The Great Reset!? ยุโรปล่มสลายกระจายยากจน ผู้นำตามก้นสหรัฐ ก่อวิกฤติพลังงาน เดินหน้าสงครามแตกหัก

0

การผลัดแผ่นดินของอังกฤษ ไม่ได้ส่งผลการเปลี่ยนแปลงบทบาทของสหราชอาณาจักรต่อสงครามตัวแทนในยุโรปที่ยูเครนแต่อย่างใด ท่าทีของสหภาพยุโรปและนาโต้ยังแข็งกร้าวและสนับสนุนต่อสู้กับรัสเซียและจีนตามวาระวอชิงตันอย่างแข็งขัน

แกนนำสำคัญของยุโรปทั้งเยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศสประกาศว่าสามารถดิ้นรนรับมือกับการตัดก๊าซของรัสเซียได้ แบบปากกล้าขาสั่น เพราะเบื้องหลังเอกชนของยุโรปต่างพากันดิ้นรนหาซื้อพลังงานจากแหล่งอื่นๆทั้งตะวันออกกลาง อาฟริกา เอเชียซึ่งทั้งจีนและอินเดียได้กลายร่างเป็นเอเย่นน้ำมันของรัสเซียไปเรียบร้อยแล้ว แต่เท่าที่ได้ก็ไม่อาจครอบคลุมทั้งภาคอุตสาหกรรมและครัวเรือนของประชาชนยุโรปทั่วทั้งภูมิภาค เพราะเคยใช้น้ำมันและก๊าซจากรัสเซียเป็นส่วนใหญ่มาตลอดหลายทศวรรษ พอมาตัดทันทีตามคำสั่งลูกพี่สหรัฐก็เลยไม่อาจหามาทดแทนได้จริง ทุกวันนี้จึงเริ่มได้เห็นการประท้วงในฝ่ายภาคประชาชนอาชีพต่างๆมากขึ้นและมากขึ้น

ล่าสุดชาวออสเตรียแห่ประท้วงตามท้องถนนต่อต้านเรื่องค่าครองชีพ ปัญหาเงินเฟ้อและผลกระทบจากการคว่ำบาตรต่อต้านรัสเซีย ไล่บี้รัฐบาลตามก้นวอชิงตันทำงานเพื่อโลกาภิวัฒน์ไม่สนใจชีวิตประชาชน  ก่อนหน้านี้การประท้วงที่กรุงปร้ากครั้งล่าสุดนับแสนคนชุมนุมต่อต้าน NATO และสหภาพยุโรป เดือนที่ผ่านมาการชุมนุมประท้วงทั่วยุโรปโดยชาวนาและหลายวิชาชีพปะทุต่อเนื่องนับแสนเช่นกัน ภาพรวมเช่นนี้ยืนยันได้ว่าผู้นำยุโรปทั้งหลายไม่สามารถแก้ไขพายุมหาวิกฤติที่เริ่มต้นมาจากการตัดขาดพลังงานรัสเซียได้อย่างแท้จริง

ด้านเพจสาธารณะ World Maker รายงานสถานการณ์สงครามพลังงานแง่มุมหนึ่งไว้น่าสนใจดังนี้:

จับตาศึกพลังงานโลก !!!ล่าสุดยุโรปประกาศเตรียมรับมือ ‘แรงกดดันขั้นสูงสุด’ จากรัสเซีย ชี้เคลมลินจะเริ่มสูญเสียศักยภาพเร็ว ๆ นี้ ! ขณะที่ผู้นำเยอรมนีลั่น ! เตรียมพร้อมแล้ว สำหรับการตัดก๊าซรัสเซียท่ามกลางภาวะสงคราม ! บางคนกล่าววิกฤตนี้อาจรุนแรงถึงขั้นเดียวกับตอนที่เลแมน บราเดอร์ส( Lehman Brothers) ล้ม ?? เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับ The Great Reset หรือไม่ ? 

“เรากำลังอยู่ในภาวะสงคราม” ปธน.ฝรั่งเศส Emmanuel Macron กล่าวเอาไว้ในวันจันทร์ที่แล้ว ในขณะที่เข้าร่างมาตรการฉุกเฉินของฝรั่งเศสเพื่อสำรองพลังงานและช่วยเหลือธุรกิจ/ครัวเรือน จากภาวะต้นทุนพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น

โดยรวมแล้ว รายงานระบุว่ามีความเสี่ยงสูงทีเดียวที่วิกฤตพลังงานอาจคงอยู่ต่อไปและทวีความรุนแรงขึ้น ?? ขณะที่สวีเดนและฟินแลนด์เริ่มให้ความช่วยเหลือด้านสภาพคล่องแก่ผู้ผลิตไฟฟ้า

