สร้างความแปลกใจให้กับสังคมและชวนให้ตั้งคำถามเป็นอย่างยิ่งกับพฤติกรรมธนาธร ที่มักพูดพร่ำอ้างประชาธิปไตย แต่ทำไมคนๆนี้ถึงไม่ยอมรับความผิดพลาดที่ตัวเองทำขึ้นมาเอง??? ทั้งที่ศาลได้เปิดโอกาสให้เข้าไปชี้แจงได้อย่างเต็มที่แต่กลับเอาแต่นั่งท่อง!!! ไม่รู้-ไม่ทราบ-จำไม่ได้?!?! แล้วก็มัวแต่ถาม ผมผิดอะไร !?! อยากให้ธนาธรตอบสังคมบ้างว่า การอ้างทำเพื่อประชาธิปไตยนั้นไม่ต้องเคารพกฎหมายด้วยหรือ?!?
อ้างว่าทำเพื่อประชาธิปไตย แล้วจะไม่ต้องเคารพกม.อย่างไรก็ได้หรือ?
พฤติกรรมของตัวธนาธร ผิด-ไม่-เป็น
1. ไม่ยอมรับอำนาจศาล ไม่ยอมรับกม.
(วาทกรรมตุลาการภิวัฒน์)
1.1 ก่อนหน้านี้มีการแถลงชี้แจงเป็นเรื่องเป็นราว เรื่องหลาน 2 คน, เรื่องนั่งรถกลับมาโอนหุ้น
1.2 ในศาลให้ชี้แจงไม่ชี้แจง บอกจำไม่ได้ บอกว่าศาลตัดสินเป็นคุณจะได้ไปทำblindtrust ต่อ
1.3 ต่อมามาแถลงปิดคดีเองนอกศาล
1.4 ศาลตัดสินบอกศาลไม่เคยทำธุรกิจ ตัดสินจากข้อสันนิฐาน ไม่ใช่ข้อเท็จจริง
(รู้ตัวอยู่แล้วว่าแพ้ ใช้เรื่องนี้ตอกย้ำวาทกรรม ตุลาการภิวัฒน์ เพื่อ ปลุกระดมมวลชน(งาน อยู่ ไม่ เป็น) แต่ไม่สำเร็จ)
2. ไม่มองว่าเป็นความผิดของตัวเอง
2.1 มาจากตัวเองเปิดเผยเรื่อง ทำ BlindTrust จนอิศราไปค้นข้อมูลจนเจอว่ายังมีหุ้นที่ยังไม่ได้โอน
ลำดับไทม์ไลน์
18 มีนาคม 2562″-ธนาธรแถลงว่าเป็นนักการเมืองไทยคนแรกที่ทำ Blind Trust
(1 วันต่อมา)
“19 มีนาคม 2562”-ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง ได้มีคำพิพากษาสั่งให้ถอนชื่อ นายภูเบศวร์ เห็นหลอด ผู้สมัคร ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ เขต 2 จ.สกลนคร ออกจากผู้สมัครรับเลือกตั้ง เพราะขาดคุณสมบัติลงสมัครรับเลือกตั้งเนื่องจากเป็นเจ้าของสื่อ
(2 วันต่อมา)
21 มีนาคม 2562 -บ.วีลัค มีเดีย แจ้ง เปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ที่กรมธุรกิจการค้า
(1 วันต่อมา)
“22 มีนาคม 2562”-สำนักข่าวอิศรา ได้ไปตรวจสอบพบและนำเสนอข่าว “ธนาธร-เมีย’ โอน บ.วี-ลัค มีเดีย 900,000 หุ้น ให้แม่ ก่อนเลือกตั้ง 3 วัน” (คือวันที่ 21 มีนาคม 2562)
(1 วันต่อมา)
“23 มีนาคม 2562” (เวลาช่วงเย็น)-ธนาธร โพสต์ข้อความและเอกสารการโอนหุ้นชี้แจงถึงกรณีนี้ผ่านทวิตเตอร์ (Twitter) โดยระบุว่า ตนและภรรยาโอนหุ้นไปตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค. 2562 ที่ผ่านมา คือก่อนยื่นใบสมัครรับเลือกตั้ง 1 เดือน
2.2 กรณีมติชน ทำถูกต้องเรียบร้อย (แสดงว่า รู้เรื่องกม.ข้อนี้ดี)
3. โกหก? ใช่หรือไม่ จากข้อพิรุธ (จะส่งผลทางอาญาในอนาคต)
3.1 การไม่เปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) จนกระทั่งเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 62 โดยอ้างว่า เลิกจ้างพนักงานไม่มีคนทำ ขัดแย้งกับ
3.1.1 คำให้การของ ลาวัลย์ จันทร์เกษม ผู้จัดการทั่วไปดูแลสายงานบัญชี บริษัทไทยซัมมิท ที่ระบุว่าสามารถทำได้ถ้ามีคำสั่ง
