ฮือฮากับฝ่ายโลกตะวันตกอย่างยิ่ง เมื่อรัสเซียประกาศชัดว่า โลกใหม่แห่งอำนาจหลายขั้วได้จัดตั้งขึ้นแล้วอย่างเป็นรูปธรรม และไม่มีประเทศใดจะพาลบล้างได้ ในงานฟอรัมเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่มีประเทศเข้าร่วมอย่างไม่เกรงใจสหรัฐกว่า ๖๐ ประเทศ และน่าดีใจที่ประเทศไทยไม่ตกขบวน นอกจากนี้สื่อตะวันตกตื่นเต้นกับคำประกาศกฎหมายใหม่เรื่องนโยบายต่างประเทศของปธน.ปูติน ที่ไฟเขียวโอบอุ้มประชาชาติรัสเซียไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนในโลกใบนี้ ไม่ยอมให้ใครข่มเหงสวนทางสหรัฐและตะวันตกที่พยายามผลักใสข่มเหงคนรัสเซียให้ไม่มีตัวตนในโลกใบนี้ ด้วยการคว่ำบาตรมันทุกอย่างที่เป็นรัสเซีย นี่คือคำประกาศสู้ของปูติน
วันที่ ๗ ก.ย.๒๕๖๕ สำนักข่าวรัสเซียทูเดย์และเดอะสเตรทไทมส์ของสิงคโปร์ (The Straits Times) รายงานว่า เมื่อวันที่ ๖ ก.ย.ที่ผ่านมา ปธน.วลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย ลงนามอนุมัติหลักการนโยบายต่างประเทศฉบับใหม่บนพื้นฐานแนวคิดโลกของรัสเซียหรือ “Russia World” ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน อนุมัติแนวความคิดเกี่ยวกับนโยบายด้านมนุษยธรรมของรัสเซียในต่างประเทศ ออกกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้องของประมุขแห่งรัฐ และข้อความของแนวคิด ถูกโพสต์บนเว็บไซต์ทางการ
แนวคิดโลกของรัสเซีย มุ่งเน้นอุดมการณ์แบบอนุรักษ์นิยมว่า รัสเซียควร “ปกป้อง คุ้มครอง และส่งเสริมธรรมเนียมและแนวคิดของโลกรัสเซีย” โดยนโยบายต่างประเทศฉบับใหม่สนับสนุนให้กลุ่มผู้รักชาติที่อาศัยในต่างประเทศทำตามสิทธิของตนเอง นอกจากนี้ นโยบายต่างประเทศฉบับใหม่ยังระบุให้รัสเซียเพิ่มความร่วมมือกับกลุ่มประเทศของชาวสลาฟ จีน และอินเดีย ตลอดจนส่งเสริมความสัมพันธ์ในพื้นที่ตะวันออกกลาง ละตินอเมริกา และแอฟริกาอย่างเคารพซึ่งกันและกัน
กฤษฎีการะบุว่า “เพื่อวัตถุประสงค์ในการกำหนดงานและประเด็นสำคัญของนโยบายมนุษยธรรมของรัสเซียในต่างประเทศ ข้าพเจ้ามีกฤษฎีกาให้อนุมัติแนวความคิดด้านนโยบายมนุษยธรรมของรัสเซียในต่างประเทศ”
แนวคิดประกอบด้วย ๖ ส่วน ส่วนแรกครอบคลุมบทบัญญัติทั่วไป ส่วนที่สองอุทิศให้กับผลประโยชน์ของชาติรัสเซียในด้านมนุษยธรรมในต่างประเทศ และนำเสนอวัตถุประสงค์งานและหลักการของนโยบายดังกล่าว ส่วนที่สาม แสดงรายการประเด็นสำคัญของนโยบายด้านมนุษยธรรมในต่างประเทศ ส่วนที่สี่ ครอบคลุมถึงความร่วมมือด้านมนุษยธรรมกับรัสเซียในรูปแบบพหุภาคีและทวิภาคี ส่วนที่ห้าอุทิศให้กับการเสวนาระหว่างวัฒนธรรมและระหว่างศาสนา ส่วนที่หกเกี่ยวกับการสร้างและกลไกพื้นฐานสำหรับการดำเนินการตามนโยบายด้านมนุษยธรรมในต่างประเทศ