บางคนกล่าวว่านี่อาจใกล้ถึงช่วงเวลาแห่งการล่มสลาย เฉกเช่นวิกฤต Lehman Brothers ในปี ๒๐๐๘ ซึ่งเป็นผลมาจากการ Default ของตลาดตราสารหนี้ของสหรัฐฯ

ทางฝั่งเยอรมนี ล่าสุดมีการเปิดตัว Package มูลค่า ๖.๕ หมื่นล้านยูโรเพื่อหนุนธุรกิจและครัวเรือนโดยเฉพาะ และอังกฤษเองก็ประกาศจำกัดค่าพลังงานสำหรับภาคครัวเรือนและธุรกิจหลายแห่ง

นอกจากนี้ ประเทศ จี๗ ยังเห็นพ้องที่จะประกาศขีดจำกัดต่อราคาน้ำมันและก๊าซของรัสเซีย ซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญหลังโดนคว่ำบาตรทางอื่น ๆ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าผลจากการตัดก๊าซทำให้ยุโรปเสียหายหนักเช่นเดียวกัน โดยตอนนี้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคก็ร่วงลงมาต่ำสุดเป็นประวัติการณ์เลยทีเดียว

รัสเซียกล่าวว่าตัวเองนั้นพร้อมไฟว้ และถ้ายุโรปมีการจำกัดราคา เราก็จะส่งออกให้น้อยลงอีก ! บีบมาบีบกลับ ยอมหักไม่ยอมงอ ! ทำให้หลายคนกังวลว่าตลาดพลังงานจะตึงเครียดต่อไปหรือไม่ ??

อย่างไรก็ตาม ราคาก๊าซในยุโรปปรับตัวร่วงลงอย่างรวดเร็วตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้จะมีความตึงเครียดนี้เกิดขึ้น แต่หลายคนก็ยังไม่แน่ใจว่าราคาจะพุ่งกลับขึ้นไปอีกหรือไม่ ? โดยเฉพาะในกรณีที่สงครามรุนแรงขึ้น

ความเสี่ยงหลักในกรณีที่สงครามยังยืดเยื้อก็คือช่วงหน้าหนาวนี้ ซึ่งทางรัสเซียมองว่าจะเป็นหายนะสำหรับยุโรป แต่ทางยุโรปออกมาประกาศกร้าวว่าเราจะผ่านพ้นไปได้แน่ ๆ โดยไม่เผชิญวิกฤตรุนแรงใด ๆ

ตอนนี้ยุโรปมีระดับก๊าซสำรองอยู่ราว๘๐% ของคลัง ขณะที่ ฟอน เดอร์ เลเยน(Von Der Leyen) ผู้นำสหภาพยุโรป ชี้ว่าก่อนหน้าสงครามยุโรปพึ่งพา Supply จากรัสเซียสูงถึง๔๐% แต่ตอนนี้เหลือเพียง ๙% เท่านั้น และทุกคนก็เตรียมพร้อมสำหรับการตัดก๊าซทั้งหมดจากรัสเซียแล้ว ! ขณะที่ทางรัสเซียเองก็ลั่นพร้อมไฟว้ด้วย !!! มารอดูกันว่าศึกนี้ใครจะอึด หรือสุดท้ายจะเสียทั้งคู่ ?

วิกฤตพลังงานที่เกิดขึ้นนี้ ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่ในยุโรป แต่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก โดยเฉพาะกับประเทศกำลังพัฒนา ประเทศยากจนและประเทศใดก็ตามที่พึ่งพาการนำเข้าพลังงานสูง

ยุโรปหวังว่าจะประคองตัวเองไปได้ท่ามกลางการเปลี่ยนถ่ายไปสู่ยุคพลังงานใหม่ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัจจุบันโลกของเรายังต้องพึ่งพาพลังงานฟอสซิลอยู่ และการเปลี่ยนถ่ายก็อาจต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่ง

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ อาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งของ The Great Reset ที่หลายคนกำลังให้ความสนใจ ซึ่งความตึงตัวทางการเมือง, การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงไปสู่พลังงานใหม่ อาจเกิดขึ้นไปเรื่อย ๆ พร้อม ๆ กับการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญของตลาดค่าเงินในอนาคต

สิ่งที่เราต้องมองให้ออกคือสงครามครั้งนี้ ใครเป็นผู้ได้ประโยชน์สูง ใครเป็นผู้เสียประโยชน์อย่างมหาศาล และพวกเขามีกลยุทธ์ในการกระจายความเสี่ยง/เปลี่ยนผ่าน (Transition) อย่างไรบ้าง ?