เจาะเบื้องลึก สหรัฐฯสะดุดตอ หลังตั้งทีมไทเกอร์ ขายอาวุธให้ชาติพันธมิตร งานนี้จีนได้เปรียบอีกขั้น

0

หลังจากที่ความตึงเครียดกับจีนที่หนักหน่วงขึ้นเรื่อย ๆ และวิกฤตในสถานการณ์ยูเครนที่กำลังมาถึงขาลง เป็นตัวกระตุ้นให้สหรัฐฯต้องจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจชุดหนึ่งขึ้นมา เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การขายอาวุธให้บรรดาพันธมิตร


โดยมีการเปิดเผยจากเจ้าหน้าที่กลาโหมระดับสูงของอเมริกา ที่ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัล โดยคณะทำงานพิเศษใช้ชื่อว่า “ทีมไทเกอร์” ถูกจัดตั้งขึ้นมาในเดือนสิงหาคม เพื่อมองหาหนทางต่าง ๆ ในการส่งมอบอาวุธที่ผลิตโดยสหรัฐฯ แก่บรรดาผู้ซื้อต่างชาติให้รวดเร็วยิ่งขึ้น

คณะทำงานชุดใหม่นี้มีปลัดกระทรวงกลาโหม 2 คนเป็นประธานร่วม นอกจากนี้ยังมีตัวแทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ของเพนตากอนเข้าร่วมด้วย

“มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับก้าวย่างทางกลไกในกระบวนการดังกล่าว” เจ้าหน้าที่รายนี้บอกกับวอลล์สตรีท เจอร์นัล “มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับว่า เราจะทำงานได้ดีกว่าเดิมอย่างไร ในการขจัดความไร้ประสิทธิภาพออกจากระบบ ระบบที่เราจะใช้กับทุกประเทศที่เราทำงานด้วย”

การทบทวนจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจมีขึ้น สืบเนื่องจากความตึงเครียดกับจีนที่หนักหน่วงขึ้นเรื่อย ๆ ในประเด็นไต้หวันและความจำเป็นต้องเติมเต็มคลังแสงบรรดาพันธมิตรของสหรัฐฯ ในยุโรป หลังจากคลังแสงของเหล่าพันธมิตรเริ่มร่อยหรอ เนื่องจากมอบอาวุธเหล่านั้นแก่ยูเครน ท่ามกลางความขัดแย้งกับรัสเซีย

วอชิงตันเคยแสดงความกังวลมาช้านานว่า ด้วยราคาที่สูงกว่าคู่แข่ง และกระบวนการอนุมัติขายอาวุธที่ซับซ้อนอาจฉุดให้สหรัฐฯตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบในการแข่งขันกับจีนและรัสเซีย ทั้งนี้กระบวนการอนุมัติขายอาวุธของอเมริกานั้นดำเนินการโดยเพนตากอน ภายใต้การตรวจตราของกระทรวงการต่างประเทศ และจำเป็นต้องได้รับการยินยอมจากสภาคองเกรสด้วย “ความล่าช้าอาจทำให้บางประเทศไม่แน่ใจว่าสหรัฐฯจริง ๆ แล้วต้องการพวกเขาในฐานะพันธมิตรหรือไม่ และก่อความเสี่ยงที่อาจผลักประเทศต่าง ๆ ที่สหรัฐฯ ต้องการคงความใกล้ชิดกันต่อไป หันไปจับจ่ายซื้ออาวุธจากที่อื่น ๆ”

บิ๊กเพนตากอนขอโทษประชาชน เหตุเดินตามหลังทรัมป์วันปราบม็อบ - โพสต์ทูเดย์ รอบโลก

 

เพนตากอน" สั่งกองกำลังพิทักษ์มาตุภูมิประจำการรัฐสภาถึง 23 พ.ค.นี้ : อินโฟเควสท์

จีนเปิดฉากซ้อมรบรอบใหม่ ตอบโต้ผู้แทนสภาคองเกรสสหรัฐเยือนไต้หวัน : อินโฟเควสท์
อย่างไรก็ตามการเคลื่อนไหวของสหรัฐฯครั้งนี้ น่าจับตามองว่า จะสะดุดตอตัวเอง เพราะอีกหนึ่งประเด็นที่อาจก่อความยุ่งยากซับซ้อนต่อความพยายามเร่งขายอาวุธแก่ต่างชาติคือ ปัญหาขาดแคลนอาวุธและกระสุนในคลังแสงของวอชิงตันเอง เนื่องจากพวกเขาทุ่มความช่วยเหลือด้านการทหารคิดเป็นมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ให้แก่ยูเครน อีกทั้งการต่อกรกับจีนก็ถือเป็นคู่แข่งที่ไม่ธรรมดา และอาจจะต้องเสียเปรียบมากกว่าจะได้ผลประโยชน์ตามที่คาดการณ์ไว้

2022 ปีแห่งความตึงเครียดจากความขัดแย้งสหรัฐ-จีน

สหรัฐอนุมัติขั้นต้น เตรียมขายอาวุธใหม่ให้ไต้หวันอีก 40,000 ล้านบาท