จากที่กองทัพยูเครนถูกทางรัสเซียโจมตีอย่างหนัก แม้สหรัฐและหสภาพยุโรป กระทั่งกลุ่มนาโต้ให้ความช่วยเหลือทั้งกำลังคน อาวุธ และเงินจำนวนมาก ก็ไม่สามารถต้านทานฝ่ายรัสเซียได้ อีกทั้งยังสูญเสียทั้งเงิน ทรัพยากรต่างๆไปอย่างมากมายด้วย
ล่าสุดวันนี้ 05 กันยายน 2565 ดร.ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ นักวิชาการทางบูรพคดีศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดเผยผ่านการโพสต์ลง Blockdit ถึงสถานการณ์ของยูเครนว่า “อียูกับยูเครน: ใครควรจะช่วยเหลือใคร?
อียูช่วยเหลือยูเครนมามาก ส่งอาวุธให้ก็มาก ให้เงินก็มาก ทำให้ยูเครนกลายเป็นประเทศที่มีอาวุธทันสมัยมากที่สุดประเทศหนึ่งของยุโรปแต่ก็โดนรัสเซียปราบแบบชิลๆ
นี่เท่ากับว่ารัสเซียกำลังรบกับ ๓๐ ประเทศนาโต้ได้อย่างสบายๆ แถมยังจะมีฤดูหนาวมาช่วยรบอีก เมื่อฤดูหนาวใกล้มาถึง ชาวยุโรปจึงพากันประท้วงและเริ่มตั้งคำถามว่าเหล่าประเทศอียูช่วยยูเครนแล้วได้อะไรในขณะที่ประชาชนตนเองไม่มีเงินพอจะซื้อก๊าซให้รอดจากฤดูหนาว?
เซเลนสกียังขอเงินจากนาโต้ทุกวัน เพราะฉะนั้น อย่าถามว่า ‘ขณะที่ชาวอียูช่วยยูเครนมาหลายปีและกำลังไม่มีเงินซื้อก๊าซใช้ในฤดูหนาว ยูเครนจะช่วยอียูยังไง?’ ต้องถามว่า ‘อียูยังจะมีเงินเหลืออีกเท่าไหร่ เพื่อจะช่วยยูเครน?’
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ ดร.ปฐมพงษ์ ได้โพสต์ข้อความถึงผู้นำยูเครนด้วยว่า “เซเลนสกีขอทานเงินจากอียูอีกแล้ว: ‘รบไป ขอทานไป’ วันก่อน เซเลนสกีโทรศัพท์คุยกับนาง Ursula von der Leyen ซึ่งเป็นประธานกรรมาธิการอียู
คราวนี้ เซเลนสกีต้องการให้อียูส่งเงินให้เพิ่มอีก ๕ พันล้านยูโรเป็นการด่วนมาก ภายในสัปดาห์หน้าเพื่อบริหารประเทศและสู้กับรัสเซีย ไม่งั้นยูเครนไปไม่รอดแน่
รัสเซียกำลังใช้วิธีวิดน้ำออกจากบ่อเพื่อให้ปลาแห้งตายไปเอง ไม่ต้องใช้กำลังจัดการเซเลนสกีเลย ประชาชนอียูขณะนี้ก็ไม่มีเงินซื้อก๊าซราคาแพงใช้ เซเลนสกีก็ไม่มีเงินมาบริหารจัดการประเทศและสู้กับรัสเซีย
แล้วจะไปได้สักกี่น้ำครับ? เงินก้อนที่ได้มา เซเลนสกีอาจต้องเม้มไว้ใช้ส่วนตัวสำหรับหลบหนีเมื่อสู้ไม่ไหวแล้วด้วยแน่นอนครับ”
นอกจากนี้เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 กระทรวงการคลังยูเครน ออกมาเปิดเผยถึงความคาดหวังว่าจะบรรลุข้อตกลงพักหนี้ที่กู้ยืมจากต่างประเทศ ซึ่งมีมูลค่ารวมประมาณ 20,000 ล้านดอลลาร์ ได้ภายในวันที่ 9 สิงหาคม
คำขอของรัฐบาลยูเครนได้รับการตอบรับอย่างรวดเร็วจากรัฐบาลชาติตะวันตก และบริษัททุนต่างชาติ ซึ่งจะช่วยให้ยูเครนสามารถชะลอการจ่ายหนี้ 1,200 ล้านดอลลาร์ ที่มีกำหนดต้องจ่ายคืนในช่วงต้นเดือนกันยายนปีนี้
ทั้งนี้ ยูเครนบรรลุข้อตกลงเบื้องต้นกับรัฐบาลต่างชาติที่ถือครองพันธบัตรในการขอพักชำระหนี้ ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคมปีนี้ ไปจนถึงปลายปี 2566 เป็นอย่างน้อย ท่ามกลางผลกระทบจากสงครามกับรัสเซีย ซึ่งทำให้ยูเครนเผชิญวิกฤติขาดดุลงบประมาณสูงถึงเดือนละ 5,000 ล้านดอลลาร์