วุ่นแล้ว! สหรัฐแฉเอง ยูเครนเคยรับปากไม่ใช้จรวดUSA โจมตีแผ่นดินรัสเซีย แต่เรื่องแดง-ถามตอบอ้ำอึ้ง

0

จากสถานการณ์สู้รบของรัสเซียกับยูเครนที่ดำเนินต่อเนื่องมาหลายเดือน โดยมีสหรัฐและชาติตะวันตกได้สนับสนุนเงินและอาวุธต่อยูเครนเป็นจำนวนมาก แล้วต่างพากันคว่ำบาตรรัสเซีย ทำให้มีการตอบโต้ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงเกิดขึ้น

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2565 สื่อต่างประเทศรายงานว่า กระทรวงการต่างประเทศรัสเซียเตือนสหรัฐฯ หากตัดสินใจจัดหาขีปนาวุธพิสัยไกลแก่เคียฟจะเท่ากับเป็นการ ข้ามเส้นตาย และกลายเป็นหนึ่งในความขัดแย้งในยูเครน โดยมาเรีย ซาคาโรวา โฆษกกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย ระบุเพิ่มเติมระหว่างแถลงสรุปประจำวันเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาว่า รัสเซียขอสงวนไว้ซึ่งสิทธิในการปกป้องอาณาเขตของตนเอง

ที่ผ่านมาทางวอชิงตันจัดหาระบบจรวดหลายลำกล้อง (MLRS) ล้ำสมัยแก่ยูเครน ซึ่งยิงจากฐานยิงจรวดหลายลำกล้องเคลื่อนที่เร็ว (HIMARS) และสามารถโจมตีเป้าหมายได้ไกลสูงสุดถึง 80 กิโลเมตร ซึ่งถือเป็นการจัดหาอย่างเปิดเผย “ถ้าวอชิงตันตัดสินใจจัดหาขีปนาวุธพิสัยไกลแก่เคียฟ เมื่อนั้นมันจะเป็นการข้ามเส้นตาย และจะกลายเป็นหนึ่งในความขัดแย้งโดยตรง” ซาคาโรวา กล่าว

ก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เคยบอกว่ายูเครนรับปากว่าจะไม่ใช้จรวดของสหรัฐฯ โจมตีเป้าหมายต่าง ๆ ในแผ่นดินรัสเซีย ในรายงานระบุว่า แท่นยิง HIMARS ยังสามารถใช้ยิงขีปนาวุธทางเทคนิค ATACMS ที่มีพิสัยทำการไกลกว่า มีระยะทำการสูงสุด 300 กิโลเมตร

และเมื่อวันที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา ทางเจ้าหน้าที่ระดับสูงของยูเครน ปฏิเสธให้ข้อมูลว่าเวลานี้เคียฟมีขีปนาวุธ ATACMS อยู่ในครอบครองแล้วหรือไม่ และยังไม่มีคำอธิบายอย่างสมบูรณ์เกี่ยวกับเหตุโจมตีเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม เล่นงานฐานทัพอากาศของรัสเซียแห่งหนึ่งที่เมืองซากี ในแหลมไครเมีย ซึ่งห่างจากดินแดนที่ภายใต้การควบคุมของยูเครนที่อยู่ใกล้ที่สุดราว ๆ 200 กิโลเมตร

ทั้งนี้ มอสโกผนวกไครเมียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนในปี 2014 ความเคลื่อนไหวที่ไม่ได้รับการรับรองจากประชาคมนานาชาติ โดยยูเครนร้องขอ และได้รับอาวุธปริมาณมากจากสหรัฐฯ รวมทั้งพันธมิตรตะวันตก เพื่อช่วยต้านทานกองกำลังติดอาวุธของรัสเซียที่ยกพลเข้าสู่ยูเครนเมื่อช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์

มอสโกอ้างว่าจำเป็นต้องส่งทหารเข้าไปในยูเครน เพื่อขัดขวางไม่ให้ตะวันตกใช้ยูเครนเป็นฐานรุกรานพวกเขา และเพื่อปกป้องพลเรือนที่พูดภาษารัสเซีย

อย่างไรก็ตามเคียฟ และพันธมิตรตะวันตกปฏิเสธคำกล่าวอ้างดังกล่าว โดยบอกว่ามันเป็นคำกล่าวอ้างที่ไร้สาระเพื่อทำสงครามการรุกรานในรูปแบบจักรวรรดินิยม เมื่อเดือนที่แล้ว สหรัฐฯ แถลงมอบความช่วยเหลือด้านการทหารรอบใหม่แก่ยูเครนอีก 3,000 ล้านดอลลาร์ ถือเป็นการช่วยเหลือก้อนใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ที่มอบแก่เคียฟนับตั้งแต่ถูกรัสเซียรุกราน

รวมแล้วพวกเขารับปากจะมอบความช่วยเหลือด้านความมั่นคงแก่ยูเครนแล้วกว่า 10,600 ล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่เริ่มเข้าสู่รัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดน

ล่าสุด จอห์น เคอร์บี โฆษกด้านความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว ให้สัมภาษณ์กับพวกผู้สื่อข่าวในวันพุธ (14 ก.ย.) ว่ารัฐบาลไบเดน น่าจะแถลงแพกเกจความช่วยเหลือด้านการทหารรอบใหม่มอบแก่ยูเครน ในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้