ในขณะเดียวกัน งานช้างที่รัสเซียเป็นเจ้าภาพจัดวัดใจใครเป็นพันธมิตร ได้จัดขึ้นอย่างคึกคัก ในงานอีสเทิร์น อีโคโนมิก ฟอรั่ม ๒๐๒๒ เริ่มขึ้นที่เมืองวลาดีวอสตอค ของรัสเซีย ดึงดูดผู้เข้าร่วมจากกว่า ๖๐ ประเทศ ท่ามกลางสงครามคว่ำบาตรระหว่างมอสโกว์และตะวันตก ตัวแทนธุรกิจและเจ้าหน้าที่ของรัฐจากกว่า ๖๐ ประเทศและดินแดนต่างๆ ได้เข้าร่วมการชุมนุมเป็นเวลา ๓ วัน เมินการข่มขู่คว่ำบาตรของสหรัฐและพันธมิตร
ปธน.ปูตินกล่าวปาฐกถาเปิดงานมีเนื้อหาโดยย่อ กล่าวถึง “โลกแห่งพหุขั้วอำนาจหรือ มัลติโพลาร์พาวเวอร์(Multipolar Power) ได้เกิดขึ้นแล้วและจะไม่หวนกลับสู่วังวนเก่าๆที่ผูกขาดด้วยอำนาจเดี่ยว”
ผู้นำรัสเซียกล่าวว่า “รูปแบบ unipolar ที่ล้าสมัยกำลังถูกแทนที่ด้วยระเบียบโลกใหม่ multipolar ตามหลักการพื้นฐานของความยุติธรรมและความเท่าเทียมกัน ตลอดจนการยอมรับสิทธิของแต่ละรัฐและประชาชนในเส้นทางการพัฒนาอธิปไตยของตนเอง ศูนย์กลางทางการเมืองและเศรษฐกิจที่ทรงอิทธิพลกำลังก่อตัวขึ้นที่นี่ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งทำหน้าที่เป็นแรงผลักดันในกระบวนการที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้นี้”
ยูริ อูชาคอฟ ผู้ช่วยอาวุโสของปูตินด้านกิจการระหว่างประเทศ (Yuri Ushakov, a senior aide to Putin)ได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่ประธานาธิบดีกล่าวที่ EEF ปธน.ปูตินเน้นที่เป้าหมายและกลยุทธ์ของมอสโกว์อย่างมาก ท่ามกลางแรงกดดันจากตะวันตกที่มีต่อรัสเซีย
หัวข้อของฟอรัมในปีนี้คือ”บนเส้นทางสู่โลกหลายขั้ว” จุดมุ่งหมายของงานคือการเน้นย้ำถึงการเปลี่ยนแปลงระดับโลกที่นำโดยรูปแบบเศรษฐกิจใหม่ และจัดให้มีเวทีระหว่างประเทศสำหรับการเจรจาทั้งเศรษฐกิจ-ความมั่นคง
ผู้เข้าร่วมจะหารือเกี่ยวกับความพยายามในการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกขององค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ นำโดยจีน-รัสเซีย-อินเดีย และสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนก็ไม่ตกขบวนโลกหลายขั้ว
นายกรัฐมนตรีอินเดีย นเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอิสมาอิล ซาบรี ยาคอบ ของมาเลเซีย และนายกรัฐมนตรี ฟาม มินห์ ชินห์ ของเวียดนาม คาดว่าจะส่งข้อความวิดีโอที่ฟอรัมนี้ โดยประเทศไทยและเมียนมา มีกำหนดพบกับรมว.ต่างประเทศเซอร์เกย์ ลาฟรอฟในงานนี้ด้วย
ในบรรดาแขกรับเชิญในการประชุมวันพุธนี้ ได้แก่หลี่ ชานชู (Li Zhanshu) ประธานคณะกรรมการประจำสภาประชาชนแห่งชาติของจีน และผู้นำของอาร์เมเนีย มองโกเลีย และเมียนมา