จากกรณีการส่งยานอวกาศพร้อมด้วยนักบินเพื่อสำรวจดวงจันทร์ของชาติมหาอำนาจ ซึ่งเป็นการแข่งขันกันมานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐกับรัสเซีย แต่ปัจจุบันจีนได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำ ที่สามารถไปสำรวจแร่และน้ำบนดาวอังคารได้อีกด้วย
ล่าสุดวันนี้ 19 กันยายน 2565 เพจWorld Update ได้ระบุที่มาจาก Wu Lie (สื่อด้านอวกาศจีน) ที่เปิดเผยถึงเหตุการณ์สำคัญของการสำรวจดาวนอกโลกไว้บางส่วนที่น่าสนใจว่า
“สหรัฐ มีความวิตกกังวลต่อการแข่งขันด้านอวกาศที่จีนก้าวกระโดดไปเร็วมากกว่าถึง 2 เท่า ไม่ว่าสหรัฐ ทำอะไรได้ จีนก็ทำได้เช่นกันแถมนำไปกว่าหนึ่งก้าวเสมอที่การเดินทางและสำรวจในอวกาศดูง่ายและราบรื่นไปหมด
ในขณะที่สหรัฐ ประสบปัญหานานับประการโดยเฉพาะโครงการ Artemis-1 ที่จะไปวนรอบแค่รอบดวงจันทร์พร้อม มนุษย์เทียมสร้างความอับอายให้องค์การอวกาศ NASA สหรัฐนับครั้งไม่ถ้วนที่ไม่สามารถยิงจรวด SLS ขึ้นจากฐานปล่อยได้ ทั้งที่พยายามแล้วพยายามอีกเชื้อเพลิงก็ยังรั่วเครื่องยนต์ยังพังต่อเนื่อง แม้สหรัฐ จะส่งยานสำรวจไปดาวอังคาร แต่อินเดีย และจีนก็ทำได้เหมือนกัน สหรัฐบอกว่าเจอน้ำ จีนก็เจอน้ำเช่นกัน
วันที่ 15 กันยายน 2565 องค์การอวกาศจีน ส่งยาน Tianwen1 ไปโคจรที่ดาวอังคารนานกว่า 780 วัน รถแลนด์โรเวอร์ Zhurong Mars เดินทางบนผิวดาวระยะทาง 1,921 เมตร ไม่รีบร้อนค่อยๆ เก็บข้อมูล 1,480 GB ส่งข้อมูลมายังศูนย์บัญชาการจีนบนโลก พบลักษณะธรณีสัณฐานทั่วไปดาวอังคาร เช่น โคลน หลุมอุกกาบาต และร่องน้ำในพื้นที่ลงจอด
กิจกรรมทางน้ำที่จีนพบมีความเกี่ยวข้องที่สำคัญกับการก่อตัวของธรณีสัณฐานเหล่านี้ ภาพถ่ายจากกล้องและข้อมูลสเปกตรัม พบ แร่ธาตุที่มีน้ำอยู่ในหินแข็ง ใกล้กับพื้นที่ลงจอด ซึ่งพิสูจน์ได้ว่ามีกิจกรรมทางน้ำที่เป็นของเหลวจำนวนมากในพื้นที่ลงจอดตั้งแต่ราว 1,000 ล้านปีก่อน ตามเส้นทางของรถแลนด์โรเวอร์
ภาพจากกล้อง และข้อมูลอื่นๆ จีนพบว่าดินในพื้นที่ลงจอดมีกำลังรับแรงอัดสูงและมีค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานต่ำ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะคือน้ำจากกิจกรรมและการกัดเซาะของทราย
การค้นพบใหม่เหล่านี้เผยให้เห็นผลกระทบของทรายและน้ำที่มีต่อวิวัฒนาการทางธรณีวิทยาและการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมของดาวอังคาร สนับสนุนสมมติฐานการเคยมีมหาสมุทรในภูมิภาคของ Utopia Planitia และเสริมสร้างความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ของมนุษย์เกี่ยวกับวิวัฒนาการทางธรณีวิทยาดาวอังคารและการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
เท่านั้นยังไม่หนำใจพอ จีนยังหักหน้าสหรัฐ ที่ยังหาทางปีนขึ้นไปเหยียบบนดวงจันทร์ไม่ได้ โดยล่าสุด Wu Yanhua รองผู้อำนวยการองค์การอวกาศแห่งชาติจีน (CNSA) และ Salem Humaid AlMarri ผู้อำนวยการทั่วไปของ Mohammed Bin Rashid Space Center (MBRSC) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE)ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) ในความร่วมมือในภารกิจ สำรวจแร่พลังงานดวงจันทร์ ในโครงการ Change7
เป็นความร่วมมือครั้งแรกระหว่าง 2 ประเทศในภาคอวกาศ โดย UAE จะมีรถแลนด์โรเวอร์ลำแรก สำรวจดวงจันทร์ชื่อ “Rashid-2” ที่จะพัฒนาโดย UAE เอง โดยจีนจะจัดบริการลงจอดบนผิวดวงจันทร์ การส่งข้อมูล ตลอดจนการสังเกตการณ์และการควบคุม
จีนเพิ่งประกาศความร่วมมือกับรัสเซีย มีกำหนดจะใช้ยานอวกาศมากกว่า 3 ลำขนอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ไปตั้งถิ่นฐานและห้อง Lab ถาวรบนดวงจันทร์ขั้วใต้ ที่สำรวจไว้เบื้องต้นแล้ว เพื่อใช้ประโยชน์จากแร่พลังงานที่ค้นพบใหม่ เช่น Helium-3 , Changesite-(Y) และน้ำที่มีบริเวณนั้น
ยังไม่รู้ว่าในศตวรรษที่ 20 ระหว่างสหรัฐ กับ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ใครจะนำรถแลนด์โรเวอร์ไปวิ่งเล่นบนดวงจันทร์ก่อน แต่สหรัฐตามจีนไม่ทันแล้ว”