สถานการณ์ไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเรื่อยๆในขณะทั่วโลกดูเหมือนว่า ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 และเสียชีวิตจะพุ่งสูง และจะด้วยเหตุนี้หรือไม่ที่ปรากฏเรื่องราวที่น่ายินดีเมื่อหลายประเทศต่างชื่นชมรัฐบาลทั้งอังกฤษ เยอรมัน รวมทั้งนพ.สหรัฐ
ศ.นพ.ลินคอล์น เชน ประธาน China Medical Board ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพระหว่างประเทศ และอดีตศาสตราจารย์ประจำวิทยาลัยสาธารณสุข มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ให้สัมภาษณ์ไว้ระหว่างประชุมวิชาการนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี พ.ศ. 2563 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30-31 ม.ค. 2563 ชื่นชมการดำเนินงานของไทยในการเฝ้าระวังคัดกรองและป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019
โดยจากการติดตามสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ของรัฐบาลไทย และจากการพูดคุยกับ นายอนุทิน ชาญวีรกูล พบว่า ไทยสามารถจัดการป้องกันและควบคุมโรคระบาดได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ หากพิจารณาจากโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบสาธารณสุข ไทยมีทั้งโรงพยาบาลใหญ่ที่มีคุณภาพ โรงพยาบาลชุมชนในระดับอำเภอ และยังมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ค่อนข้างครอบคลุม ซึ่งทำให้เชื่อมั่นว่าสามารถป้องกันการระบาดได้
นอกจากนี้ การมีโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุขที่ครบถ้วน จะเป็นประโยชน์หากพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ เพราะจะช่วยให้ไทยสามารถจัดการแยกผู้ต้องสงสัยว่าจะติดเชื้อตามลำดับขั้น และเข้าไปหยุดยั้งการแพร่กระจาย-การระบาดของโรคได้ “ประเทศไทย ยิ่งกว่าพร้อมในการรับมือปัญหาโรคระบาดด้วยสเกลขนาดนี้ และหากเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โครงสร้างพื้นฐานของระบบสาธารณสุขประเทศไทย และบุคลากรสาธารณสุขของไทยนั้น เข้มแข็งที่สุดแล้ว”
13 มี.ค.63 บีบีซีไทยโดย นพพร วงศ์อนันต์ รายงานบางช่วงที่น่าสนใจว่า เจเรมี ฮันต์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของรัฐบาลพรรคคอนเซอร์เวทีฟ วิจารณ์รัฐบาลสหราชอาณาจักรว่า “ขยับตัวยังไม่เร็วพอ” ในการสกัดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่คร่าชีวิตชาวอังกฤษไปแล้ว 10 ราย และทำให้มีผู้ติดเชื้อแล้วเกือบ 600 ราย
นายฮันต์ เรียกร้องให้รัฐบาลของนายจอห์นสันเร่งออกมาตรการเร่งด่วนในการแยกกลุ่มคนที่สุ่มเสี่ยงต่อโรคนี้ โดยเฉพาะผู้สูงวัยให้ห่างจากผู้ที่อาจเป็นพาหะโรค โดยเขาเสนอสหราชอาณาจักรดูตัวอย่างมาตรการต่อสู้กับเชื้อไวรัสของระบบสาธารณสุขของไทย ไต้หวัน สิงคโปร์ และฮ่องกง “ดูเหมือนว่า เราเห็นหลักฐานของความสำเร็จอย่างยิ่งยวดของหลายชาติในการต่อสู้กับเชื้อไวรัสนี้ ดูประเทศไทยเป็นตัวอย่าง เป็นชาติแรกหลังจีนที่ได้รับเชื้อไวรัส ตอนนี้มีตัวเลขผู้ติดเชื้อเพียง 59 ราย (ตัวเลขเมื่อ11 มี.ค.) ส่วนไต้หวันที่อยู่ติดกับจีนก็มีเพียง 49 ราย” นายฮันต์ กล่าว
19 มี.ค.63 นาย Andreas Gandzior เขียนแสดงความเห็นลง เว็บไซต์ Berliner Morgenpost สื่อท้องถิ่นของเยอรมนี ระบุบางส่วนที่สำคัญว่า สิ่งที่รัฐบาลเยอรมนีควรเรียนรู้จาก รัฐบาลไทย ในการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ก็คือ มาตรการที่ตื่นตัว ต่อเนื่อง และรัดกุม
บทความของนาย Gandzior ระบุว่า ขณะนี้ สภาพกรุงเทพฯ เมืองหลวงของไทยในเวลานี้จะแตกต่างจากภาพที่เคยเป็นเมื่อหลายปีก่อน ด้วยจำนวนผู้คนตามท้องถนน แหล่งท่องเที่ยว และห้างสรรพสินค้าที่บางตาลง เพราะไวรัสโควิด-19 แต่สิ่งที่น่าชื่นชมมากกว่า ก็คือมาตรการต่อสู้รับมือกับโควิด-19 ของไทยที่มีความต่อเนื่องมากกว่าที่พบเห็นในกรุงเบอร์ลิน ไม่ว่าจะเดินทางไปตรงไหนของกรุงเทพฯ ประชาชนส่วนใหญ่