3.1.2 ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้ถือหุ้นบริษัท วี-ลัค มีเดีย จะมีการส่งรายชื่อตาม บอจ.5 ให้กรมธุรกิจการค้าโดยเร็วเป็นปกติทุกครั้ง เช่น ปี 52 จัดส่งบัญชีภายในวันประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ปี 58 ก็จัดส่งบัญชีภายในวันประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น
3.2 การนำเช็คของนางสมพร 6.7 ล้าน ไปขึ้นเงิน ตรงกับวันที่ กกต.ส่งคำร้องให้ศาลวินิจฉัย 128 วัน (จากวันที่อ้างว่าโอนหุ้น 8 ม.ค.62) ขัดแย้งกับ
3.2.1 กฎหมายแพ่งกำหนดให้ผู้ทรงเช็คมีหน้าที่นำเช็คไปยื่นต่อธนาคารเพื่อให้ขึ้นเงินภายใน 1 เดือน กรณีเช็คต่างเมืองให้เวลา 3 เดือน
3.2.2 ตรวจสอบย้อนหลัง 3 ปี พบว่า เช็ควงเงินตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป บริษัท วี-ลัค มีเดีย จะเรียกเก็บเงินภายใน 42-45 วัน เช็คบางฉบับที่ใช้เวลา 98 วันในการขึ้นเงิน ก็มียอดเงินเพียง 27,000 บาทเท่านั้น
(เช็ค 2 ล้าน - 45 วัน)
(เช็ค 27,000 บาท - 98 วัน)
(เช็ค 6.7 ล้าน - 128 วัน???)
3.2.3 ภรรยาธนาธร อ้างว่า ทนายความนำเช็คต้นฉบับไปใช้ต่อสู้คดี ขัดแย้งกับหนังสือของ กกต. ที่ชี้แจงต่อเลขา กกต. ว่านายธนาธรส่งสำเนาเช็คมาชี้แจงเท่านั้นไม่ได้ส่งเช็คต้นฉบับ
3.2.4 ภรรยาธนาธร อ้างว่าไม่สะดวกจะนำเช็คไปขึ้นเงิน เพราะต้องดูแลบุตรซึ่งเป็นเด็กทารก แต่ เช็คขีดคร่อมโอนไปยังบุคคลอื่นไม่ได้ สามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนได้เพราะนางรวิพรรณก็ไม่มีชื่อเป็นผู้รับเงินตามเช็ค จึงไม่ต้องรอเวลาถึง 4 เดือนเศษ
3.3 นางสมพรโอนหุ้นไปให้นายทวี จรุงสถิตพงศ์ (หลาน) และโอนหุ้นคืน ไม่มีค่าตอบแทน โดยอ้างความสัมพันธ์ทางเครือญาติ ย้อนแย้งจากการโอนหุ้นระหว่างนางสมพร กับนายธนาธร (เป็นมารดากับบุตร) แต่กลับมีค่าตอบแทน
3.4 นางสมพรเบิกความว่านายทวี ศึกษาแล้วต้องใช้เงินลงทุนอีกหลายล้านบาท จึงมีความประสงค์ปิดบริษัทและโอนหุ้นกลับคืนไปยังนางสมพร ข้อเท็จจริงส่วนนี้ย่อมขัดกับปกติวิสัยกับนักลงทุนทั่วไปที่ประสงค์จะฟื้นฟูบริษัท ต้องใช้ระยะเวลาศึกษาสมควร และลงมือตามแผนธุรกิจเสียก่อน
3.5 นายธนาธรอ้างว่าบริษัทมียอดหนี้และสิทธิเรียกร้องประมาณ 11 ล้านบาท แต่งบการเงินรอบปี 2561 มีลูกหนี้เพียง 2.7 ล้านบาทเศษ จำนวนเงินดังกล่าวไม่ตรงกัน
3.6 แม้จะมีการเดินทางกลับมากรุงเทพฯจริงในวันที่ 8 ม.ค.62 แต่ไม่ได้หมายความว่ามีการโอนหุ้นบริษัท วี-ลัคฯ ในวันดังกล่าวจริง
เมื่อพิจารณาจากเอกสารหลักฐานต่างๆแล้ว เห็นว่าล้วนเป็นการกล่าวอ้างเพียงให้เจือสมกับหลักฐานที่ปรากฏตาม บอจ.5 ที่โอนหุ้นกลับคืนจากนายทวี
จะเป็นบรรทัดฐาน สำหรับการพิจารณาคดีอาญาต่อเนื่องภายใน 6 เดือน
อ้างว่าทำเพื่อประชาธิปไตย แล้วจะไม่เคารพกม.อย่างไรก็ได้หรือ?