เลือกข้าง!? จีนจับตาเกาหลีใต้จับมือสหรัฐติดตั้งขีปนาวุธ THAAD ส่อแตกหักปักกิ่ง

0

ดูหมือนว่าอาการของเกาหลีใต้จะเหมือนสหรัฐเข้าไปทุกที บอกกับจีนว่าไม่สนใจติดตั้งขีปนาวุธท้าดของสหรัฐ เกรงกระทบความสัมพันธ์ แต่มาวันนี้มีรายงานว่าการดำเนินการส่งมอบพื้นที่ในการติดตั้งขีปนาวุธท้าดเสร็จสมบูรณ์แล้ว กำลังจะดำเนินการขั้นต่อไป ฝ่ายจีนจับตาท่าทีของโซลว่า เป็นแบบพูดอย่างทำอย่างหรือไม่ เหตุการณ์ครั้งนี้เท่ากับว่า เกาหลีใต้ให้ความสำคัญกับสหรัฐเป็นหลักอย่างไม่เกรงใจว่าความสัมพันธ์กับจีนจะกระทบกระเทือน ก่อนหน้านี้ก็เข้าร่วมพันธมิตร ชิปโฟร์ต้านจีนด้านเทคโนโลยีมาแล้ว

วันที่ ๒๐ ก.ย.๒๕๖๕ สำนักข่าวโกลบัลไทมส์รายงานว่า รัฐบาลเกาหลีใต้ได้ปรับปรุงการติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธทาด(THAAD) ของสหรัฐฯ โดยเพิ่มพื้นที่ให้กับสหรัฐฯ เพื่อปฏิบัติการของหน่วยในซองจู ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่แสดงถึงเส้นทางเสี่ยงของ นักวิเคราะห์กล่าวว่าการเสริมสร้างความเป็นพันธมิตรระหว่างโซลกับวอชิงตันด้วยต้นทุนของความสัมพันธ์จีน

ผู้สังเกตการณ์เตือนว่าสถานการณ์ความขัดแย้งย่านทะเลจีนใต้ และคาบสมุทรเกาหลีนับวันทวีความรุนแรงขึ้นและการใช้งาน THAAD ต่อไปนั้น เสี่ยงที่จะดึงความสัมพันธ์จีน-เกาหลีใต้ลงเหวอีกครั้ง ซึ่งขัดต่อผลประโยชน์ของเกาหลีใต้เองเนื่องจากสหรัฐฯ ไม่เคยเป็นพันธมิตรที่น่าเชื่อถือ  

จีนและเกาหลีใต้มีปฏิสัมพันธ์ทางการทูตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากทั้งสองประเทศเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูตสามทศวรรษ 

หลี่ ฉานชู(Li Zhanshu) สมาชิกสภานิติบัญญัติระดับสูงของจีนกล่าวระหว่างการเยือนเกาหลีใต้เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า การจัดการประเด็นอ่อนไหวอย่างเหมาะสมมีความสำคัญต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีที่เข้มแข็งและมั่นคง 

เมื่อต้นเดือนสิงหาคม หวัง ยี่ มนตรีแห่งรัฐของจีนและรัฐมนตรีต่างประเทศจีน ได้พบกับรัฐมนตรีต่างประเทศเกาหลีใต้ พัก จิน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นนี้ โดยตกลงว่าควรเคารพข้อกังวลด้านความปลอดภัยของทั้งสองฝ่าย และทั้งสองประเทศควรพยายามจัดการกับ THAAD อย่างเหมาะสม เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคในความสัมพันธ์ทวิภาคี

ผู้สังเกตการณ์ตั้งข้อสังเกต เกาหลีใต้ไม่ควรเข้าใจผิดเกี่ยวกับการสื่อสารและสัญญาณเชิงบวกในความสัมพันธ์ทวิภาคี และเข้าใจว่าจีนจะยอมรับการติดตั้งระบบต้านขีปนาวุธของ THAAD 

สำนักข่าวยอนฮัปของเกาหลีใต้ อ้างแหล่งข่าวทางการทูตและการทหารเมื่อวันจันทร์ว่าเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศระดับสูงของเกาหลีใต้และผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯ ได้ลงนามในเอกสารเกี่ยวกับการจัดหาที่ดินเพื่อติดตั้ง THAAD โดยเสร็จสิ้นขั้นตอนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดแล้ว

