ผู้สังเกตุการณ์การสู้รบ ต่างตั้งคำถามว่า ทำไมสหรัฐและนาโต้ไม่ลงมือปราบรัสเซียด้วยอาวุธสุดไฮเท็ค เมื่อสหรัฐเคลมว่ามีกองทัพและอาวุธที่เกรียงไกร แต่ดูเหมือนว่า นับตั้งแต่รัสเซียเปิดปฏิบัติการพิเศษทางทหารในยูเครนกลับเป็นฝ่ายต้องควักออกมาใช้ เมื่อการยุทธ์ผ่านมาเข้าเดือนที่ ๗ เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ต้องใช้อาวุธชั้นสูงอย่าง ขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิคที่มีความเร็วเหนือเสียงในสมรภูมิสงครามตัวแทนยูเครนถึง ๓ ครั้ง ในช่วงเวลาเดียวกันด้านจีนก็ได้เปิดตัวขีปนาวุธไฮเปอร์ฯรุ่นใหม่ เพื่อแสดงศักยภาพเตือนไต้หวันและสหรัฐในการซ้อมล็อกดาวน์เกาะอย่างต่อเนื่องนับสัปดาห์
จีนทดสอบขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิคใกล้ไต้หวัน ที่สื่อทางการจีนเรียกว่า “การซ้อมปฏิบัติการรวมชาติ” ได้ก่อความวิตกกังวลแก่สหรัฐและพันธมิตรในย่านเอเชีย-แปซิฟิกไม่น้อย เพราะเปิดตัวขีปนาวุธเหนือเสียง ซึ่งในช่วงนั้นสหรัฐยังไม่ประสบความสำเร็จในการทดสอบ ทำให้ทางเพนตากอนเร่งจับมือกับญี่ปุ่นทำการวิจัยร่วมกันเกี่ยวกับวิธีการต่อต้านอาวุธไฮเทค เพิ่งเริ่มตั้งไข่ไหนจะทันรับมือกับอาวุธไฮเทคเหนือชั้นของพันธมิตรจีน-รัสเซีย ที่ตอนนี้พัฒนาไปไกลทั้งขีปนาวุธระยะสั้นและระยะไกล ทั้งสามารถมุดใต้ทะเล อ้อมโค้งฟ้า และทีเด็ดมากคือยิงมาจากอวกาศ ซึ่งรัสเซียและจีนต่างกล่าวว่า ยังไม่มีระบบป้องกันอากาศยานของประเทศใดในโลกตรวจสอบหรือต้านทานได้
วันที่ ๑๘ ก.ย.๒๕๖๕ สำนักข่าวรัสเซียทูเดย์และมิลลิทารี ดอทคอม รายงานว่ากองทัพจีนได้เปิดตัวขีปนาวุธเหนือเสียงครั้งแรกในการซ้อมรบรอบเกาะไต้หวันเพื่อเตือน สหรัฐและไต้หวันว่าหากมีการรบเกิดขึ้น จีนจะใช้ยุทธวิธีและอาวุธยุทโธปกรณ์อย่างไรบ้าง ซึ่งในสงครามจริงอาจดุเดือดกว่าที่ซ้อมให้ดู
การซ้อมรบทางทหารขนาดใหญ่ที่ปักกิ่งได้เปิดตัวใกล้กับไต้หวันเพื่อตอบโต้การเยือนเกาะของประธานสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐฯ แนนซี่ เปโลซี ซึ่งเกี่ยวข้องกับ“การใช้อาวุธขั้นสูง”รวมถึงขีปนาวุธดีเอฟ-๑๗ (DF-17) ที่มีความเร็วเหนือเสียง
การซ้อมรบเกี่ยวข้องกับ“การฝึกปิดล้อม การโจมตีทางทะเล และการต่อสู้ทางบกและทางอากาศ” โดยเครื่องบินขับไล่ล่องหนเจ-๒๐ (J-20) ตัวท็อปของจีนก็มีส่วนร่วมในเกมสงครามเช่นกันอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
ขีปนาวุธดีเอฟ-๑๗ (DF-17) เปิดเผยต่อสาธารณะเป็นครั้งแรกโดยกองทัพจีนเมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ในขณะนั้นเป็นการฉลองครบรอบ ๙๕ ปีของการก่อตั้ง กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนหรือ PLA สื่อจีนขนานนามว่า “ขีปนาวุธนักฆ่าเรือบรรทุกเครื่องบิน”
