สหรัฐฯซ่าไม่หยุด ทดสอบขีปนาวุธข้ามทวีป ปั่นความตึงเครียดยั่วโมโหปูติน-สีจิ้นผิง

0

มีรายงานความคืบหน้ากรณีที่สหรัฐฯ ประสบความสำเร็จในการทดสอบขีปนาวุธแบบทิ้งตัวพิสัยไกล ศักยภาพติดหัวรบนิวเคลียร์ เมื่อวันอังคาร ที่ 16 ส.ค. ที่ผ่านมา หลังเคยเลื่อนการทดสอบมาแล้ว 2 ครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงโหมกระพือความตึงเครียดกับรัสเซียและจีน ท่ามกลางสถานการณ์อันร้อนระอุเกี่ยวกับยูเครนและไต้หวัน

โดยกองบัญชาการโจมตีทั่วโลกแห่งกองทัพอากาศ ยิงขีปนาวุธแบบทิ้งตัวข้ามทวีป มินิทแมนทรี พุ่งเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก จากฐานทัพกองกำลังอวกาศแวนเดนเบิร์กในแคลิฟอร์เนีย ตอนราวๆ เที่ยงคืนตามเวลาท้องถิ่น ขีปนาวุธบรรทุกโดยยานนำกลับสู่ชั้นบรรยากาศที่ต้องการทดสอบ ขณะที่ขีปนาวุธชนิดนี้มีศักยภาพติดหัวรบนิวเคลียร์ในความขัดแย้งทางยุทธศาสตร์ใด ๆ

รายงานข่าวระบุอีกด้วยว่า ยานนำกลับพุ่งเป็นระยะทางราว 6,760 กิโลเมตร มุ่งสู่เกาะปะการังควาจาลีน ในหมู่เกาะมาร์แชลล์ ทางตะวันตกของแปซิฟิก กองทัพอากาศสหรัฐฯ ระบุในถ้อยแถลงว่า “การทดสอบนี้เป็นส่วนหนึ่งของเคลื่อนไหวปกติและเป็นระยะ ๆ ที่มีเจตนาแสดงให้เห็นว่าการป้องปรามทางนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ นั้นมีความปลอดภัย มีความแน่นอน ไว้วางใจได้และมีประสิทธิภาพ”

ขีปนาวุธทิ้งตัว - วิกิพีเดีย

และการทดสอบลักษณะนี้เคยมีขึ้นแล้วมากกว่า 300 ครั้งก่อนหน้านี้ และการทดสอบนี้ไม่ได้เป็นผลลัพธ์จากเหตุการณ์ต่าง ๆ ในปัจจุบัน เดิมทีการทดสอบนี้ถูกกำหนดไว้ในเดือนมีนาคม แต่โดนเลื่อนออกมา เพื่อหลีกเลี่ยงซ้ำเติมสถานการณ์ความตึงเครียด สืบเนื่องจากปฏิบัติการรุกรานยูเครนของรัสเซีย ที่เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ การทดสอบนี้ถูกเลื่อนเป็น ครั้งที่ 2 ในช่วงต้นเดือนสิงหาคม ท่ามกลางความตึงเครียดทางทหารที่พุ่งสูงขึ้น จากกรณีที่จีนทดสอบขีปนาวุธเป็นชุดๆ และทำการซ้อมรบกระสุนจริงบริเวณช่องแคบไต้หวัน ตอบโต้การเดินทางเยือนไทเปของนางแนนซี เปโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตามประเด็นการทดสอบขีปนาวุธแบบทิ้งตัวพิสัยไกลของสหรัฐฯครั้งนี้ แน่ชัดว่า อาจจะมีเจตนาซ้ำเติมสถานการณ์ที่ตึงเครียด ใน 2 ดินแดนให้เพิ่มขึ้น เพราะทั้งจีน-ไต้หวัน ก็ยังไม่คลี่คลาย และทางฝั่งรัสเซีย-ยูเครน ก็ยังคงรบเดือดต่อเนื่อง จนทำให้น่าจับตามองว่า ทั้งผู้นำของรัสเซียและจีนที่เป็นพันธมิตรสุดแน่นแฟ้น จะเลือกตอบโต้กลับไปทางสหรัฐฯ ด้วยวิธีใดบ้าง

สหรัฐออกกม.ยุติสัมพันธ์การค้าที่ปกติกับรัสเซีย จ่อขึ้นภาษีนำเข้า 30% :  อินโฟเควสท์