อุตตมจัดให้เยียวยานศ.ด้วย?!? หลังโรมชงช่วยคน2พันตามแนวอนค.

0

การช่วยเหลือเยียวยาโควิด-19 ของกระทรวงการคลัง ทำท่าว่าจะลื่นไหลไปเรื่อย โดยมีการยืนยันอยากจะช่วยให้มากที่สุด หลังจ่ายกลุ่มอาชีพต่างๆไป5,000 บาท ล่าสุดอุตตมจะช่วยนักศึกษาด้วย ซึ่งทางโรมเคยเสนอไว้ตามแนวพรรคอนาคตใหม่

ล่าสุดวันนี้(11เม.ย.63) นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงการเปิดลงทะเบียนรับเงินชดเชยรายได้ผู้รับผลกระทบจากโควิด -19 ขณะนี้มีเกิน 24-25 ล้านคนแล้ว กำลังอยู่ระหว่างตรวจสอบเพื่อเร่งจ่ายเงินให้เร็วที่สุด โดยข่าวที่บอกว่าจะเยียวยาแค่ 9 ล้านคนนั้น เป็นแค่ตัวเลขประมาณการ แต่หากมีผู้ได้รับผลกระทบเยอะกว่านั้นรัฐบาลก็พร้อมช่วยเหลือทุกกลุ่มตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี

“รวมถึงกลุ่มอาชีพที่ได้รับผลกระทบแต่ไม่ได้รับเงิน 5,000 บาท เช่น แรงงานก่อสร้าง นักศึกษา รัฐบาลก็กำลังหาทางช่วยเหลือให้ ตลอดจนกลุ่มเกษตรกรกว่า 17 ล้านคนก็จะมีมาตรการออกมาในเร็วๆ นี้ คนที่ไม่ผ่านตรวจสอบมีหลายล้านคนที่ได้รับสิทธิในระบบประกันสังคมอยู่แล้ว ซึ่งกลุ่มที่ได้รับมาตรการช่วยเหลืออื่นๆอยู่ก็ขอให้ใช้สิทธินั้นไป เช่น กลุ่มประกันสังคมตาม ม. 33 ส่วนคนที่ขายของในตลาดเดียวกันแต่ได้รับเงินไม่พร้อมกัน อาจเป็นเพราะมีข้อมูลบางอย่างที่ต่างกัน ซึ่งรัฐบาลพยายามตรวจให้เสร็จเร็วที่สุด”

นอกจากนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยังกล่าวอีกว่า ยืนยันว่ากระทรวงการคลังจะเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ให้ครอบคลุมมากที่สุด โดยการแจกเงิน 5,000 บาท ได้ตั้งกรอบงบประมาณรายจ่ายเป็นรายเดือน และสามารถปรับยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม ซึ่งเบื้องต้นจะใช้เงิน 600,000 ล้านบาท จาก พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท มาใช้ก่อน แต่หากใช้ไม่พอก็พร้อมโยกเงินก้อนที่เหลือ 400,000 ล้านบาทมาใช้ได้

อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 63 ที่ผ่านมา นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.พรรคก้าวไกล ได้ออกมาเสนอรัฐบาล เยียวยานิสิตนักศึกษา ช่วงโควิด-19 ระบาด โดยระบุว่า ตั้งแต่สถานการณ์โรค โควิด-19 แพร่ระบาด ตนได้รับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับนักเรียน-นักศึกษา เป็นจำนวนมาก ซึ่งพอจะสรุปให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ดังนี้

1.ประเด็นการขอคืนค่าเทอมบางส่วน เป็นข้อเรียกร้องให้มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง ทั้งมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน พิจารณาคืนค่าเทอมบางส่วนให้นักศึกษาเนื่องจากในช่วง โควิด-19 ระบาดเป็นต้นมา ได้มีการงดการเรียนการสอน เป็นการเรียนทางออนไลน์ แม้กระทั่งการสอบก็เป็นการสอบจากที่บ้าน/หอพัก ดังนั้นมหาวิทยาลัยจึงใช้ทรัพยากรและงบประมาณน้อยลงในการจัดการเรียนการสอน

