หายนะมาแน่! ตัวเต็งนายกUK แกว่งปาก ประกาศพร้อมกดนิวเคลียร์ ถ้าจำเป็น! แม้จะต้องทำลายโลก

0

หายนะมาแน่! ตัวเต็งนายกUK แกว่งปาก ประกาศพร้อมกดนิวเคลียร์ ถ้าจำเป็น! แม้จะต้องทำลายโลก

จากกรณีที่มีรายงานว่า เมื่อวานนี้ (23 สิงหาคม 2565) ลิซ ทรัสส์ ตัวเต็งที่จะก้าวมาเป็นผู้นำพรรคคอนเซอร์เวทีฟ ซึ่งจะเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรคนใหม่ ประกาศกร้าวระหว่างศึกดีเบตว่า เธอพร้อมยิงอาวุธนิวเคลียร์ไทรเดนต์ (Trident) ทำลายล้างถ้ามีความจำเป็น โดยเชื่อว่าการตัดสินใจดังกล่าวเป็นหน้าที่อันสำคัญของคนเป็นนายกรัฐมนตรี

ทรัสส์ ซึ่งมีความเป็นไปได้มากขึ้นเรื่อยๆว่าจะก้าวขึ้นมาสืบทอดตำแหน่งของบอริส จอห์นสัน กล่าวว่าเธอพร้อมกดปุ่มนิวเคลียร์ถ้ามีความจำเป็น แม้คิดว่ามันอาจหมายถึงการทำลายโลกก็ตาม
ทั้งนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศหญิงรายนี้ไม่ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศไหนที่สหราชอาณาจักรอาจใช้อาวุธนิวเคลียร์จัดการ แต่ระหว่างการรณรงค์หาเสียงที่ผ่านมาๆ เธอมักใช้คำพูดสายแข็งกร้าวต่างๆนานามากมาย โดยมีเป้าหมายหลักคือรัสเซีย ท่ามกลางวิกฤตความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน พร้อมยังสัญญาว่า จะเพิ่มการใช้จ่ายด้านการทหาร 3% ของจีดีพีในช่วงปลายทศวรรษนี้
อย่างไรก็ตาม ทั้ง ทรัสส์ และ ริชี ซูนัค อดีตรัฐมนตรีคลัง ผู้สมัครที่เหลือรอด 2 คนสุดท้าย สำหรับชิงเก้าอี้ผู้นำพรรคคอนเซอร์เวทีฟ ต่างกล่าวโทษประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย สำหรับภาวะทางเศรษฐกิจอันน่าหดหูของสหราชอาณาจักร ที่ถูกรุมเร้าด้วยเงินเฟ้อระดับสูง ราคาพลังงานที่พุ่งขึ้นและค่าครองชีพที่สูงขึ้นเรื่อยๆจนไม่สามารถจ่ายได้ แม้หลายฝ่ายมองว่ามันเป็นผลจากมาตรการคว่ำบาตรฝ่ายเดียวที่ลอนดอนและพันธมิตรกำหนดเล่นงานรัสเซีย
ทรัสส์และซูนัค ยังได้พูดประเด็นที่ ปูติน มีแผนเข้าร่วมการประชุมซัมมิตจี 20 ในอินโดนีเซียที่กำลังมาถึง โดย ซูนัค บอกว่าอยากเห็นที่ประชุมห้าม ปูติน เข้าร่วมโดยสิ้นเชิง แต่ทาง ทรัสส์ กล่าวว่าเธออยากเผชิญหน้าเป็นการส่วนตัวกับ ปูติน ในที่ประชุมดังกล่าว
ซึ่งในขณะนี้ ทรัสส์ มีคะแนนนิยมนำหน้า ซูนัค มากถึง 26 จุด จากข้อมูลของเว็บไซต์ Politico และใครก็ตามที่เป็นผู้ชนะในศึกแย่งชิงผู้นำพรรคคอนเซอร์เวทีฟ ก็จะก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรแทน บอริส จอห์นสัน
โดยหากย้อนไปก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนปลายเมษายนที่ผ่านมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหราชอาณาจักรเรียกร้องให้มีนาโตระดับโลก (global NATO) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อให้การสนับสนุนไต้หวันในการรับมือกับจีน เหมือนที่นาโตให้การสนับสนุนยูเครน ขณะที่ถูกรุกรานจากรัสเซีย
และต่อมาในช่วงเดือนกรกฎาคม รัฐมนตรีต่างประเทศสหราชอาณาจักรรายนี้ ก่อเสียงอื้ออึง หลังเรียกร้องให้ประเทศของเธอส่งมอบความช่วยเหลือด้านการทหารแก่ไต้หวัน แบบเดียวกับยูเครน ท่ามกลางความกังวลว่าจีนอาจเปิดฉากรุกรานเกาะแห่งนี้
ความคิดเห็นดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างที่เธอเข้าให้ปากคำกับคณะกรรมาธิการชุดหนึ่งของสภาสามัญชน(สภาล่าง) แห่งสหราชอาณาจักรในวันอังคารที่ผ่านมา และมีขึ้นท่ามกลางความกังวลของไต้หวัน ในความเป็นไปได้ที่อาจถูกจีนรุกราน หลังปักกิ่งมีท่าทีเป็นปรปักษ์กับไทเปมากขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันสหราชอาณาจักรไม่มีความสัมพันธ์ทางกลาโหมและทางการทูตกับไต้หวัน และจุดยืนอย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรคือการหาทางออกอย่างสันติระหว่าง 2 ฝ่าย