NASA พาเมกาเพ้อ! แบ่งสำรวจแร่ธาตุ สกัดจีน-รัสเซีย แต่ไร้ประสบการณ์ เทคโนโลยีล้าหลังจีน 50 ปี

0

NASA พาเมกาเพ้อ! แบ่งสำรวจแร่ธาตุ สกัดจีน-รัสเซีย แต่ไร้ประสบการณ์ เทคโนโลยีล้าหลังจีน 50 ปี

จากกรณีที่ศูนย์การสำรวจดวงจันทร์ สังกัดองค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน ส่งนักบินอวกาศไปตั้งห้องทดลองอยู่อาศัย ทดลองปลูกพืชบนดวงจันทร์ และค้นพบว่าดินบนดวงจันทร์สามารถสร้างก๊าซออกซิเจนและเชื้อเพลิงได้ ซึ่งนับเป็นการค้นพบน่าตื่นเต้นของการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรดวงจันทร์ จากนั้นจีนขนตัวอย่างดินจากดวงจันทร์กลับมายังโลก

ล่าสุดวันนี้ (18 สิงหาคม 2565) เพจ World Update ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีสหรัฐฯ จะส่งมนุษย์อวกาศไปดวงจันทร์ตามหลังจีน โดยอ้างอิงจาก abcnews และ RTnews โดยมีเนื้อหาบางส่วนที่น่าสนใจระบุว่า ปี 2018 จีนกลับส่ง “มนุษย์อวกาศ” ไปลงดวงจันทร์ด้านมืดตรงข้ามโลก ทดลองปลูกพืช ในแลปขนาดเล็ก แต่พืชงอกและโตได้ไม่ถึงครึ่งเดือนก็ตายเพราะอุณหภูมิผันผวนเย็น ร้อนสุดขั้วในรอบวัน

ดวงจันทร์ด้านมืดตรึงตรงข้ามโลกมานานกว่า 4,000 ล้านปี จึงไม่มีมนุษย์คนใดส่องกล้องไปเห็น และเป็นด้านที่รับอุกกาบาต รังสีจากดวงอาทิตย์ และห้วงอวกาศมาตลอดอายุ หลายพันล้านปีก่อนดวงจันทร์ยังคงมีภูเขาไฟระเบิดรุนแรง มีลาวาไหลไปบนพื้นผิวดาว หินหลอมละลายด้านบนได้เย็นลงและจับตัวแข็ง เกิดการสะสมแร่ธาตุพลังงานที่โลกแทบไม่มี มนุษยอวกาศจีนได้นำดินและหินดวงจันทร์เหล่านั้นกลับมาวิเคราะห์ จนองค์การอวกาศจจีนออกรายงานว่าพบ “ธาตุฮีเลียม-3 ที่ด้านมืดดวงจันทร์” น้ำหนักเพียง 3 ช้อนโต๊ะ จะให้พลังงานเทียบเท่าถ่านหิน 5,000 ตัน และมีมากมายพอให้มนุษย์ใช้เป็นพลังงานไปอีก 20,000 ปี แหล่งพลังงานบนดวงจันทร์ คือ “อ่าวเปอร์เซียระบบสุริยะ”
สามารถใช้แทนธาตุยูเรเนียมในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แต่มีจุดเด่นกว่าคือไม่ก่อให้เกิดกัมมันตภาพรังสีเหมือนยูเรเนียม แถมมีแร่ Rare earth ต่างๆ เช่น ไทเทเนียม อลูมิเนียม ไฮโดรเจน ซิลิคอน ฯลฯ อีกมากล้น ทำให้จีนสร้างแผนที่แร่ธาตุดวงจันทร์ สร้างสถานีอวกาศของตนเอง และชวนรัสเซีย สร้างสถานีวิจัยถาวรบนดวงจันทร์ด้านตรงข้ามโลกเสร็จภายในปี 2030 สกัดหินแร่ ปลูกพืช ฯลฯ
องค์การ NASA สหรัฐ และองค์การอวกาศยุโรป จึงนั่งไม่ติด เพราะตอนนี้ทำได้แค่ส่งดาวเทียมขนาดเล็กต่างๆ ไปประจำนอกโลก แต่การสร้างสถานีอวกาศใหม่นั้นความเป็นไปได้คือ “ศูนย์” NASA แค่หวังว่ารัสเซียจะเมตตา ให้นักบินอยู่ในสถานีอากาศนานาชาติ จนถึงปี 2030
สหรัฐ มีโครงการ Artemis จะส่งจรวดขนาดใหญ่ไปสำรวจดวงจันทร์กับเขาบ้างแต่ NASA ไม่เคยมีประสบการณ์ส่งมนุษย์ไปลงบนผิวดวงจันทร์มาก่อน จึงจะไม่มีนักบินอวกาศคนไหนกล้าเสี่ยงกับจรวดขับดันขนาดใหญ่ตัวใหม่ที่ไม่ใช่ของรัสเซีย เพราะเดือน เม.ย.ที่ผ่านมาทดสอบแล้วเกิดปัญหาจากการรั่วไหลของเชื้อเพลิงและปัญหาอื่นๆ ของอุปกรณ์ ทำให้ NASA ต้องส่งจรวดกลับไปที่โรงเก็บเครื่องบินเพื่อทำการซ่อมแซม
และทดสอบซ้อมซ้ำครั้งที่ 2 ในเดือน มิ.ย. ก็มีผลการทดสอบดีขึ้นเล็กน้อย และครั้งที่ 3 กำหนดในวันที่ 29 ส.ค.2022 ภายในแคปซูลลูกเรือบนจรวด จึงมีเพียง “มนุษย์เทียม” เป็นหุ่นจำลองคล้ายคน 3 ตัว ที่แปะล้อมด้วยเซ็นเซอร์เพื่อวัดการแผ่รังสีและการสั่นสะเทือนเท่านั้น จากนั้น NASA ฝันว่าจะส่งจรวดขนาดใหญ่ 98 เมตรนี้ออกนอกโลกไปบินวนรอบดวงจันทร์ส่องกล้องมอง วัดแสง วัดความสั่นสะเทือนราว 3 สัปดาห์ แล้วให้มุ่งหน้ากลับโลกตกในมหาสมุทรแปซิฟิก
ขณะนี้จรวดของ NASA เคลื่อนตัวไปที่แท่นปล่อยที่ศูนย์อวกาศเคนเนดี สำหรับการบินทดสอบครั้งแรกแล้ว NASA ฝันว่าจะส่งนักบินอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์ใน 2 ปี และลงจอดบนดวงจันทร์โดยมนุษย์อย่างเร็วที่สุดในปี 2025 โดยสหรัฐ ยุโรป ฝันว่าจะไปขีดเส้นแบ่งเขตสำรวจแร่ธาตุกับจีน ไม่ให้จีน กับรัสเซีย ล้ำเส้นเขตสำรวจแร่ของสหรัฐ