ไม่ไว้หน้ายูเครน! ผู้นำฝรั่งเศส-เยอรมัน กลับลำทันทีหลังถูกตัดก๊าซ โร่ขอเจรจากับปูติน ไม่สนเซเลนสกีต้าน

0

ไม่ไว้หน้ายูเครน! ผู้นำฝรั่งเศส-เยอรมัน กลับลำทันทีหลังถูกตัดก๊าซ โร่ขอเจรจากับปูติน ไม่สนเซเลนสกีต้าน

จากกรณีที่ก่อนหน้านี้ มีรายงานว่า บริษัทก๊าซพรอม ผู้ประกอบการด้านก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานของรัสเซีย ประกาศการระงับดำเนินงานท่อส่งก๊าซ “นอร์ดสตรีม วัน” เป็นเวลา 10 วัน เพื่อการซ่อมบำรุงประจำปีตามกำหนด

ซึ่งต่อมา ด้านนายโรแบร์ต ฮาเบค รมว.กระทรวงเศรษฐกิจของเยอรมนี กล่าวว่า รัฐบาลยังไม่อยากคาดการณ์อะไรล่วงหน้าเกี่ยวกับสถานการณ์ของนอร์ดสตรีม 1 เนื่องจาก “อะไรก็เกิดขึ้นได้” และเยอรมนีต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับ “สถานการณ์เลวร้ายที่สุด”

ในขณะที่เมื่อวันที่ 30 สิงหาคมที่ผ่านมา เอ็นจี (Engie) บริษัทสาธารณูปโภคของฝรั่งเศสเผยว่า ก๊าซพรอม บริษัทพลังงานรายใหญ่ของรัสเซียจะลดการจัดส่งก๊าซ เนื่องจากมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันเกี่ยวกับสัญญาบางข้อ ซึ่งส่งสัญญาณว่า ยุโรปจะเผชิญปัญหาอุปทานพลังงานตึงตัวมากยิ่งขึ้น ทำให้ฝรั่งเศสกำลังเตรียมวางแผนตัดแก๊สสำหรับบริษัทและไฟฟ้าสำหรับครอบครัวเป็นเวลา 2 ชั่วโมง

ล่าสุด มีรายงานว่า ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาคร็อง แห่งฝรั่งเศส นายกรัฐมนตรีโอลาฟ โชลส์ แห่งเยอรมนี เชื่อว่าจำเป็นต้องเจรจากับรัสเซียแม้ว่าประธานาธิบดีโวโลดีเมียร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครน จะต่อต้านการเจรจาก็ตาม

เขากล่าวว่า “ใครอยากให้ตุรกีเป็นมหาอำนาจโลกเพียงประเทศเดียวที่ยังคงเจรจากับรัสเซียต่อไป”
ขณะที่ นายกรัฐมนตรีเยอรมัน Olaf Scholz ยังเชื่อว่าจำเป็นต้องเจรจากับประธานาธิบดี Vladimir Putin ของรัสเซียต่อไป เขากล่าวใน Essen ระหว่างการพบปะกับประชาชน “ผมได้พบกับประธานาธิบดีรัสเซียในมอสโกที่โต๊ะยาว” เขากล่าว
อย่างไรก็ตาม 16 มิถุนายนที่ผ่านมา ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาคร็อง แห่งฝรั่งเศส นายกรัฐมนตรีโอลาฟ โชลส์ แห่งเยอรมนี และนายกรัฐมนตรีมาริโอ ดรากี แห่งอิตาลี เดินทางไปกรุงเคียฟ โดยผู้นำทั้งสามได้พบหารือกับประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน และเยือนเมืองเอียร์พินที่เสียหายจากการโจมตีจากรัสเซีย

 

ประธานาธิบดีมาคร็อง แห่งฝรั่งเศส กล่าวว่า “นี่เป็นช่วงเวลาที่สำคัญ และเป็นการส่งข้อความถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันกับชาวยูเครน” ด้านประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ได้ขอบคุณผู้นำยุโรปที่ “แสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับยูเครนและชาวยูเครน”

การพร้อมใจเยือนยูเครนของผู้นำประเทศมหาอำนาจยุโรป มีขึ้นในช่วงที่สหภาพยุโรปจะสรุปผลการขอเข้าเป็นสมาชิกอียูของยูเครน อีกทั้งยังเป็นท่าทีเชิงสัญลักษณ์ที่สำคัญ เนื่องจากทั้งสามประเทศเจอกระแสวิจารณ์ว่าเข้ามาช่วยเหลือยูเครนช้าเกินไป อีกทั้งยังไม่สามารถจัดส่งอาวุธที่จำเป็นให้กับยูเครนในการรับมือกับการโจมตีของรัสเซียด้วย