  1. มีนิสิตนักศึกษาจำนวนมากที่ทำงานพาร์ทไทม์ เพื่อส่งตัวเองเรียน การมีมาตรการปิดสถานที่ต่างๆ จากสถานการณ์ โควิด-19 ย่อมกระทบต่อการทำงานพาร์ทไทม์ของนิสิตนักศึกษากลุ่มนี้ ทำให้ขาดรายได้ และนักศึกษากลุ่มนี้ไม่สามารถเดินทางกลับบ้านได้เนื่องจากไม่มีแม้แต่ค่ารถ 3.จากข้อ 2 ทำให้นักศึกษาบางคนมีปัญหาไม่มีเงินจ่ายหอพักในช่วงสิ้นเดือนที่ผ่านมา
  2. นักศึกษาที่กู้ยืมกยศ. หรือได้รับทุนจากมหาวิทยาลัย ไม่สามารถทำกิจกรรมอาสาตามเงื่อนไขของทุนการศึกษาได้ เนื่องจากหน่วยงานในมหาวิทยาลัยปิดทำการ ทำให้ขาดรายได้ในส่วนนี้ 5.ขณะนี้มีมหาวิทยาลัยหลายแห่งกำลังพิจารณาที่จะคืนค่าเทอมบางส่วนให้นักศึกษา เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ม.ธรรมศาสตร์, ม.ศรีปทุม, ม.หอการค้า ม.นอร์ทกรุงเทพ, ม.กรุงเทพ, ม.หาดใหญ่ เป็นต้น ในขณะที่มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติคืนค่าเทอมแล้ว 20% อย่างไรก็ดียังมีอีกหลายมหาวิทยาลัย ที่ยังไม่มีท่าทีใดๆ (เยียวยาโควิด-19)
  3. ผมไปดูเอกสารรายงานการเงิน และเอกสารที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ชี้แจงต่อ กมธ.งบประมาณ ปี 2563 ก็พบว่าสถานะทางการเงินของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งนั้นอยู่ในเกณฑ์ดี เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แต่หากมหาวิทยาลัยไหนที่อาจจะมีปัญหาในเรื่องของงบประมาณ รัฐบาลสามารถเข้ามาสนับสนุนเรื่องนี้ได้ (เยียวยาโควิด-19)
  4. มหาวิทยาลัยราชภัฎหลายแห่ง มีกองทุนสนับสนุนมหาวิทยาลัย ซึ่งสามารถนำกองทุนนี้มาใช้ช่วยเหลือนักศึกษาในช่วงนี้ได้ และโดยสถานการณ์นี้ก็ถือเป็นเรื่องสมควรแล้วที่จะใช้เงินจากกองทุนนี้(เยียวยาโควิด-19)

จากปัญหารูปธรรมข้างต้น ผมคิดว่ารัฐบาลควรมีมาตรการเยียวยา (โควิด-19)  ดูแลนิสิต นักศึกษา ดังนี้  1.ให้รัฐบาลและกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ประสานงานไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆให้พิจารณาคืนค่าเทอมในสัดส่วนที่เหมาะสมของแต่ละมหาวิทยาลัย หรือในอัตราขั้นต่ำ 20% หรือเกลี่ยงบประมาณอื่นๆ เพื่อเยียวยานักศึกษาทั่วประเทศทันที

2.ดำเนินนโยบายเงินเดือนเยาวชน(ตามที่นโยบายอดีตพรรคอนาคตใหม่เคยเสนอ) อุดหนุนให้เยาวชนอายุ 18-22 ปี เดือนละ 2,000 บาท เป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือน ซึ่งจะทำให้นักเรียน นักศึกษา สามารถวางแผนการใช้ชีวิตในช่วงนี้ได้ ทั้งนี้ประเทศไทยมีประชากรในกลุ่มวัยนี้ ประมาณ 4.3 ล้านคน (ธ.ค.62) จะใช้งบประมาณ 25,860 ล้านบาท  อาจมีเยาวชนที่อยู่ในระบบประกันสังคม หรือเป็นลูกจ้างสถานประกอบการ ก็ให้รับการเยียวยาจากมาตรการด้านแรงงาน(เยียวยาโควิด-19)

  1. มหาวิทยาลัยต่างๆ ควรพิจารณา ปรับลดค่าเทอมในเทอมต่อไป เนื่องจากการปิดมหาวิทยาลัยในช่วงนี้ ทำให้มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งสามารถประหยัดงบประมาณในด้านสาธารณูปโภคได้เป็นจำนวนมาก และยังเป็นการแบ่งเบาภาระที่นิสิตนักศึกษาต้องแบกรับในช่วงวิกฤตินี้อีกด้วย(เยียวยาโควิด-19)

ที่มา (https://www.dailynews.co.th/economic/768230)

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/873864