ที่ดินทั้งหมด ๗๓๐,๐๐๐ ตร.ม. รวม ๓๓๐,๐๐๐ ที่มอบให้เมื่อ ๕ ปีที่แล้ว การส่งมอบหลังการก่อตั้งคณะกรรมการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม แสดงให้เห็นว่าความพยายามในการทำให้การปฏิบัติงานเป็นปกติของฐานทัพได้เข้าสู่ขั้นตอนสุดท้ายแล้ว 

ฉาน เดบิน(Zhan Debin) ผู้อำนวยการและศาสตราจารย์ที่ศูนย์การศึกษาคาบสมุทรเกาหลีของมหาวิทยาลัยธุรกิจระหว่างประเทศและเศรษฐศาสตร์แห่งเซี่ยงไฮ้ กล่าวว่า รัฐบาลเกาหลีใต้ในปัจจุบันมุ่งมั่นที่จะใช้ขีปนาวุธ THAAD แม้ว่าจะมีการประท้วงจากประชาชนในท้องถิ่นและการคัดค้านจากจีน 

จีนมีจุดยืนที่สอดคล้องกันว่าประเทศที่เป็นมิตรสามารถพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศอื่น ๆ ตามความสนใจของพวกเขาได้ แต่ความสัมพันธ์เหล่านั้นไม่ควรมุ่งเป้าไปที่ประเทศจีนโดยตรงหรือเป็นอันตรายต่อผลประโยชน์ของจีน 

นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่ง ประธานาธิบดี ยุน ซุกยอล ของเกาหลีใต้ ได้ผลักดันการเป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯ ยุนกำลังจะพบกับประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดน นอกรอบการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ซึ่งน่าจะหารือด้านการค้า และปัญหาคาบสมุทร 

ยุนและไบเดน อาจหารือเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการลดอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ซึ่งไม่รวมการเว้นภาษียานพาหนะไฟฟ้าที่ประกอบนอกอเมริกา หากปราศจากแรงจูงใจด้านภาษี ทำให้เกิดความกังวลว่าจะเป็นอุปสรรคทางการค้าที่สำคัญสำหรับรถยนต์ที่ผลิตจากเกาหลีจะส่งออกไปอเมริกาไม่ได้ 

ฉานกล่าวว่า นโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ มักจะรีดนมจากพันธมิตรเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง โซลควรประเมินอย่างรอบคอบว่าสามารถได้อะไรจากการเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดกับสหรัฐฯ มากขึ้น และอาจสูญเสียอะไรบ้าง

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า “ยุนอาจคิดว่า ความคล้ายคลึงกันในระบบและค่านิยมของสองประเทศ ทำให้เกาหลีใต้อาจสามารถรักษาสถานะที่เท่าเทียมกันมากขึ้น ทั้งด้านการค้าและความร่วมมืออื่นๆกับสหรัฐฯ แต่พระราชบัญญัติเงินเฟ้อเป็นบทเรียน และยุนจะค่อยๆ ตระหนักว่าเขาเข้าใจผิด” 

ด้านความมั่นคง สหรัฐฯ สามารถให้คำมั่นสัญญาและต้องการความร่วมมือจากเกาหลีใต้ในการฝึกซ้อมและการติดตั้งอาวุธ แต่ “ความมุ่งมั่นนี้ไม่สามารถยืนยันได้จนกว่าจะเกิดสถานการณ์ความขัดแย้งทางนิวเคลียร์ขึ้นจริงๆ” จางกล่าวว่าเมื่อมันเกิดขึ้น สหรัฐฯ สามารถละทิ้งเกาหลีใต้ได้ตลอดเวลา 

ผู้เชี่ยวชาญยังตั้งข้อสังเกตอีกว่ายิ่งเกาหลีใต้ใกล้ชิดกับสหรัฐฯมากเท่าไร ก็ยิ่งมีพื้นที่ว่างในการดำเนินกลยุทธ์เพื่อรักษาเอกราชน้อยลงเท่านั้น ในที่สุดก็ไม่อาจดิ้นรนหนีการควบคุมได้ในที่สุด