เรื่องสำคัญอันดับแรกคือ การยั่วยุที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาโปริชเชีย ที่สหรัฐ-สหประชาชาติพยายามขับรัสเซียออกจากพื้นที่โดยไม่สนใจหลักฐานของรัสเซียที่ชัดเจนว่า เคียฟเป็นฝ่ายถล่มรอบๆโรงไฟฟ้า รัสเซียปฏิเสธที่ถอนกำลังทหารที่คุ้มครองพื้นที่ และในที่สุดยูเอ็นและAIEA ก็ยอมมาตรวจไซต์งาน ภาคสนามรบไครเมียถูกยกระดับเป็นเป้าหมายยั่วยุ แต่รัสเซียสอยโดรนยูเครนร่วงคาสนามบินไครเมีย อีกทั้งจับสปายเคียฟได้ ๖ คนล้วงไส้รู้หมดแผน สื่อตะวันตกยิ่งโหมโฆษณารัสเซียเป็นฝ่ายตั้งรับพ่ายแพ้ยูเครน แต่เกมรุกในรับของรัสเซียบรรลุเป้าหมายทุกข้อ ทำเซเลนซกี้ไม่เลิกโวยวายว่า ถ้าตะวันตกไม่ส่งอาวุธและเงินมาเพิ่มอีกจะรับมือเฟสใหม่ของรัสเซียไม่อยู่
วันที่ ๒๐ ส.ค.๒๕๖๕ สำนักข่าวรัสเซียทูเดย์รายงานว่า นักการทูตอาวุโสของรัสเซียกล่าวว่า หน่วยเฝ้าระวังนิวเคลียร์ของ สหประชาชาติ จะส่งทีมตรวจสอบไปยังโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาโปริชเชียในยูเครน (Zaporizhye) ที่รัสเซียควบคุมภายในสองสัปดาห์
มิคาอิล อุลยานอฟ ทูตถาวรของรัสเซียประจำสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) กล่าวว่า”การคาดการณ์อาจไม่เป็นจริงเสมอไป แต่ความรู้สึกของฉันคือมันอาจเกิดขึ้นได้ในช่วงต้นเดือนกันยายน”
อุลยานอฟกล่าวระหว่างการบรรยายสรุป “ดูเหมือนว่าฝ่ายชาวยูเครนกำลังพยายามป้องกันไม่ให้ภารกิจตรวจสอบเกิดขึ้น”
ก่อนหน้านี้สหรัฐฯและองค์การสหประชาชาติเสนอให้พื้นที่ทั้งหมดรอบเมืองปลอดทหาร แต่รัสเซียยืนยันว่าข้อเสนอนี้ไม่สามารถทำได้ กองกำลังยูเครนไม่น่าไว้วางใจจะปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวได้ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียย้ำเมื่อวันพฤหัสบดีว่า การถอนกำลังทหารของรัสเซียออกจากพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าฯจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากกว่าเดิม
มาดูสถานการณ์ที่เดือดระอุในไครเมีย ล่าสุดที่ปรึกษาของหัวหน้าภูมิภาค โอเลก ครุชคอฟ(Oleg Kryuchkov) โพสต์ลงในโซเชียลมิเดียรายงานเรื่อง ระบบป้องกันภัยทางอากาศได้สกัดกั้นวัตถุที่ไม่ปรากฏชื่อบนท้องฟ้าเหนือเมืองเอฟปาโตเรีย (Evpatoria) ซึ่งตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรไครเมียในคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา
ขณะที่ก่อนหน้านี้วันพฤหัสบดี โดรนของยูเครนถูกสอยตกโดยระบบป้องกันภัยทางอากาศในบริเวณใกล้เคียงกับสนามบินเบลเบกในเซวาสโทพอล เมืองที่ใหญ่ที่สุดของไครเมียด้วย ทั้งนี้ระบบป้องกันภัยทางอากาศยังเปิดใช้งานในเมืองเคิร์ช ใกล้กับสะพานไครเมียด้วย
มิคาอีล ราสวอสเชฟ(Mikhail Razvozzhaev)นายกเทศมนตรีเมืองเซวาสโทพอล เมืองที่ใหญ่ที่สุดของไครเมีย รายงานว่า อากาศยานไร้คนขับของยูเครน ถูกยิงโดยระบบป้องกันภัยทางอากาศในบริเวณใกล้เคียงกับสนามบินของเมือง เจ้าหน้าที่เสริมว่าไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตหรือความเสียหายทางวัตถุ
สนามบินเบลเลคถูกใช้โดยกองทัพอากาศรัสเซียตั้งแต่ไครเมียรวมเข้ารัสเซียในปี ๒๐๑๔
กระทรวงกลาโหมของรัสเซียกล่าวว่า การโจมตีครั้งล่าสุดที่ไครเมียนี้เป็นการกระทำ”ก่อวินาศกรรม”และสร้างความเสียหายให้กับวัตถุพลเรือน รวมถึงสายไฟ โรงไฟฟ้า ทางรถไฟ และอาคารที่อยู่อาศัยหลายแห่ง
ยูเครนไม่ได้ยืนยันความรับผิดชอบโดยตรงต่อการโจมตีครั้งล่าสุด แต่หลังจากเหตุการณ์ระเบิดที่สนามบิน ปธน.วลาดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครนกล่าวชัดว่า “สงครามเริ่มต้นด้วยไครเมียและต้องจบลงด้วยไครเมีย”
แผนยั่วยุของยูเครนได้รับการสนับสนุนอย่างเปิดเผยจากสหรัฐ ยืนยันโดยสื่อตะวันตกเอง โดยอเล็กซี่ เรสนิคอฟ(Aleksey Reznikov) รมว.กระทรวงกลาโหมของยูเครน เปิดเผยว่าคำมั่นสัญญาของเคียฟที่จะไม่โจมตีดินแดนรัสเซียด้วยอาวุธที่จัดหาให้โดยตะวันตกจะไม่มีผลบังคับใช้กับไครเมีย ซึ่งต่อมาได้รับการยืนยันโดยสำนักข่าวโปลิติโก (Politico)ของสหรัฐ จากแหล่งข่าวเจ้าหน้าที่ที่ไม่เปิดเผยชื่อในทีมบริหารของปธน.โจ ไบเดน
แหลมไครเมียแยกตัวออกจากยูเครนภายหลังการรัฐประหารที่รุนแรงในเคียฟในปี ๒๐๑๔ และโหวตลงประชามติอย่างท่วมท้นในการเข้าร่วมรัสเซีย ซึ่งไม่ได้รับการยอมรับจากตะวันตก นับแต่นั้นก็มีการปะทะปราบปรามตลอด ๘ ปี
มาถึงตอนนี้ “ไครเมีย”คือจุดวาบไฟสำคัญ ที่สหรัฐฯจะใช้กดดันรัสเซียให้ระเบิดสงครามใหญ่ ไปพร้อมๆกับกระตุ้นความขัดแย้งให้ระอุในเอเชีย-แปซิฟิกกับจีน!!!