จากที่สถานการณ์ในยูเครนถูกกองทัพรัสเซียเข้าบุกยึดหลายเมือง ขณะที่ฝ่ายยูเครนก็พยายามโต้กลับเอาคืนนั้น ปรากฏว่ามีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยิ่งทำให้เกิดความสูญเสียมากขึ้น รวมทั้งข้อมูลของสองฝ่ายที่ใช้แผนในการสู้รบก็น่าสนใจอย่างยิ่ง!!!
ทั้งนี้โดย เพจWorld Update ได้ออกมาโพสต์ข้อความ ระบุที่มา กลาโหมรัสเซีย และ สื่ออิสระท้องถิ่นเคอร์ซอน ซึ่งมีเนื้อหาบางช่วงที่น่าติดตามว่า
ช่วงท้ายสงครามโลกครั้งที่ 2 ปลายปี 1942 นายกรัฐมนตรีฮิตเลอร์ แห่งเยอรมัน สั่งกองทัพยึดครองดินแดนกว้างใหญ่ไพศาลทางยุโรปตะวันออกมาได้ เช่น โปแลนด์ ยูเครน เบลาลุส และรัฐบอลติกอื่นๆ สงครามกำลังดำเนินไปได้ด้วยดี ยุคนั้นเมืองสตาลินกราดเป็นที่ตั้งของเขตอุตสาหกรรม และศูนย์ขนส่งที่สำคัญบนแม่น้ำวอลกา ผู้ใดก็ตามที่เข้าควบคุมสตาลินกราด ก็จะสามารถ เข้าถึงแหล่งน้ำมัน บนเทือกเขาคอเคซัส
ก่อนจะถึงเมืองสตาลินกราดมีแม่น้ำดอน ไหลไปลงที่ทะเลอาซอฟและทะเลดำ ทหารเยอรมันสร้างสะพานข้ามน้ำในหลายจุด ใกล้กับเมืองเล็กๆ คาลาช มีการสู้รบกันอย่างหนักที่เมืองนี้ กองทัพแดงสหภาพโซเวียต ใช้กลศึกปฏิบัติการยูเรนัส โจมตีสองง่ามหรือ คีมหนีบ โดยมีเป้าหมายต่อทหารโรมาเนีย ฝ่ายอักษะที่อ่อนแอ ซึ่งกำลังคอยป้องกันปีกของกองทัพเยอรมนี จนหลงกลถูกตัดขาดและถูกโอบล้อมในพื้นที่สตาลินกราด
ส่งผลให้กองทัพเยอรมันแทบจะไม่มีกระสุนและเสบียงอาหารเหลืออยู่เลย ฝ่ายสหภาพโซเวียตก็รบยื้อไม่บุกให้เสี่ยง ภายหลังปิดล้อม 5 เดือน ในต้นปี 1943 กองทัพเยอรมันตัดสินใจยอมจำนนพ่ายแพ้ในที่สุด กลายเป็นจุดพลิกผันสงคราม
ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซีย กล่าวที่งาน St Petersburg Economic Forum ในกรุงมอสโก ส่วนหนึ่งว่า “การปฏิบัติการพิเศษทางทหารในยูเครน เราต้องไม่เปลี่ยนเมือง และที่ตั้งถิ่นฐานเหล่านั้นให้เป็นเหมือนสตาลินกราด นี่คือสิ่งที่กองทัพรัสเซียคิด การโจมตีในพื้นที่มีป้อมปราการเขตที่อยู่อาศัยกองทัพรัสเซียจะไม่ทำ เพราะจะนำไปสู่การบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก ที่นั่นกลยุทธ์จะต่างออกไป โดยเข้าไปที่ด้านหลัง แต่ต้องใช้เวลา”
แสดงถึงประธานาธิบดีปูติน มีการความรู้ลึกซึ้งในพิชัยสงครามการศึกและทำการบ้านอย่างมาก เพราะรัสเซียนั้นชำนาญในการทำสงครามยื้อเยื้อมานานแล้ว เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามอ่อนเปลี้ยหมดแรง พลังงาน อาวุธ เสบียงหมด จนถังแตก เมื่อนั้นจะถูกรัสเซียรุกไล่บดขยี้อย่างไม่ปราณี
พื้นที่แคว้นเคอร์ซอน นิโคลาเยฟ เป็นพื้นที่เกษตรทุ่งโล่ง มีต้นไม้ประปรายนี่คือชัยภูมิสุดยอดสำหรับปืนใหญ่ จรวดหลายลำกล้อง และโดรนชี้เป้าที่จะทำให้ฝ่ายยูเครนที่ระดมกำลังบุกเข้ามา อยู่ในทุ่งสังหาร เพราะขุดสนามเพลาะหรือสร้างบังเกอร์ไม่ทัน การจัดกำลังรบของรัสเซียจึงคล้ายช่วงกองทัพเยอรมนีบุกสตาลินกราด คือ โอบปิดล้อม”โจมตีสองง่ามหรือคีมหนีบ”
ส่งผลให้วันแรกกองทัพยูเครนที่ทะเล่อทะล่าวิ่งฝ่าข้ามทุ่งโล่งมาระเหยและกลายเป็นปุ๋ยราว 1,200 ราย อาวุธยานรบพังอีกเกือบ 100 คัน , วันถัดมาพอๆ กับวันแรกทหารและนักรบรับจ้างต่างชาติละลายสะสมรวม 1,700 นาย สูญเสียเครื่องบินรบจำนวน 4 ลำ รุ่น SU-25 , SU-24 และ MiG-29 ที่เพิ่งปรับแต่งใส่อาวุธ AGM88 สหรัฐไปหมาดๆ หัวปักดินไปแล้ว , เฮลิคอปเตอร์ Mi-8 จำนวน 3 ลำ รถถัง 63 คันส่วนใหญ่ปรับแต่งเกราะเสริมมาจากโปแลนด์ , รถหุ้มเกราะ 48 คัน , ยานรบทหารราบ 59 คัน
จะเรียกว่าเป็นวันมหาวินาศอีกวันของฝ่ายกองทัพยูเครน สหรัฐ และ NATO คงไม่ผิดนัก วันต่อไปหากประธานาธิบดีเซเลนกี้ แห่งยูเครน และชาติตะวันตกใช้รูปแบบสั่งการแนว ฮิตเลอร์ คราวสมรภูมิสตาลินกราด คือ “สั่งบุกแต่ห้ามถอย” ความสูญเสียจะทบหนักไปเรื่อยๆ เพราะการบุกปะทะหนักแบบขาดสติขนาดนี้ จำนวนผู้บาดเจ็บต้องคูณ 4 จำนวนทหารละลายทุกวันเสมอ จึงเห็นรถพยาบาลในเมืองนิโคลาเยฟ และโอเดสซา วิ่งกันวุ่นวายตลอดเวลา