคุมรัสเซียบนพื้นโลกเชื่อมกับสถานีอวกาศ ในการควบคุมการโคจรและความเร็วของสถานีอวกาศนานาชาติ ISS และมันก็จะต้องตกลงสู่พื้นโลก ซึ่งจะทำให้สหรัฐ แคนาดา ญี่ปุ่น ยุโรป ไม่มีสถานีอวกาศที่จำเป็นต้องใช้สำหรับปฏิบัติการระยะยาวเพื่อการไปสู่ดวงจันทร์และดาวอังคาร
ด้านรัสเซียมีกำหนดเริ่มสร้างสถานีอวกาศของตนเอง เพื่อใช้เป็นฐานความร่วมมือทางอวกาศกับจีนที่มีสถานีอวกาศตนเองอยู่แล้ว ในโครงการสร้างห้องแลปทดลองทางวิทยาศาสตร์ถาวรบนขั้วใต้ของดวงจันทร์ที่จีนค้นพบแร่พลังงานสูง และสามารถสกัดน้ำได้ไปก่อนหน้าแล้ว ส่วนยาน Artemis-I และจรวด SLS ขององค์การอวกาศ NASA สหรัฐ ระบบเครื่องยนต์ยังซ่อมแซมนับครั้งไม่ถ้วน แต่วันที่ 27 ก.ย.จะพยายามปล่อยขึ้นสู่อวกาศไปวนรอบดวงจันทร์กับเขาบ้างสักครั้ง