ส่งสัญญาณ สู่การปะทะ!? ปูติน และ คิมจองอึน แลกจดหมายปิดผนึก ทำข้อตกลงผลักดัน “เกาหลีเหนือ” หน้าด่านสงคราม!
เมื่อต้นสัปดาห์นี้ สำนักข่าวกลางของเกาหลีเหนือ (KCNA) รายงานว่าประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซียได้แลกเปลี่ยน จดหมายกับผู้นำสูงสุด คิม จอง อึน
รายงานระบุว่าทั้งสองประเทศตกลงที่จะ “ขยายความสัมพันธ์ทวิภาคีที่ครอบคลุมและสร้างสรรค์ด้วยความพยายามร่วมกัน”
เนื่องในวันครบรอบวันเอกราชของเกาหลีในวันที่ 15 สิงหาคม การเข้าถึงของปูตินเกิดขึ้นในขณะที่รัสเซียแสวงหาพันธมิตรใหม่จากตะวันตก นอกจากนี้ ยังมีรายงานอีกว่า แรงงานต่างด้าวชาวเกาหลีเหนือจะให้ความช่วยเหลือในการสร้างดินแดนที่ได้รับอิสรภาพขึ้นใหม่ในโดเนตสค์และสาธารณรัฐประชาชนลูกันสค์ซึ่งเพิ่งได้รับการยอมรับทางการทูต
อีกทั้งยังเป็นการบ่งชี้ว่าโลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัสเซียและจีน อย่างน้อยๆก็ค่อนข้างเต็มใจที่จะร่วมมือกับสหรัฐฯ ในการกำหนดมาตรการคว่ำบาตรเกาหลีเหนือ เพื่อลดการพัฒนานิวเคลียร์และขีปนาวุธ
แต่ล่าสุดชัดเจนว่า สถานการณ์ในรูปแบบนั้นไม่มีอยู่แล้ว ความขัดแย้งในยูเครน ประกอบกับความพยายามของสหรัฐฯ ในการยับยั้งการผงาดของจีน หมายความว่า เราทุกคนกำลังอยู่ในสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศมหาอำนาจมากมายหลายขั้ว กำลังแข่งขันกันเพื่อชิงอิทธิพล
ในสายตาของมอสโก สิ่งนี้ทำให้เกาหลีเหนือมีความสำคัญมากกว่าที่เคยเป็นมาก่อน โดยมีความคล้ายคลึงกันกับยุคสงครามเย็น
ซึ่งเราไม่ควรลืมว่า สหภาพโซเวียตใช้งานและเป็นผู้ที่ร่วมสร้างเกาหลีเหนือตั้งแต่แรก หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้เกิดการแข่งขันเชิงกลยุทธ์เพื่ออิทธิพลในเอเชียตะวันออกเริ่มเกิดขึ้นระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต
นำไปสู่การแบ่งแยกดินแดนชั่วคราวของเกาหลี แต่ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ก็กลายเป็นข้อตกลงถาวร และรัฐที่เป็นคู่แข่งกันของเกาหลีก็เกิดขึ้น สาธารณรัฐเกาหลีที่สหรัฐฯ หนุนหลังในภาคใต้ และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (DPRK) ที่โซเวียตและจีนสนับสนุนในภาคเหนือ
แต่ในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามเย็นครั้งแรก เกาหลีเหนือพบว่าตนเองโดดเดี่ยวมากขึ้นเช่นจีนและรัสเซียในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ทั้งคู่ต่างแสวงหาสัมพันธ์กับตะวันตก เช่นเดียวกับเกาหลีใต้ที่ร่ำรวยและประสบความสำเร็จมากขึ้น แม้แต่มอสโกหรือปักกิ่งก็ให้ความสนใจเกาหลีเหนือเพียงเล็กน้อย รวมถึงร่วมต่อต้านควบคุมวิถีนิวเคลียร์ของเปียงยาง ซึ่งมองว่าเป็นความหวังสุดท้ายในการอยู่รอดของระบอบการปกครองเกาหลีเหนือ
แต่ตอนนี้ กระบวนทัศน์ใหม่กำลังเกิดขึ้น และเช่นเดียวกับในสมัยก่อน DPRK ก็ถูกมองว่าเป็นป้อมปราการที่ขาดไม่ได้ในเชิงยุทธศาสตร์ต่ออำนาจของอเมริกาและอำนาจทางทหารในเขตชายแดนของรัสเซียเอง ไม่น้อยไปกว่าเพื่อนบ้านที่สหรัฐฯ หนุนหลัง เช่น ญี่ปุ่น
ดังนั้น เมื่ออเมริกาเรียกร้องให้คว่ำบาตรเกาหลีเหนืออีกครั้งที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ยื่นเมื่อต้นปีนี้ น่าสนใจว่าทั้งรัสเซียและจีน ได้ คัดค้าน เกาหลีเหนือ เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 15 ปี เป็นสัญลักษณ์ที่ค่อนข้างชัดเจนอย่างมาก