รวมถึงชาวต่างชาติส่วนหนึ่งที่อยู่ที่นี่ ต่างสวมใส่หน้ากากอนามัยป้องกันตัวเอง บริเวณด้านหน้าทางเข้าของตึกและอาคาร รวมถึงสถานที่สำคัญทางราชการ ต่างก็มีขวดเจลแอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือตั้งวางไว้ และแทบทุกคนต่างก็กดใช้ สิ่งที่พบเห็นได้มากที่สุดก็คือข้อความ หรือแผ่นประกาศที่ระบุขั้นตอนวิธีการปฏิบัติด้านสุขอนามัยที่ถูกต้องเพื่อรับมือกับโรคโควิด-19
แน่นอนว่า การรับมือกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ด้วยการสั่งปิดเมือง ยกเลิกหรือเลื่อนการจัดกิจกรรมที่จะทำให้ผู้คนมารวมตัวกันมากๆ เป็นหนึ่งในมาตรการที่เหมาะสม แต่การให้ความรู้ และการเตรียมเจลแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรค แม้จะดูเหมือนมากเกินไปในสายตาของใครหลายคน กลับเป็นสิ่งที่เรียกว่าความสม่ำเสมอต่อเนื่อง ที่สมควรนำมาเป็นแบบอย่าง ยังไม่นับรวมการตั้งโต๊ะเพื่อตรวจวัดอุณหภูมิของผู้ที่ผ่านเข้าออก ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ชาวเยอรมนีอยากเห็นภายในประเทศ และทางการเยอรมนีควรเรียนรู้จากกรุงเทพฯ ประเทศไทย และนำมาใช้อย่างเหมาะสม
20 มี.ค.63 เฟซบุ๊ก Dandee ได้โพสต์ข้อความโดยระบุว่า ส.ส.ในสภาอังกฤษ ด่าผู้นำยับไล่ให้มาก็อปปี้นโยบายรัฐบาลลุงของไทย สถานการณ์ระบาดโรคไวรัสโควิด-19ในอังกฤษแย่ลงอย่างมาก ตอนนี้มีผู้ป่วยกว่า 3,200 คน ตายไปแล้ว 144 ราย บางเมืองใหญ่อาหาร ยารักษาโรค หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ อุปกรณ์การแพทย์ขาดแคลน หมอมีไม่เพียงพอ ระบบการแพทย์เริ่มหนักอึ้ง
รัฐบาลอังกฤษแถลงโยนผ้าขาวต่อโรคไวรัสโควิด-19 ระบบการแพทย์เขาแทบไปไม่เป็น ปล่อยประชาชนตามยถากรรม ประกาศหยุดการตรวจไวรัสโควิดผู้มีความเสี่ยง รัฐบาลอังกฤษอ้างว่าปล่อยให้ติดเชื้อไปมากๆ แล้วธรรมชาติจะ “สร้างภูมิคุ้มกันหมู่” (Herd Immunity) ขึ้นในมนุษย์ขึ้นเอง และใช้เงินน้อยกว่าด้วย ให้ประชาชนติดเชื้อโรคนี้ 60 % หรือ 40 ล้านคน แล้วระบาดไปจนหยุดไปเองตามธรรมชาติโดยจะยอมให้คนตาย 277,000 ราย
ใครป่วยให้อยู่บ้าน ถ้าป่วยหนักโคม่าค่อยไปหาหมอ ซึ่งวิธีนี้ยังเป็นข้อถกเถียงกันอย่างมากในหมู่นักวิทยาศาสตร์หลายแขนงว่าจะมีประสิทธิภาพจริงหรือไม่ ? แต่หมอไทยเราไม่เชื่อแบบวิธีโหดร้ายคัดสรรตามธรรมชาติแบบนี้ เพราะคนไทยไม่ควรต้องมาเป็นหนูทดลองให้นักการเมืองพวกแนวคิดริเบอร่านสุดโต่งแบบนี้ ของไทยจึงใช้วิธีบริหารแบบ”ฝ่ายกั้นโรค” รีบค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ เอามารักษาและมีมาตรการป้องกันโรคหลากหลายทาง หน่วงโรคตามวิธีภูมิปัญญาสาธารณสุขไทย
สภาผู้แทนอังกฤษเปิดอภิปรายเรื่องนี้ บรรดา ส.ส.อังกฤษต่างพากันอภิปรายโจมตีนายกฯ ผู้นำอังกฤษอย่างหนักว่าเพี้ยน และยกตัวอย่างให้ไปดูวิธีการบริหารจัดการ Thailand ของนายกลุงด้วยว่าทำอย่างไร แล้วไปก็อปปี้มาใช้ที่อังกฤษ โรคโควิด-19จะได้ชะลอการระบาดสักที นายกฯ ของอังกฤษ เจอ ส.ส.ด่าจนหน้าชา เบลอเดินหาทางออกจากสภาไม่ถูก ต้องยอมปรับแผนยกเลิกนโยบาย สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd Immunity) แต่เขาก็ยังมึนตึบว่าแล้วจะบริหารไปต่ออย่างไรจึงจะควบคุมโรคระบาดร้ายแรงได้ คิดจะยกหูโทรหานายกลุงของไทยก็เกรงจะเสียฟอร์ม
Cr : เจ้าของภาพ
#ร่วมมือรัฐบาลเราจะรอดกันหมด
ที่มาภาพ : ทวิตเตอร์ @Jeremy_Hunt
เพจ https://www.facebook.com/Dandeethai/?__tn__=%2Cd%2CP-R&eid=ARBLqC-xxYdiz_ibFZ9xn9GcoXAdsi1uyixrYh3NoRhvsddg3kEgWSvrBPRPmTP0Y8xWFDKQJe7GYFLu