หลังจากที่มีการวิเคราะห์ของบรรดากูรู ว่าสถานการณ์ในสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ยืดยื้อนานกว่า 7 เดือนนั้น ในการถล่มเดือดในพื้นที่คาร์คีฟ และมีการตอบโต้กลับ ถล่มโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของยูเครนนั้น จะเป็นจุดเริ่มต้นที่นาโต้อยากเปิดหน้ารบกับรัสเซียตรง ๆ มากกว่า ไม่ว่าใครจะขึ้นมานำทัพ ทั้งสหรัฐฯ อังกฤษหรือเยอรมันนี น่าจะมีเป้าหมายเดียวกันคือ พร้อมเปิดฉากสงครามครั้งใหม่ให้เดือดกว่าเดิม
ทั้งนี้การออกมารุกเดือด ทวงคืนพื้นที่ของยูเครน ที่เคยนิ่งเงียบมานานหลายเดือน เสมือนเป็นสัญญาณสุดท้ายที่ยูเครนต้องสู้แบบกลั้นใจ แม้ว่าอาวุธและกำลังจะพลไม่พร้อมมากนัก เนื่องจากตะวันตกก็ยังคงลังเลที่จะช่วยเหลือต่อ การต่อสู้ของยูเครนครั้งนี้ นักวิชาการต่างมองว่า ประมาทก่อนไปที่จะเสียกำลังพลจำนวนมาก เพราะสู้รัสเซียไม่ได้ เพราะจากที่เคยนิ่งเงียบไมหลายเดือน และคลังแสงของรัสเซียมีมากกว่าเห็น ๆ ดังนั้นสถานการณ์ในยูเครนตอนนี้ ดูเหมือนจะหันไปทางไหนก็เริ่มจนมุม จะสู้ต่อก็ไม่มีทางชนะ แต่หากไม่สู้ก็ไม่รอดเช่นกัน
ล่าสุดผู้เชี่ยวชาญประเมินว่า การที่ยูเครนมีชัยเหนือรัสเซียในการทวงคืนพื้นที่ อาจเป็นการบีบให้ปูตินใช้อาวุธนิวเคลียร์ โดยความคืบหน้าในสงครามรัสเซีย-ยูเครนทำให้บรรดาชาติตะวันตกตื่นเต้น เมื่อยูเครนใช้แผนลวงหลอกล่อรัสเซียจนสามารถยึดพื้นที่บริเวณภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือคืนมาได้สำเร็จหลายพันตารางกิโลเมตร และผลักดันกองกำลังรัสเซียให้ถอยไปจากชายแดนได้
แต่ท่ามกลางความชื่นชมยินดีนี้ ผู้เชี่ยวชาญหลายคนออกมาพยากรณ์ว่า นี่จะนำไปสู่การตัดสินใจใช้ “อาวุธนิวเคลียร์” ของประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูติน หรือไม่ ต้องติดตามแบบห้ามคลาดสายตา
ผู้เชี่ยวชาญมองไว้ 2 มุมมองว่า หากการถอยจากคาร์คีฟ คือความพ่ายแพ้ที่รัสเซียไม่ยอมรับ ก็เป็นเหมือนกับการตบหน้าปูตินฉาดใหญ่ และปูตินเองก็ถูกกดดันอย่างหนัก ทั้งจากผู้สนับสนุนซึ่งเรียกร้องให้มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ และจากผู้ต่อต้านที่ต้องการให้ยุติการสู้รบ หรือถึงขั้นเรียกร้องให้ปูตินลาออก ดังนั้นหลังจากนี้ การเดินเกมของปูตินจะไม่มีทางเหมือนเดิม และคาดเดาไม่ได้
จนทำให้ทั่วโลกจับตามองว่า เมื่อเจอกับแรงกดดันทั้งภายในและภายนอก ก็ไม่แปลกใจที่จะเกิดความกังวลว่า หากปูตินต้องการสร้างผลงานใน “ปฏิบัติการพิเศษทางทหารในยูเครน” ให้เป็นที่ประจักษ์ การใช้อาวุธนิวเคลียร์ก็เป็นหนึ่งในแนวทางที่เป็นไปได้อย่างยิ่ง
อย่างไรก็ตามทางด้านโรส ก็อตต์โมลเลอร์ อดีตรองเลขาธิการนาโต (NATO) ออกมากระพือข่าว เป็นสัญญาณเตือนว่า ปูตินอาจตัดสินใจใช้อาวุธนิวเคลียร์ และชัยชนะที่เซเลนสกีอวดอ้าง ในเขตภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของยูเครน ทำให้เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ มองว่า ชัยชนะนี้อาจเป็นจุดเปลี่ยนของสงคราม ยูเครนไม่มีทางเลือกมากนัก จนมีประโยคหนึ่งที่เขากล่าวว่า “ฉันกลัวว่าพวกเขาจะโจมตีกลับตอนนี้ด้วยวิธีที่คาดเดาไม่ได้จริง ๆ และอาจเกี่ยวข้องกับอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูง”