กล้าได้กล้าเสียเพื่อคนไทย?? ส.อ.ท.ดันรัฐบาลซื้อน้ำมันถูกรัสเซีย คุมต้นทุนสินค้า แก้วิกฤตพลังงานแพง

0

วิกฤตราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นยังคงเป็นจุดเริ่มต้นของพายุเศรษฐกิจลุกใหญ่ที่กำลังถาโถมใส่โลก เริ่มจากการคว่ำบาตรพลังงานของรัสเซีย หวังให้รัสเซียอ่อนแอทางเศรษฐกิจ และยอมสิโรราบต่อวาระวอชิงตัน  แต่ผลกลับย้อนกลับสหรัฐและบริวารอ่วมหนัก ประเทศไทยเองก็ไม่ยกเว้น

ล่าสุดภาคเอกชนโดยส.อ.ท.หนุนให้รัฐบาลซื้อน้ำมันจากรัสเซีย ซึ่งประกาศขายในราคาลดแก่ประเทศในเอเชียอย่างเปิดเผย และเพื่อนบ้านในอาเซียนทั้งอินโดนีเซีย เมียนมาและลาว ต่างสั่งซื้อเข้ามาแก้ปัญหารับมือวิกฤตพลังงาน ที่ส่งผลต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจหลังโควิดระบาดกันอย่างคึกคัก เพื่อลดผลกระทบจากการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ที่มีราคาแพงกว่า โดยเฉพาะการลดค่าไฟฟ้า นอกจากนี้ ภารเอกชนยังเสนอให้สำนักงานกกพ.เร่งเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้มากกว่าที่เป็นอยู่

วันที่ ๑๔ ก.ย.๒๕๖๕ นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ส.อ.ท.เห็นว่าค่าไฟฟ้าที่แพงได้ส่งผลกระทบต่อทุกฝ่ายและจะฉุดรั้งเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป จึงเห็นว่าแนวทางในการแก้ไขต้นทุนพลังงานที่สูงที่สำคัญ คือ 

๑. นำเข้าพลังงาน เช่น น้ำมันสำเร็จรูปจากรัสเซียเพื่อมาใช้ผลิตไฟฟ้าทดแทนการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวตลาดจร หรือ Spot LNG ที่มีราคาแพง 

๒. สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ควรเปิดรับซื้อไฟส่วนเกินที่เหลือจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ เช่น โรงไฟฟ้าจากชีวมวลจากผู้ผลิตไฟรายเล็ก (SPP) และเล็กมาก( VSPP) ในราคาต่ำเพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงที่แพงกว่าเพื่อลดผลกระทบค่าไฟแพง

นายอิศเรศกล่าว“ค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือ Ft ในรอบ 4 เดือนสามารถบริหารจัดการล่วงหน้าอยู่แล้ว เห็นว่าผู้ผลิตที่เป็นพลังงานหมุนเวียนที่เหลือจากการใช้มีพอสมควรสามารถเปิดบิดดิ้งให้เขาขายได้เอาราคาไม่ต้องสูงต่ำๆ ๓ บาทต่อหน่วยก็จะช่วยลดการนำเข้า LNG ที่แพงได้” 

ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบค่าพลังงานและค่าไฟของไทยที่แพงขึ้นมาจากปัจจัยสำคัญคือ การที่แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยหรือพีดีพีพึ่งพาเชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติ และการขาดแผนสำรองที่ดีในการบริหารจัดการก๊าซในอ่าวไทยที่ทำให้ปริมาณลดลงและนำไปสู่การนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณสำรองไฟฟ้าของไทยมีมากกว่าความต้องการถึง ๕๒ % ซึ่งอัตราเฉลี่ยปกติควรอยู่ที่ไม่เกิน ๑๕% ทำให้เป็นภาระต้นทุนของประเทศ

นายอิศเรศกล่าวว่า “สำรองที่สูงดังกล่าวส่วนหนึ่งยอมรับว่ามาจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวโดยเฉพาะโควิด-๑๙ แต่ส่วนหนึ่งนั่นเป็นเพราะการวางแผนที่มีการคาดการณ์ความต้องการที่สูงเกินไปด้วยเช่นกัน ขณะเดียวกันยังมีการรับซื้อไฟฟ้าจากเอกชนที่มากเกินความจำเป็น และอีกเหตุผลคือการที่เราขาดกลไกตลาดเสรีของพลังงานอย่างแท้จริง” 

ด้านประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน อินโดนีเซียกลายเป็นลูกค้ารายใหญ่ของรัสเซีย ในภูมิภาคนี้ เมินค่ำขู่ของสหรัฐที่จะลงโทษประเทศที่ซื้อน้ำมันรัสเซีย โดยไม่ยึดราคาที่สหรัฐและประเทศตะวันตกกำหนดเพดานไว้ เอาเข้าจริงราคาที่รัสเซียขายให้อินโดนีเซียอาจต่ำกว่าราคาที่ตะวันตกกดไว้ก็เป็นได้

ด้านสปป.ลาว จากเว็บไซต์ loatian times รายงานว่า รัฐบาลสปป.ลาว กำลังแก้ไขวิกฤติน้ำมันขึ้นราคา หลังจากราคาน้ำมันเบนซินในประเทศราคาปรับขึ้นไปเป็นสิตรละ ๕๖.๙๗ บาท ดีเซลลิตรละ ๔๙.๗๕ บาท ตั้งแต่วันที่ ๙ พฤษภาคมที่ผ่านมา 

โดยสมาคมเชื้อเพลิงและก๊าซแห่งสปป.ลาว และหอการค้าและอุตสาหกรรมสปป.ลาว รวมกับภาคเอกชน ได้ร่วมประชุม เพื่อหาทางออกปัญหาโดยนายคำเพ็ง ไซสมเพ็ง รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม เปิดเผยว่ารัฐบาลได้หาทางออกทั้งระยะสั้นและระยะยาวเมื่อเจอวิกฤตเชื้อเพลงโดยตัดสินใจสั่งซื้อเชี้อเพลิงจากรัสเซีย

และที่ไม่เซอร์ไพรซ์คือ เมียนมาหลังจากเดินทางเข้าร่วมประชุมสุดยอดเศรษฐกิจตะวันออก EEF ที่เมืองวลาดิวอสต็อกเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เข้าพบปธน.ปูตินแล้วก็ไม่ลังเลสั่งซื้อสินค้าพลังงานเกือบทุกชนิดจากรัสเซียทันที

เสียงนี้จะดังไปถึงรัฐบาลหรือไม่ไม่รู้ แต่ท่าทีล่าสุด รองนายกฯสุพัฒนพงษ์ กางแผน ฝ่าวิกฤตราคาน้ำมัน โดยเตรียมประมูลแหล่งก๊าซธรรมชาติรอบใหม่ เดินหน้าเจรจาพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ลดหย่อนภาษีส่งเสริมบ้านพักอาศัยติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป-ร่นระยะเวลาออกใบอนุญาต ไม่เกิน 45 วัน!!