ดีเอฟ-๑๗ ซึ่งย่อมาจากตงเฟิง หมายถึงลมตะวันออก (Dongfeng (East Wind) ได้รับการกล่าวขานว่าใช้เครื่องร่อนไฮเปอร์โซนิกเป็นหัวรบ ซึ่งบินได้เร็วกว่าความเร็วเสียงถึง ๕ เท่าและมี “วิถีวิถีที่คาดเดาไม่ได้” ขีปนาวุธดังกล่าวสามารถโจมตี“เป้าหมายที่เคลื่อนที่ช้า” ได้ดีเป็นพิเศษ เช่น เรือบรรทุกเครื่องบิน
ด้านsuperweapons ของรัสเซีย ก็เป็นอีกสาเหตุให้เกิดความกังวลของสหรัฐและพันธมิตรเนื่องจากระบบเตือนภัยล่วงหน้าแบบดั้งเดิมของสหรัฐอาจไม่สามารถมองเห็นอาวุธเหล่านั้นได้ ทำให้หลายคนเรียกว่าเป็นอาวุธล่องหน
เช่นขีปนาวุธคินซาล รุ่นเคเอช-๔๗ เอ็มทู(Kh-47M2/ Kinzhal) ที่มีความเร็วเหนือเสียงของรัสเซียได้เข้าประจำการมาหลายปีแล้ว และนำไปใช้ในยูเครนอย่างระมัดระวัง
อีกตัวหนึ่งซึ่งรัสเซียภูมิใจมาก ขีปนาวุธที่มีความเร็วเหนือเสียง (3M22 Sercon)๓ เอ็ม ๒๒เซอร์คอน ศักยภาพ บินได้เร็วและระยะต่ำมาก ด้วยความเร็วสูงสุดถึง ๖ มัค และวิถีขีปนาวุธในชั้นบรรยากาศที่ต่ำ สามารถเจาะระบบป้องกันขีปนาวุธแบบดั้งเดิมได้ทุกระบบ
ขีปนาวุธดังกล่าวบินด้วยเชื้อเพลิงขั้นสูงที่รัสเซียระบุว่ามีพิสัยไกลถึง ๑,๐๐๐ กิโลเมตร และมันก็เร็วมากจนความดันอากาศที่ด้านหน้าของอาวุธก่อตัวเป็นเมฆพลาสมาในขณะที่มันเคลื่อนที่ ดูดซับคลื่นวิทยุและทำให้ระบบเรดาร์ที่ทำงานอยู่แทบจะมองไม่เห็น
ระบบสกัดกั้นขีปนาวุธเอจิส (Aegis)ของสหรัฐต้องใช้เวลาตอบสนอง ๘-๑๐ วินาทีเพื่อสกัดกั้นการโจมตีที่เข้ามา ในช่วง ๘-๑๐ วินาทีนั้น ขีปนาวุธเซอร์คอนของรัสเซียจะเดินทางไปก่อนแล้ว ๒๐ กิโลเมตร และขีปนาวุธสกัดกั้นเคลื่อนที่ไม่เร็วพอที่จะตามทัน
ขณะอยู่ในทะเล เรือคอร์เวตต์ คลาสไบยัน (Buyan) จำนวน ๑๕ลำของรัสเซียจะบรรทุกขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกของเซอร์คอนได้มากถึง ๒๕ ลูก จะใช้เวลาน้อยกว่า๑๒ นาทีของขีปนาวุธเหล่านั้น ในการจมได้แม้กระทั่งเรือบรรทุกเครื่องบินที่ทันสมัยที่สุดของอเมริกา เช่นยูเอสเอส เจอร์ราลด์ อาร์ ฟอร์ด (USS Gerald R. Ford)
ความก้าวหน้าของขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิคทั้งของรัสเซียและจีน ทำให้กองทัพสหรัฐฯต้องติดต่อไปยังญี่ปุ่นเพื่อทำการวิจัยร่วมกันเกี่ยวกับวิธีการต่อต้านอาวุธไฮเทคโดยเฉพาะและเร่งด่วน
ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ พบกับยาสึคาสึ ฮามาดะ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของญี่ปุ่น ที่สำนักงานใหญ่ของเพนตากอนเมื่อวันพุธสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยพวกเขาหารือเกี่ยวกับการประสานงานทางทหารในอนาคตระหว่างทั้งสองประเทศ