เมินสหรัฐ!? บังกลาเทศไว้ใจรัสเซีย-จีน นำเข้าข้าวสาลีมอสโกว์ ๕๐๐,๐๐๐ ตัน รับเงินช่วยเหลือจากปักกิ่ง

0

บังกลาเทศเป็นประเทศในเอเชียใต้ที่มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับรัสเซียและจีนซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่ แต่การรักษาความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมอสโกว์และปักกิ่งถือเป็นความท้าทายสำหรับรัฐบาลบังกลาเทศ ด้านความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญของรัสเซียและจีน ทังยังมีความตึงเครียดขั้นสูงระหว่างกันในช่วงเวลานี้

ก่อนสงครามในยูเครนปะทุ บังกลาเทศนำเข้าข้าวสาลีและธัญพืชอีกหลายชนิดจากทะเลดำ ทั้งจากรัสเซีย ยูเครน และบัลแกเรีย โดยบังกลาเทศนำเข้าข้าวสาลีประมาณ ๗ ล้านตันเมื่อปีที่แล้ว มากกว่าสองในสามสั่งซื้อจากอินเดียมากที่สุด

เมื่ออินเดียระงับส่งออกธัญพืชทุกชนิด “อย่างไม่มีกำหนด” ตั้งแต่กลางเดือนพ.ค. ที่ผ่านมา เพื่อรักษาความมั่นคงทางอาหารภายในประเทศ บังกลาเทศจึงตัดสินใจสั่งซื้อจากรัสเซียซึ่งให้ราคาถูกอย่างไม่ลังเล พร้อมกับเปิดรับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจในรูปทวิภาคีจากจีนอย่างเต็มที่ 

วันที่ ๒๙ ส.ค.๒๕๖๕ สำนักข่าวแอสโซซิเอดเพรสและแชนแนลนิวส์ เอเชียระบุว่าบังกลาเทศเตรียมนำเข้าข้าวสาลีจากรัสเซีย จำนวน ๕๐๐,๐๐๐ ตัน มูลค่า ๒๑๕,๐๐๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตราคาอาหารและสินค้าอุปโภคที่พุ่งสูงขึ้น จากปัญหาการขึ้นราคาเชื้อเพลิงที่ราคาสูงขึ้นกว่าร้อยละ ๕๑ และปัญหาจากการที่อินเดียงดการส่งออกข้าวสาลีตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาอีกทั้งการส่งออกของยูเครนที่ได้รับผลกระทบจากการสู้รบ และเมื่อไม่ได้รับสินค้าจากอินเดียและยูเครนจึงต้องหันไปพึ่งพาการนำเข้าจากรัสเซียทั้งหมด 

รัฐบาลตั้งเป้าการนำเข้าข้าวสาลี ๕ แสนตันที่ราคา ๔๓๐ ดอลลาร์ต่อตันจากรัสเซียในข้อตกลงระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล เจ้าหน้าที่ของรัฐสองคนซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงในเรื่องดังกล่าว แต่ไม่ประสงค์ออกนามให้ข้อมูลสื่อเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ท่ามกลางการหยุดชะงักของการส่งออกธัญพืชของยูเครนและรัสเซีย และอินเดีย ซึ่งสั่งห้ามการส่งออกธัญพืช

เจ้าหน้าที่กล่าวว่าข้อตกลงกับรัสเซีย จะมีการลงนามในอีกสองสามวัน และการจัดส่งจะดำเนินการเป็นระยะเสร็จสิ้นภายในเดือนมกราคม ๒๕๖๖ ทั้งนี้บังคลาเทศจะจ่ายเงินเป็นดอลลาร์สหรัฐสำหรับการนำเข้า

ประเทศนำเข้าข้าวสาลี ๕.๔ ล้านตันในปี ๒๕๖๔ ถึงมิถุนายน ๒๕๖๔ โดย  ของสินค้ามาจากอินเดีย ๒๔% จากรัสเซีย  ๒๑% และจากยูเครน ๑๗% 

รัฐบาลซึ่งได้พยายามดิ้นรนเพื่อควบคุมผลกระทบของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งสูงขึ้น อาจประสบปัญหาเพิ่มเติมจากการขึ้นราคาน้ำมันที่นำเข้าและขายต่อในประเทศซึ่งราคาสูงขึ้นมากถึง ๕๑.๗% เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา

