ธุรกิจยุโรปเจ๊งลามโรงหนัง! “ซีนีเวิลด์” โรงหนังสัญชาติอังกฤษในสหรัฐฯ ล้มละลาย หนี้ท่วมหัว7หมื่นล้าน-อาหารแพงขึ้น

0

ธุรกิจยุโรปเจ๊งลามโรงหนัง! “ซีนีเวิลด์” โรงหนังสัญชาติอังกฤษในสหรัฐฯ ล้มละลาย หนี้ท่วมหัว7หมื่นล้าน-อาหารแพงขึ้น

จากกรณีเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565 มีรายงานว่า บริษัท Dr. Schneider ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์ยานยนต์ระดับสากลซึ่งตั้งอยู่ในเมืองโครนัค-นอยส์ เยอรมัน ได้ยื่นฟ้องล้มละลาย ขณะที่ทางด้านศาลแขวงโคเบิร์กยืนยันเรื่องนี้เมื่อถูกถามโดย Radio Eins

ได้เปิดกระบวนการล้มละลายเบื้องต้นแล้ว ต่อไปก็ควรแจ้งให้พนักงานทราบด้วย มีพนักงานประมาณ 1,400 คนที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทในนอยเซส dr กลุ่มบริษัทชไนเดอร์ยังมีโรงงานผลิตอื่นๆ ในเยอรมนี จีน โปแลนด์ สเปน และสหรัฐอเมริกา บริษัทมีพนักงานทั้งหมด 4,000 คน ซึ่งพนักงานทั้งหมดได้รับผลกระทบ

ในขณะเดียวกันก็มีรายงานว่า ซีนีเวิลด์ กรุ๊ป (Cineworld Group) ซึ่งเป็นเครือโรงภาพยนตร์สัญชาติอังกฤษที่มีสาขามากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก (รองจากเครือ AMC ของสหรัฐอเมริกา) ได้ยื่นคำร้องต่อศาลสหรัฐเพื่อ ขอพิทักษ์ทรัพย์ ตามมาตรา 11 ของ กฎหมายล้มละลายแล้วเมื่อวันพุธทีผ่านมา หลังจากบริษัทประสบปัญหาหนี้สิน

ทั้งนี้ การยื่นขอล้มละลายตามมาตรา 11 ซึ่งจะอนุญาตให้บริษัทซีนีเวิลด์สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปในช่วงเวลาที่พยายามปรับโครงสร้างหนี้สินนั้น เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทที่ดำเนินการในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเกาะเจอร์ซีย์

อย่างไรก็ตาม ซีนีเวิลด์มีหนี้สินที่จะต้องชำระให้กับบรรดาเจ้าหนี้รวมทั้งสิ้น 1,940 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 71,586 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน ณ 1 ดอลลาร์สหรัฐ = 36.9 บาท) อย่างไรก็ดี บริษัทคาดว่าการดำเนินธุรกิจทั่วโลกจะเป็นไปตามปกติจนกว่ากระบวนการปรับโครงสร้างหนี้จะแล้วเสร็จ

ซีนีเวิลด์ซึ่งมีโรงภาพยนตร์ในเครือจำนวน 9,500 แห่งใน 10 ประเทศ (โดยในจำนวนนี้ กว่า 500 แห่งอยู่ในสหรัฐอเมริกา) ประสบภาวะขาดทุน 2,700 ล้านดอลลาร์ในปี 2563 ท่ามกลางการแพร่ระบาดอย่างหนักของโรคโควิด-19 ซึ่งทำให้มีการสั่งปิดโรงภาพยนตร์เพื่อสกัดการแพร่ระบาด จากนั้นในปี 2564 บริษัทก็มียอดขาดทุนอีกจำนวน 566 ล้านดอลลาร์

ในเดือนส.ค.ที่ผ่านมา ราคาหุ้นซีนีเวิลด์ทรุดตัวลงแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.80 เพนซ์ หลังจากหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัล เป็นสื่อรายแรกที่รายงานข่าวว่า ซีนีเวิลด์อาจจะยื่นขอล้มละลาย

ทั้งนี้ ในระหว่างเดือนม.ค. ถึงสิ้นเดือนส.ค. บ็อกซ์ออฟฟิศในสหรัฐทำรายได้ไปประมาณ 5,300 ล้านดอลลาร์ ซึ่งลดลง 13% เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่สามารถทำรายได้ถึง 11,400 ล้านดอลลาร์

แม้ว่า อุตสาหกรรมภาพยนตร์ยังสามารถทำรายได้ถึง 7,500 ล้านดอลลาร์ จากการขายตั๋วภาพยนตร์ได้จนถึงสิ้นปีนี้นอกจากนี้ จำนวนภาพยนตร์ที่เข้าฉายลดลงก็มีผลต่อรายได้บ็อกซ์ออฟฟิศเช่นกัน ซึ่ง 8 เดือนแรกของปีมีภาพยนตร์เข้าฉายเพียง 46 เรื่อง น้อยกว่าปี 2562 มีภาพยนตร์เข้าฉายมากถึง 75 เรื่อง และผู้บริโภคมีค่าใช้จ่ายในการดูหนังสูงขึ้น เนื่องจากตั๋วหนัง และอาหารมีราคาแพง

โดยปัญหาใหญ่ของบริษัทคือ “การเดินทางไปโรงภาพยนตร์เพื่อชมภาพยนตร์เป็นเวลา 2-3 ชั่วโมง และใช้จ่าย 20-25 เหรียญสหรัฐ ไม่ใช่เรื่องน่าดึงดูดอีกต่อไป สำหรับผู้คนจำนวนมาก โดยเฉพาะคนหนุ่มสาว”