หลังจากที่ชนวนสงครามของรัสเซีย-ยูเครน ยังคงเดินหน้าไปอย่างต่อเนื่อง และมีเหตุการณ์เดือดรายวัน ทำให้ชาติพันธมิตรของยูเครน ให้ความร่วมมือจะส่งอาวุธและคลังแสงให้เพิ่ม ซึ่งหนึ่งในนั้นรวมเยอรมันนีด้วย ที่เดินหน้ารับปากว่าจะส่งอาวุธให้ยูเครนอีกครั้ง ท่ามกลางสถานการณ์ในประเทศตัวเองที่ไม่ค่อยสู้ดีเรื่องพลังงาน และค่าครองชีพมากนัก จนประชาชนและแรงงานบางส่วนไม่พอใจ เตรียมออกมาประท้วงรัฐบาล
ล่าสุดในกลุ่มเฟซบุ๊ก Pro Russian-Chinese & World news ผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กที่ชื่อว่า Noraseth Tuntasiri ได้โพสต์ข้อความไว้ว่า ดูเหมือนกองทัพเยอรมันเริ่มจะฉุนนักการเมืองแล้ว สต็อกคลังแสงทหารเยอรมัน ถึงขีดจำกัด หลังจากส่งให้ยูเครน
Der Spiegel สื่อเยอรมัน รายงานว่า โฆษกกระทรวงกลาโหมเยอรมัน คริสติน แลมเบรทช์ ระบุว่า กองทัพจะถึง “ขีดจำกัดที่ยอมรับได้” ของสิ่งที่จะสามารถส่งเพิ่มได้อีก เมื่อบุนเดสแวร์ Bundeswehr (กองทัพเยอรมัน) ได้ขายออกไปแล้ว ซึ่งนายกฯ โอลาฟ ชอลซ์ ที่อยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างหนัก เพื่อให้ส่งมอบอาวุธแก่เคียฟ
กระทรวงกลาโหมเยอรมันแถลงเรื่องนี้ 1 วันหลังจากที่ ฝ่ายนิติบัญญัติเรียกร้องให้ เยอรมนีเพิ่มการส่งมอบอาวุธให้ยูเครน โดยฝ่ายนิติบัญญัติ ทั้ง 3 คน ซึ่งเป็นตัวแทนของ 3 ฝ่าย ในรัฐบาลผสมของเยอรมนี โปรไฟล์ด้านขีดความสามารถของกองทัพเยอรมัน สามารถและควรที่จะหนุนหลังเพื่อความยั่งยืน ของยูเครนชั่วคราว ในสถานการณ์วิกฤติในปัจจุบัน เพราะการอยู่รอดของยูเครน อยู่ในผลประโยชน์ของนโยบายความมั่นคงของเยอรมนี นายกฯโอลาฟ ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับความลังเลใจที่จะส่งมอบอาวุธให้ ตามที่ยูเครนร้องขอ ถ้าท่านใดยังพอจำได้ ช่วงนั้นไบเดนต้องบินมาเบอร์ลิน มาทำไม? มาบีบโอลาฟไง จนเบอร์ลินได้ส่งปืนใหญ่ เครื่องยิงจรวดต่อต้านรถถัง และ รถถังต่อต้านอากาศยาน แต่ยูเครนก็ยังไม่พอใจ เซเลนสกีและรมว.กต.ยูเครน ยังออกมาด่านายกฯเยอรมัน อีกหลายครั้งว่าส่งมอบช้า รวมทั้งยังได้ขอระบบป้องกันภัยทางอากาศเพิ่มเติม และ ระบบเรดาร์ค้นหาตำแหน่งปืนใหญ่ของศัตรู Counter Battery Radar (รุ่น COBRA) ซึ่งทั้งสองระบบยังไม่ได้จัดส่ง
นายกฯโอลาฟ เมื่อ มี.ค. 65 ประกาศเพิ่มงบประมาณของ Bundeswehr เป็น 49,000 ล้านดอลลาร์ หรือ 1.77 ล้านล้านบาท ในปีนี้ จากเดิม 36,000 ล้านดอลลาร์ ในปี 60 ….แต่กองทัพยังไม่ได้แก้ไขข้อบกพร่องเหล่านี้
คริสติน แลมเบรทช์ รมว.กห. ออกมาเปิเผย ตั้งแต่ มี.ค. 65 ว่าสต็อคของกองทัพเยอรมันนั้นหมดลงแล้ว และยืนกรานว่าเยอรมนีไม่ควรส่งยุทโธปกรณ์ที่ทรงพลังพอที่จะทำให้ความขัดแย้งรุนแรงขึ้น นายกฯโอลาฟจะต้องสร้างความสมดุล แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ เขากลับยืนยันว่าเบอร์ลินจัดหา”อาวุธจำนวนมาก”ให้กับเคียฟและจะให้”สิ่งที่จำเป็นสำหรับการป้องกันประเทศ” แก่ยูเครนต่อไป
เกร็ดเล็กน้อย Bundeswehr (กองทัพเยอรมัน) – NATO
• เมื่อ ธ.ค. 64 พบว่า 77% ของกองทัพเยอรมนีพร้อมปฏิบัติการ สูงกว่าเป้าหมายที่ 70%
• ระบบอาวุธที่ซับซ้อน เช่นเครื่องบินและรถถัง ได้พิสูจน์แล้วว่ามีปัญหาเป็นพิเศษ รายงานกองทัพ ธ.ค. 64 ยอมรับว่าขณะนี้มีเพียง 40% เท่านั้น ที่พร้อมสำหรับการสู้รบ
• “NATO Response Force” ซึ่งเป็นกองกำลังตอบโต้เร็วของพันธมิตร ที่ปัจจุบันประกอบด้วยทหารทั้งหมด 40,000 นาย โดยเยอรมนีสนับสนุนกองกำลังนี้ 13,700 นาย มีแต่คนจ้องจะบีบไข่นายกฯเหน่งโอลาฟ ทั้งจากภายใน/ภายนอกประเทศ