ซัลมาน ฟาซ์เลอร์ เราะฮ์มาน(Salman Fazlur Rahman) ที่ปรึกษาด้านอุตสาหกรรมและการลงทุนของนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า บังกลาเทศกำลังซื้อธัญพืชและปุ๋ยจากรัสเซีย เขากล่าวว่า “เราสามารถชำระเงินเป็นดอลลาร์สำหรับการนำเข้าธัญพืชและปุ๋ยจากรัสเซียผ่านธนาคาร ๒๔ แห่งทั่วโลก โดยไม่มีข้อจำกัดในการนำเข้า” 

นอกจากนี้รัฐบาลกำลังพิจารณาข้อเสนอของรัสเซียในการนำเข้าเชื้อเพลิงราคาถูก แม้ว่าการซื้อน้ำมันของรัสเซียจะเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับธากา เนื่องจากการคว่ำบาตรจากตะวันตกต่อมอสโกว์ เจ้าหน้าที่กล่าวว่าเป็นทางเลือกที่รัฐบาลให้ความสนใจ

ในขณะที่จีนเป็นอีกมิตรประเทศที่ให้ความช่วยเหลือแก่บังคลาเทศอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความสัมพันธ์สองประเทศแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นในช่วงเศรษฐกิจยากลำบาก รัฐบาลบังคลาเทศไม่ลังเลที่จะรับความช่วยเหลือจากจีนโดยไม่เกรงกลัวมาตรการคว่ำบาตร และแรงกดดันจากสหรัฐแต่อย่างใด

มีบริษัทจีนเข้าไปลงทุนและทำธุรกิจมากกว่า ๕๐๐ แห่งในบังกลาเทศ จีนมีส่วนร่วมในการก่อสร้างโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เช่น ท่าเรือ อุโมงค์แม่น้ำ ทางหลวง และช่วยสร้างสะพานข้ามแม่น้ำปัทมาที่ใหญ่ที่สุดของประเทศด้วยมูลค่า ๓,๖๐๐  พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

หน่วยงาน United News of Bangladesh รายงานว่าการเยือนครั้งล่าสุดของหวัง ยี่มนตรีแห่งรัฐและรมว.ต่างประเทศจีน ได้สัญญามั่นว่าจะยืนเคียงข้างบังคลาเทศ “ในทุกประเด็นที่เวทีระหว่างประเทศ”

ชาเรียร์ อลัม(Shahriar Alam) รมว.ต่างประเทศของบังกลาเทศกล่าวว่า จีน ตกลงที่จะขยายผลประโยชน์ทางการค้าโดยเพิ่มการอุดหนุนผลิตภัณฑ์และบริการของบังคลาเทศจากร้อยละ ๙๘ สู่ตลาดจีน โดยบางรายการได้รับการยกเว้นภาษี

อลัมกล่าวว่า “ตอนนี้จีนเสนอราคาเพิ่มอีก ๑% ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายนนี้” พร้อมเสริมว่าข้อได้เปรียบทางภาษีใหม่นี้น่าจะรวมถึงเสื้อผ้า สิ่งทอ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เคยประสบปัญหาอุปสรรคบางอย่างมาก่อน  บังกลาเทศจะได้รับรายชื่อจากประเทศจีนในไม่ช้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการที่จะได้รับการเข้าถึงโดยปลอดภาษี อลัมกล่าวว่าบางประเทศเข้าใจผิดและตีความการช่วยเหลือของจีนผิด” 

มันชิ เฟซ อาหมัด(Munshi Faiz Ahmad) นักวิเคราะห์ซึ่งดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตบังกลาเทศในกรุงปักกิ่งกล่าวว่า “การเยือนของหวัง ยี่มีความสำคัญมากสำหรับทั้งสองประเทศ เพื่อแก้ไขวิกฤตโรฮิงญา บังคลาเทศต้องการการสนับสนุนจากจีน การเยือนครั้งนี้จะช่วยกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคี สำหรับเรา จีนมีความสำคัญมาก เราต้องรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับทั้งอินเดียและสหรัฐอเมริกาด้วย แต่ไม่มีอะไรต้องกลัวที่จะลงนามทวิภาคีในเรื่องที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศและบังคลาเทศมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจีนมาช้านาน”